บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปราย และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น เพื่อพัฒนา
ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และเขียน เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และเพื่อฝึก
ให้นักเรียนมีเจตคติ (คุณลักษณะอันพึงประสงค์) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2
และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนตาขุน จำนวน 97 คน ในภาคเรียนที่ 1 และ 96 คน
ในภาคเรียนที่ 2 รูปแบบการวิจัยได้ใช้รูปแบบการวิจัยอย่างง่าย คือ ศึกษากลุ่มเดียว วัดผล
หลังการทดลอง (One group posttest only หรือ The One-Shot Case Study) เครื่องมือ ที่ใช้
ในการรวบรวมข้อมูล คือข้อสอบแบบปรนัย แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน แบบทดสอบ
ปลายภาคเรียนที่ 1,2 วิธีการพัฒนาเครื่องมือได้ ศึกษาปัญหา สร้างแบบฝึกเสริมทักษะ ทดลอง และดำเนินการใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเองด้วยการให้นักเรียนทำข้อสอบหลังเรียน สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน และทดสอบปลายภาคเรียนที่ 1,2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) ค่าความตรง
ตามสูตรของ IOC และการหาค่าความเที่ยงตามสูตรอัลฟา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการพัฒนาพบว่าการใช้แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการคิดสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สูงขึ้นกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ คือ (ร้อยละ 76)
2. ผลการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน นักเรียนไม่มีระดับ 0 และมีระดับ 1 เพียงร้อยละ
1.03 ซึ่งตั้งไว้ (ไม่เกินร้อยละ20)
3. ผลการประเมินด้านเจตคติ (คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียนมีผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 ร้อยละ 84.54 ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งไว้ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และผลการประเมิน
ไม่มีระดับคุณภาพ 0 )
87
การอภิปรายผล
จากผลงานการวิจัยพบว่าแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการคิดสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นอกจากทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นแล้ว การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และเจตคติ(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) ก็สูงกว่าที่กำหนดไว้
และยังเป็นการสอดคล้องกับสาระบัญญัติ มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (2542 ) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
และผู้สนใจทางการศึกษาต่อไป
ข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยพบว่าการปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนรู้ ด้วยความจำกัดในเรื่องของเวลา
ตามโครงสร้างของหลักสูตร อาจกระทบต่อการเรียนรู้ในชั่วโมงถัดไปบ้าง จึงควรวางแผนประสานงานกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ที่มีชั่วโมงสอนถัดไป เพื่อสะดวกและคล่องตัว
เกี่ยวกับการยืดหยุ่นเวลาในการจัดการเรียนรู้
ขอบคุณที่ติดตาม
แสดงความคิดเห็นได้ครับ
ครูทร ตาขุน