Advertisement
รวบรวมโดย นิคม พวงรัตน์ ศษ.ม. เทคโนโลยีการศึกษา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
--------------------------------------------------------------------------------
บทวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา .ในฐานะที่เป็นนักการศึกษา และนักเทคโนโลยีการศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาได้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา ๖๓
รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมตามความจำเป็น
มาตรา ๖๔
รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความ สามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้โดยเปิด
ให้ มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา ๖๕
ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา ๖๖
เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีทักษะเพียงพอที่จะ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา ๖๗
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา ๖๘
ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิตการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนด
ในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๙
รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
บทวิเคราะห์ ของนักศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา
ในฐานะที่ผมเป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา ผมเห็นว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ฉบับนี้ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคลากรอีกนาน อย่างเช่น มาตราที่ 65 ได้กล่าวไว้ว่า “ ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ “ซึ่งปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าครู อาจารย์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ เรื่องของเทคโนโลยีเท่าที่ควร เพราะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ได้พัฒนามาเมื่อไม่นานนี้เอง ครูอาจารย์ส่วนใหญ่ จะเกิดก่อนเทคโนโลยี ยังสับสนและตามไม่ทัน ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ หรือหากใช้ได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาบุคลากร
อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนสามารถใช้และผลิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้
ในส่วนของมาตราที่ 66 ก็ได้กล่าวไว้ว่า “เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีทักษะ
เพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต “ขีดความสามารถที่ในการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่นักเรียนได้ในโอกาสแรกนั้นยังมีทักษะไม่เพียงพอที่จะนำไปแสวงหาความรู้
ด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอีกมาก เพราะทักษะที่ได้ในอดีตกับที่จะเอามาใช้ในปัจจุบันมันจะต่างกัน และยิ่งถ้าเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้วไม่เรียนต่อจะเห็นได้ว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่สนใจเทคโนโลยีทางการศึกษาทำให้ ้ทักษะที่ในครั้งแรกถูกลืมไป
พระราชบัญญัติฉบับนี้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุด ต้องให้ความสำคัญให้มาก เพราะว่ายุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยีเด็กส่วนใหญ่ก็เห็นความสำคัญมากในเรื่องนี้
--------------------------------------------------------------------------------
จากการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9
- มาตราที่ 63 แม้ว่าจะมีการจัดรูปแบบการให้การศึกษาที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เรียน แต่ก็จะมีปัญหาในเรื่องการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูและนักเรียน เช่นการเรียนทางอินเตอร์เน็ท ถ้านักเรียนใช้อินเตอร์เน็ทไม่เป็นก็ไม่สามารถเรียนได้
- มาตรา 64 ถึงจะเป็นมาตราที่ควรให้มีการส่งเสริมอย่างยิ่ง แต่รัฐก็ควรควบคุมอย่างใกล้ชิด
-มาตรา 65 แม้ว่าจะมีการส่งเสริมอย่างมากในปัจจุบัน แต่ก็จะมีปัญหาในคนรุ่นเก่าบางส่วนที่ไม่ค่อยจะยอมรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่างๆทั้งที่คนรุ่นใหม่จะรับเข้ามาอย่างมาก
- มาตรา 66ในปัจจุบันก็มีการส่งเสริมเช่นกันแต่ก็ไม่ทั่วถึงในเขตชนบทไกลๆ
--------------------------------------------------------------------------------
จากการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 ดิฉันมีความคิดเห็นว่า ใน
มาตรา 63 ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบใดก็ตาม การที่รัฐจัดให้มีเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องคำนึงถึงความพร้อมของพื้นที่ที่จัดสรรและพื้นฐานของผู้เรียนด้วย
มาตรา 64 ไม่ว่าอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีจะก้าวหน้าและมีความพร้อมต่อผู้เรียน มากเท่าไร แต่ ถ้าเราไม่พัฒนาพื้นฐานให้เด็กความเจริญก็จะยังคงไม่เกิดกับประเทศเราแน่นอนเพราะเราต้องเคร่งครัดและส่งเสริม
ให้จริงจังทั้งสองฝ่าย
มาตรา 65 เราต้องคำนึงถึงผู้ที่ไม่ตามเทคโนโลยี คือเป็นพวกคนสมัยเก่าที่เขาไม่ยอมรับว่าจะทำอย่างไรให้เขายอมรับเพราะบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลระดับสูงถ้าเราพัฒนาเขา
ไม่ได้เขาก็ไม่สามารถพัฒนาใครได้เช่นกัน
มาตรา 66 การพัฒนาความรู้ของเด็กเราต้องคิดถึงเด็กที่ด้อยการศึกษา และอยู่ไกลการพัฒนาให้พวกเขาได้มีบทบาทบ้างในการเรียนรู้เพื่อที่จะได้มีความรู้ติดตัว
มาตรา 67 ในกระบวนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลทางเทคโนโลยีจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพราะชีวิตกับเทคโนโลยีต้องควบคู่กันไปในโลกปัจจุบันนี้อยู่แล้ว
--------------------------------------------------------------------------------
บทวิเคราะห์
มาตรา63
ถ้าจะให้การศึกษาใยุคของ IT ที่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว หัวเรื่องใหญ่อย่างรัฐบาลก็ต้องให้การสนับสนุนหรือบริการโดยอาจจะให้เปล่าในเรื่องอุปกรณ์ software หรือสิ่งต่างๆ โดยจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะตอนนี้ทุกสภาบันต่างก็พยายามผลักดันตัวเองออกสู่โลกภายนอกให้มากที่สุดอยู่แล้ว เพื่อจะได้ให้ประเทศพัฒนาอย่างมีศักยภาพสูงสุดทั้งการศึกษานอกระบบ ในระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรา64
นอกจากการส่งเสริมในเรื่อง software แล้วควรมีการส่งเสริมด้านการพิจารณาหลักสูตรที่จะจัดสรรให้ผู้เรียน ให้เป็นไปในแนวทางใด สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนควรเน้นให้มีประสิทธิภาพพอๆกัน บทเรียนต่างๆ ควรมีการทบทวนให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงไปด้วย การให้เอกชนเข้ามามีส่วนพัฒนาหลักสูตร นำเสนอความคิดใหม่ๆ เผยแพร่การเรียนรู้ที่ทันสมัยถูกต้องตามความสมควรในขอบเขต น่าจะเป็นสิ่งดีเพราะในปัจจุบันการพัฒนาของผู้ที่มีทุนลงเอง ไม่ต้องรองบประมาณมักจะไปได้ไกลกว่าการพัฒนาการศึกษาของรัฐที่ต้องรองบประมาณ การพัฒนาย่อมล่าช้ากว่ากันมาก รัฐบาลควรลดค่าใช้จ่ายของเอกชนลงบ้างเพื่อจะได้ให้เอกชนเข้ามามีบทบาทช่วยพัฒนาการศึกษาของชาติ เพราะการทำสิ่งใดก็ตามที่มีการใช้ทุนทรัพย์สูงเมื่อพลาดแล้วย่อมก้าวไปได้ยาก
มาตรา65
มาตรานี้เป็นสิ่งที่สำคัญทีสุะดที่รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงเพราะบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเอง ต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพสูงสุด มีศีลธรรมจริยธรรมในตัวเองทีจะนำสิ่งเหล่านี้ ใช้ในการพัฒนาการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ รัฐบาลควรมีการเลือกสรรผู้ที่จะผลิตสื่อ ที่เป็นความรู้ต่างๆ ออกเผยแผ่ให่เป็นไปในแนงทางเดียวกันไม่สับสน พร้อมทั้งผู้คอยดูแลผู้ที่จะใช้บริการเทคโนโลยีด้วย ควรจัดให้มีการแนะแนว และสอดส่องดูแลการใช้บริการให้เป็นไปในแนวทางที่ดีด้วยเพื่อให้การใช้สื่อเป็นไปด้วยความเต็มประสิทธิภาพที่สุด
มาตรา66
ในเรื่องตรงนี้ถ้าจะมองแล้วเป็นการเปิดโอกาสให้การศึกษาที่อิสระให้แก่เยาวชนแต่การศึกษาที่มอบให้นั้นควรมีผู้ที่แนะนำให้ ้การศึกษาควรนำเสนอให้อยู่ในขอบเขตที่ถูกกต้องตามหลักสูตรการศึกษาจริยธรรม วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และรัฐควรจะจัดสรรให้มีโอกาสได้ศึกษากันตลอดทั้งชีวิต โดยให้เน้นหนักในช่วงแรกให้มากที่สุดเพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีต่อไปใภายภาคหน้า ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน “ ดังนั้นการจัดการศึกษาควรจัดเทคโนโลยีให้เหมาะสมที่สุด
มาตรา67
เมื่อรัฐบาลมีการเปิดโอกาสนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาแล้วควรมีการส่งเสริมพัฒนาให้ถึงขีดศักยภาพที่สูงสุด
เพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณค่า ควรจัดให้มีการวิจัยเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา วิเคราะห์ ค้นหา ตรวจสอบคุณภาพงานพร้อมทั้งเลือกสรรงานที่มีคุณภาพเพื่อการศึกษาออกสู่สังคมให้มากที่สุด
มาตรา68
มาตรานี้้ีเป็นมาตราที่ค่อยข้่างสำคัญเพราะการพัฒนาที่ก้าวไกลย่อมต้องใช้ทุนทรัพย์สูง เพราะฉะนั้นรัฐควรจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ให้มากที่สุดเพราะการศึกษาจะช่วยพัฒนาชาติเป็นอย่างยิ่งไม่แพ้การพัฒนา
ด้านอื่นๆเลย รัฐบาลควรจัดตั้งโครงการในเรื่องนี้โดยเฉพาะสนับสนุนอย่างเป็นทางการให้อย่างดี
มาตรา69
รัฐบาลควรมีผู้คอยดูแลตรวจสอบเรื่องการใช้การผลิต ควบคุมทั้งภาคเอกชนที่เข้ามาและผู้ที่ใช้สื่ออย่างอิสระทั้งหลาย เพื่อประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม หน่วยงานนี้จะทำหน้าที่ประสานงานทุกอย่างเกี่ยวทุกด้านเช่นด้านกฎระเบียบ
นโยบายต่างๆที่จะเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ที่สำคัญหน่วยงานนี้ควรมีสิทธิบริหารตัวเองอย่างมีอิสระ
การศึกษาของชาติจะพัฒนาไปได้ไกลย่อมขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน
--------------------------------------------------------------------------------
บทวิเคราะห์ของผู้รวบรวม
ในฐานะนักเทคโนโลยีการศึกษา เห็นว่า
มาตรา ๖๓
รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมตามความจำเป็น ..ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการศึกษา โดยอาศัย พรบ.การศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า EdNet ซึ่ง เป็นการรวมเอาเครือข่ายทางการศึกษาระดับต่าง ๆ เช่น Unet Schoolnet มารวมไว้ด้วยกันให้มหาวิทยาลัยในภูมิภาคเป็นแม่ข่าย(Node) ให้การบริการ กับสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ทุกระดับ
มาตรา ๖๔
รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความ สามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้โดยเปิด
ให้ มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม .
..ปัจจุบันรัฐได้สนับสนุนโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา รวมทั้งกระทรวงโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาปฏิรูปการเรียนการสอนของสถานศึกษา โดยมุ่งเน้กนให้เป็นเครื่องมือ ในการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต และมีความมุ่งหวังที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวมกันในทุกด้าน โดยมีแผนปฏิบัติการ 4 แผนคือ
1. แผนปฏิบัติการด้านพัฒนาบุคลากร (People ware)
2. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเนื้อหา สื่อ และซอฟท์แวร์ (Software)
3. แผนปฏิบัติการด้านการแผนงานจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์(Hardware)
4. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบเครือข่าย (Network)
มาตรา ๖๕
ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา ๖๖
เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีทักษะเพียงพอที่จะ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา ๖๗
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา ๖๘
ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิตการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนด
ในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๙
รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา...รัฐได้จัดตั้งกระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานกลางที่จะตอบสนองนโยบายตามมาตรานี้แล้ว
ที่มา http://www.kunkroo.com/techno.html
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 98,476 ครั้ง เปิดอ่าน 19,948 ครั้ง เปิดอ่าน 48,017 ครั้ง เปิดอ่าน 18,271 ครั้ง เปิดอ่าน 12,739 ครั้ง เปิดอ่าน 26,828 ครั้ง เปิดอ่าน 13,247 ครั้ง เปิดอ่าน 39,626 ครั้ง เปิดอ่าน 55,503 ครั้ง เปิดอ่าน 20,264 ครั้ง เปิดอ่าน 34,829 ครั้ง เปิดอ่าน 29,571 ครั้ง เปิดอ่าน 45,190 ครั้ง เปิดอ่าน 53,316 ครั้ง เปิดอ่าน 39,272 ครั้ง เปิดอ่าน 41,622 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 36,067 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,690 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,901 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 98,476 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 41,986 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 59,706 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,309 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,697 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,590 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,839 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,417 ครั้ง |
|
|