Advertisement
ทำไม แอปเปิล ถึงประสบความสำเร็จนักหนา" ไม่เฉพาะสาวกแอปเปิลที่อยากรู้ "คำตอบ" ใคร ๆ ก็อยากรู้
"ทิม บาจาริน" ประธาน บริษัท ครีเอทีฟ สตราทิตี้ บริษัทวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการตลาดแห่ง "ซิลิกอนวัลเลย์" ซึ่งผ่านการพูดคุยกับผู้บริหารระดับต่าง ๆ ในแอปเปิลอิงก์มาโชกโชนอาสาถอดรหัสความสำเร็จ
เว็บไซต์ "ไทม์" รายงานว่า แม้หลายฝ่ายจะพยายามทำความเข้าใจว่าทำไม "แอปเปิล" ถึงพ่ายแพ้ในสมรภูมิคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ให้ยักษ์ไมโครซอฟท์
รวมถึงการตัดสินใจก้าวเข้าสู่ทิศทางใหม่ โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์อย่าง "ไอพอด" และ "ไอโฟน" แต่การหาคำตอบว่า ทำไมแอปเปิลประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวด ยังคงเป็นปริศนา แต่ "ทิม" สรุปออกมาได้ 6 ข้อ
ข้อแรก "ผลิตภัณฑ์ทุกตัวที่แอปเปิลสร้างขึ้นต้องเป็นสิ่งที่แม้แต่คนคิดค้นก็อยากมีเอาไว้ใช้"
"ทิม" อธิบายว่า หลายครั้งที่มีโอกาสทำโปรเจ็กต์ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี เขาพบว่า เป้าหมายมักตั้งอยู่บน "นวัตกรรม" ด้านเทคโนโลยีเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงมาคิดต่อว่า คนจะอยากใช้ผลิตภัณฑ์หรือไม่ วิศวกรทั้งหลายมักลุ่มหลงกับเทคโนโลยี และสร้างสิ่งต่าง ๆ เพียงเพราะสามารถทำมันขึ้นมาได้ แต่วิศวกรของ "แอปเปิล" สร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ของตนเองอย่างแท้จริง มี "สตีฟ จ็อบส์" เป็นหัวหอกในฐานะ "ผู้ใช้"
ผลิตภัณทุกตัวจึงตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ตอบโจทย์สตีฟ จ็อบส์ และบรรดาวิศวกรทั้งหลายที่ทำตัวเป็นลูกค้า โดยผลิตภัณฑ์นั้นต้องเป็นอะไรที่พวกเขาไม่สามารถขาดได้ในชีวิตประจำวัน
ข้อ 2 "ต้องใช้งานง่าย"
"สตีฟ จ็อบส์" เข้มงวดกับเรื่องนี้มาก แม้ "ดีไซน์" จะมีความสำคัญ แต่หากไม่สามารถนำมาใช้งานได้ง่ายจะโดนตราหน้าว่า "ไร้ค่า" ทันที เรื่องนี้เป็นสิ่งผลักดันการออกแบบที่เรียกวา "ยูสเซอร์
อินเตอร์เฟซ" ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ก็ยังเป็นคำขวัญประจำใจวิศวกรซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของแอปเปิล
ผลิตภัณฑ์ทุกตัวต้องให้ความรู้สึกว่า "ใช่" ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และเรียนรู้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น "ผู้ใช้" ต้องการคุณสมบัติที่มากขึ้น บางครั้งการรักษา "ความง่าย" จึงเป็นเรื่องยาก
มากกว่านั้น "แอปเปิล" ยังสร้างอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน ตั้งแต่มืออาชีพไปจนถึงมือสมัครเล่น ทำให้นิยามการใช้งานง่ายกว้างขึ้นไปอีก
แอปเปิลเป็นบริษัทเดียวที่มองเรื่องการใช้งานง่ายมาก่อนเรื่องผลิตภัณฑ์ และทำให้เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ทุกตัวออกสู่ตลาด
ข้อ 3 "ทำอะไร ๆ ให้ง่ายเข้าไว้"
"ทิม" เล่าว่า เคยเข้าไปพูดคุยกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมในฝรั่งเศสหลายราย หัวข้อสนทนาไม่วายวกมาเรื่องการหาทางแข่งขันกับ "แอปเปิล"
เมื่อถึงคำถามที่ว่า ทำไมแอปเปิลถึงประสบความสำเร็จนัก ผู้บริหารคนหนึ่งแสดงความเห็นว่า เหตุผลหลักมาจากการที่บริษัทมีผลิตภัณฑ์แค่ตัวเดียว โดยยกตัวอย่าง "ไอโฟน" ซึ่งทำให้ผู้บริโภคลดกระบวนการตัดสินใจซื้อ เนื่องจากแอปเปิลทำให้อะไร ๆ ง่าย
ผู้บริหารคนดังกล่าวว่า ในร้านเขามีโทรศัพท์ที่แตกต่างกันถึง 25 รุ่น พนักงานต้องพบความยากลำบาก เนื่องจากต้องมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทุกรุ่น ผู้บริโภคมีตัวเลือกให้ต้องตัดสินใจมากเกินไปขณะที่แอปเปิลมี "ไอโฟน" เพียงตัวเดียว
ทุกคนที่เดินเข้า "แอปเปิล สโตร์" รู้ว่า พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หลักเป็นอย่างดี แม้การมีไอโฟนให้เลือกเพียงแบบเดียวเหมือนจำกัดตัวเลือกของผู้บริโภค แต่ผลกลับออกมาตรงกันข้าม
ผลวิจัยจากบริษัทครีเอทีฟ สแตรทิจีส์ ระบุว่า ผู้บริโภคชื่นชอบการมีตัวเลือกก็จริง แต่ต้องการให้กระบวนการเลือกผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีมีความง่ายดาย ไม่ซับซ้อน เนื่องจากมีอะไรให้เลือกมากเกินไป
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในตลาดมีลูกค้าที่
ชื่นชอบเทคโนโลยี ซึ่งต้องการตัวเลือกหลากหลาย และซับซ้อนในบางครั้ง
แต่จากประสบการณ์ในฐานะนักวิเคราะห์ตลาด "ทิม" มองว่าผู้ใช้หลักไม่ใช่กลุ่มที่ชื่นชอบเทคโนโลยี การทำอะไรให้ง่าย ๆ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มนี้จึงเป็นบวก "แอปเปิล" เข้าใจ และไม่เคยพยายามเพิ่มแบบให้
ไอโฟน, ไอแพด หรือสร้างไอพอดให้มีมากกว่า 1-2 แบบ ผู้บริโภคพึงพอใจกลยุทธ์นี้ เมื่อดูจากยอดขายมหาศาลของอุปกรณ์ตระกูล "ไอ" ในแต่ละปี
ข้อ 4 "นำเสนอการบริการลูกค้าและประสบการณ์ระดับท็อป"
"สตีฟ จ็อบส์" เข้าใจถึงปัญหาหลักของตลาดเทคโนโลยี นั่นคือ แม้คุณจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ง่ายแค่ไหน แต่ผู้บริโภคที่นำผลิตภัณฑ์ไปใช้ในลักษณะแตกต่างกันมักเกิดความยุ่งยากตามมา ทำให้ผู้บริโภคทุกระดับต้องการความช่วยเหลือเป็นระยะ "แอปเปิล" ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เน้นความง่ายทำให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดี
สังเกตได้จากการที่พนักงานขายมักไม่ถามว่า "ต้องการให้ช่วยอะไรไหม" แต่จะถามประมาณว่า "วันนี้คุณต้องการทำ
อะไร ?" แทน ซึ่งเป็นคำถามหลักที่อยู่ในหัวลูกค้าที่มาที่ร้าน
หลังลูกค้าอธิบายความต้องการของตนเองแล้ว พนักงานจะจัดการให้เห็นเลยไม่ก็ต่อสายตรงให้คุยกับผู้เชี่ยวชาญ
ไม่ต้องสงสัยว่า 50% ของคนที่ซื้อผลิตภัณฑ์แอปเปิลเป็นลูกค้าใหม่ จึงต้องทำให้ใช้งานและทำความเข้าใจได้ง่าย หากมีปัญหาก็จัดการให้ได้รวดเร็วที่ร้านค้าปลีกหรือการคุยโทรศัพท์ได้
ข้อ 5 "แอปเปิลจะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ถ้าเชื่อว่าทำออกมาได้ดีกว่าของเดิมเท่านั้น"
ปกติแล้วแอปเปิลไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์สินค้าหรือสายผลิตภัณฑ์ใหม่ แม้ในครั้งแรกบริษัทนี้จะเป็นผู้สร้างเครื่องพีซีสำหรับผู้บริโภคเครื่องแรก และออกเครื่อง
แมคที่พัฒนายูสเซอร์อินเตอร์เฟซของพีซีให้เป็นรูปกราฟิก อันเป็นต้นกำเนิดการใช้เมาส์
แต่หลังจากนั้นผลิตภัณฑ์ทุกตัวมีแต่นำของเก่ามาเล่าใหม่ แอปเปิลไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องเล่น MP3 แค่นำมาปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม เช่นเดียวกับสมาร์ทโฟนและแท็บเลต
"โจนาธาน ไอฟ์" นักออกแบบของ "แอปเปิล" ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า
"เป้าหมายของเราง่ายมาก มันคือการออกแบบและทำผลิตภัณฑ์ให้ดีกว่าเดิม ถ้าหากทำให้อะไรบางอย่างดีขึ้นกว่าเดิมไม่ได้ก็จะไม่ทำมัน แค่นั้นเอง"
บทเรียนเรื่องนี้ "แอปเปิล" น่าจะได้จากการสร้าง "ไอพอด" จากนั้นจึงนำมาปรับใช้กับสมาร์ทโฟนและแท็บเลตในเวลาต่อมา
ข้อ 6 "แอปเปิลจะวางจุดยืนให้นำคู่แข่งอย่างน้อย 2 ปี"
ข้อนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้คู่แข่งหวาดกลัวมากที่สุด เพราะขณะที่คู่แข่งกำลังจะออกผลิตภัณฑ์ที่พอจะแข่งขันด้วยได้ "แอปเปิล" ก็เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีกำหนดวางตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้าแล้ว เช่น ไอโฟนรุ่นใหม่ ซึ่งน่าจะวางตลาดในเดือน ต.ค.
ปีนี้ น่าจะมีการออกแบบและเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว
ส่วน "ไอโฟน" ที่กำลังพัฒนาอยู่ตอนนี้น่าจะมีกำหนดออกสู่ตลาดในฤดูใบไม้ร่วงปี 2557 เช่นเดียวกับ "ไอแพด" ใหม่ที่ได้พัฒนาเสร็จสิ้นไปตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
และที่บริษัทกำลังพัฒนาอยู่ในขณะนี้น่าจะมีกำหนดคลอดในปี 2558
ประเด็นนี้ถือเป็นฝันร้ายสำหรับคู่แข่ง และคงเป็นแบบนี้ต่อไปอีกสักพัก
"ทอม" เสริมอีกว่า นอกจาก 6 ข้อข้างต้นแล้ว "แอปเปิล" ยังลงทุนด้านการประดิษฐ์ชิ้นส่วน, กระบวนการผลิต และอื่น ๆ อีก ทั้งมีซอฟต์แวร์ที่ยอดเยี่ยม, การออกแบบที่ดี และระบบนิเวศด้านเนื้อหาแอปพลิเคชั่น รวมถึงการบริการที่ช่วยทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่า 6 ข้อข้างต้นเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จมากที่สุด
และตราบใดที่ "แอปเปิล" ยังเชื่อในหลักง่าย ๆ ทั้ง 6 ข้อต่อไป มันก็จะยังเติบโต และกินส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มสินค้าที่บริษัทเข้าไปแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
Advertisement
เปิดอ่าน 12,641 ครั้ง เปิดอ่าน 22,629 ครั้ง เปิดอ่าน 180,374 ครั้ง เปิดอ่าน 14,857 ครั้ง เปิดอ่าน 12,481 ครั้ง เปิดอ่าน 12,510 ครั้ง เปิดอ่าน 12,683 ครั้ง เปิดอ่าน 10,669 ครั้ง เปิดอ่าน 12,512 ครั้ง เปิดอ่าน 15,508 ครั้ง เปิดอ่าน 11,590 ครั้ง เปิดอ่าน 11,157 ครั้ง เปิดอ่าน 12,248 ครั้ง เปิดอ่าน 10,026 ครั้ง เปิดอ่าน 14,321 ครั้ง เปิดอ่าน 1,676 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,510 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,661 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,056 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,644 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,332 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,241 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,929 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 52,700 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,274 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,567 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,503 ครั้ง |
เปิดอ่าน 56,630 ครั้ง |
|
|