เครื่องปรุง :
- ปลาร้า 500 กรัม
- พริกแห้ง 500 กรัม
- หอมแห้ง 500 กรัม
- กระเทียม 1,000 กรัม
- ข่า 1,000 กรัม
- ตะใคร้ 1,000 กรัม
- ใบมะกรูด 500 กรัม
- ปลาย่าง 300 กรัม
- มะขามเปียกพอประมาณ
- ผงชูรสพอประมาณ
ขั้นตอนการเตรียมเครื่องปรุงส่วนผสม
1.ปลาร้า : ปลาร้าอย่างดีทำจากปลาช่อน ปลาดุก นำมาล้างน้ำอุ่นที่เตรียมไว้ ล้างให้สะอาด นำไปผึ่งแดดพอหมาดๆเพื่อป้องกันไม้ให้ปลาร้ากระเด็นเวลาสับหรือบด ปลาร้าที่ผึ่งแดดพอหมาดๆนำมาขูดเอาเนื้อ แลัวนำมาบดหรือสับให้ละเอียด นำปลาร้าที่สับหรือบดละเอียดแล้ว นำไปนึ่งให้สุก
2.พริกแห้ง :น้ำพริกแห้งมาเด็ดขั้วออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้ง น้ำพริกที่ตากแล้วขั้วให้สุกพอหอม ระวังอย่าให้พริกไหม้ พริกที่ขั้วสุกแล้วนำไปโขลกหรือบดให้ละเอียด
3.หอม กระเทียมแห้ง : นำหอมแห้งกระเทียมแห้งแกะเปลือกออกให้สะอาด นำไปล้างแล้วผึ่งแดดพอแห้ง จากนั้น นำหอมกระเทียมที่ผึ่งแดดเข้าเครื่องอบ หรือขั้วให้สุก โขลกหรือบดให้ละเอียด
4.ข่า : นำข่ามาล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นๆ สับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปโขลกหรือบดให้ละเอียด เข้าเครื่องอบหรือขั้วให้สุก นำไปผึ่งแดดพอประมาณ
5.ตะใคร้: นำตะใคร้มาล้างน้ำให้สะอาด หั่นฝอย โขลกหรือบดให้ละเอียดแล้วนำเข้าเครื่องอบหรือคั่วให้สุก
6.ใบมะกรูด : เด็ดใบมะกรูดแล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งลมพอประมาณ และนำมาหั่นฝอย เข้าเครื่องอบหรือคั่วให้สุกกรอบ แล้วมาโขลกหรือบดให้ละเอียด
7.ปลาย่าง : นำปลามาย่างไฟหรืออบจนกรอบ แล้วนำไปโขลกหรือบดจนละเอียด
8.มะขามเปียก : นำมะขามต้มน้ำให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาเนื้อมะขามเปียกมากวน
วิธีทำ :
นำปลาร้าที่นึ่งสุกแล้วใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นตามด้วยพริกแห้ง หอม กระเทียม ตะใคร่ ข่า ใบมะกรูด มะขามเปียก ปลาย่าง คลุกเคล้าเข้ากัน คนให้ทั่วชิมรส แล้วนำไปบรรจุภาชนะ
สนใจติดต่อ : คุณศุภวรรณ ยศม่าว ประธานกลุ่มแม่บ้านชัยประเสริฐ
ต.เก่างิ้ว อ.พล จ.ขอนแก่น โทร. 043-414937
เครื่องปรุง
รากผักชี ตะไคร้เผาพอหอม ปลาร้าสับละเอียด น้ำมันพืช น้ำมะขามเปียก-ข้น ข่าเผาซอย พริกป่น ปลาป่น น้ำปลา น้ำตาลทราย
วิธีทำ
1 โขลกรากผักชี ตะไคร้ ข่าให้ละเอียดใส่กระเทียม หอม โขลกต่อให้ละเอียดใส่พริกป่นปลาร้า โขลกต่อให้เข้ากัน
2 ตั้งกระทะไฟ อ่อนใส่น้ำมันพร้อมใส่ส่วนผสมผัดใส่น้ำปลาร้าน้ำมะขามเปียกน้ำตาลผัดจนหอมจึงตักขึ้น
เคล็ดลับ
รับประทานกับผักสดผักนึ่ง
ถ้าไม่ชอบปลาร้าใส่น้ำปลาก็ได้
คูณค่าทางอาหาร
โปรตีนวตามินเอ ซี
มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ใช้ใบไม้ ใบหญ้า ดอกผล รากเหง้าของต้นไม้ มาเป็นอาหาร และเมื่อต้องการเพิ่มรสชาติก็ใช้ยอดใบผลของพืชต่างๆ นำมาผสมปรุงแต่งให้มีรสชาติที่อร่อยเมื่อได้บริโภคแล้วสุขภาพร่างกายแข็งแรง ระบบขับถ่ายดี รักษาการเจ็บป่วยได้ ทำให้เกิดต้นตำรับของอาหารพื้นบ้านไทยเรื่อยมาจนถึง
อาหารพื้นเมืองหรืออาหารพื้นบ้านไทยไม่เพียงแต่มีรสชาติที่อร่อยกลมกล่อม หลากหลายรส แต่ยังเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนไทย ในแต่ละท้องถิ่นที่รังสรรปรุงแต่งให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารพื้นบ้านไทยเป็นอาหารที่ได้สมดุลทางโภชนาการ ผสมผสานลงตัว ระหว่างชนิดและปริมาณของอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้าวเป็นอาหารหลักอาจจะเป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวแล้วแต่ท้องถิ่น และมักเป็นข้าวซ้อมมือซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินที่สำคัญ การปรุงอาหารจะเป็นการต้ม แกง ยำ ตำ มีการปรุงที่เรียบง่าย ไม่พิถีพิถัน ใช้เวลาไม่มาก ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารน้อย มีการใช้เนื้อสัตว์ไม่มาก แหล่งโปรตีนได้จากปลา ไก่ ไข่ หมูและสัตว์อื่นๆ บางชนิดในท้องถิ่น เครื่องปรุงล้วนเป็นสมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติ และที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอาหารพื้นบ้านนานาชนิดที่หาได้ นำมาปรุงเป็นอาหารหรือนำมาเป็นเครื่องจิ้มกับอาหารประเภทน้ำพริกหรือหลนต่างๆ ส่วนความพึงพอใจในรสชาติหรือความอร่อยของอาหารไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว จะเห็นได้ว่า "อาหารพื้นเมืองของไทยเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำแต่มีเส้นใยสูง มีคุณค่าทางโภชนาการทั้ง วิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ กรดไขมัน มีความปลอดภัยจากสารเคมีและยังให้สรรพคุณทางสมุนไพรที่วิเศษซึ่งหาได้ยากจากอาหารประเภทอื่นๆ ในขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของคนในครอบครัวที่ได้มีโอกาสพูดคุยกันระหว่างมื้ออาหาร ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาให้อาหารไทยอยู่คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยตลอดไป
อาหารพื้นเมืองของไทย มีมากมายหลายชนิดและรสชาติที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันตามวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ หรือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมการกินของประเทศเพื่อนบ้าน อาหารพื้นเมืองของไทยสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ แต่เนื่องจากอาหารพื้นเมืองมีเป็นจำนวนมาก จึงนำเสนอเฉพาะอาหารที่เป็นที่นิยมของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ ดังข้อมูลข้างต้น
|