Advertisement
|
มะเขือเทศ
เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 1 - 2 เมตร ลำต้นล้มง่ายแต่ส่วนที่แตะลงดินจะแตกรากได้ ลำต้นมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่ว ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรูปคล้ายขนนก ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งประมาณ 3 - 7 ดอก ออกตามง่ามใบ ผลมีลักษณะต่างกันแต่ละพันธ์ บางพันธุ์เป็นรูปกลมรี กลมแบน หรือกลมใหญ่ ผลมีเนื้อเกลี้ยงเป็นมันผลอ่อนมีสีเขียว พอแก่ผลสุกเต็มที่จะเป็นสีเหลือง หรือสีแดงสด ข้างในผลมีเมล็ดเป็นเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก ส่วนที่ใช้
ใบ ราก ผล
สรรพคุณ
ใบ - ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาทาหรือพอกแก้ผิวหนังถูกแดดเผา
ผล - ใช้ผลสด นำมารับประทานสดหรือนำมาต้มเอาน้ำแกงกิน เป็นยาแก้กระหายน้ำเป็นอย่างดี เป็นยาระบายอ่อนๆ ทำให้เจริญอาหาร ช่วยขับพิษ และสิ่งทีร่คั่งค้างในร่างกาย ช่วยบำรุงและกระตุ้นกระเพาะอาหาร ลำไส้และไต
ราก - ใช้รากสด นำมาตัม ใช้น้ำกินเป็นยาแก้ปวดฟัน หรือใช้น้ำที่ต้มล้างบาดแผล
|
|
มะนาว
มะนาว
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวสีเขียวสด หนาแข็งออกดอกสีขาวเหลือง มีกลิ่นหอมน้อยๆผลกลม ผิวมีน้ำมัน
ส่วนที่ใช้
ใบ ราก ผล เปลือก
สรรพคุณ
ใบ - ใช้สด นำมาต้มเอาน้ำกิน ใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้แงอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้เจริญอาหาร
ผล - ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำกิน หรือกินสด เป็นยาแก้กระหาย แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ เจรอญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟัน และถ่ายพยาธิ หรือใช้ผลดองเกลือจนเป็นสีน้ำตาล ใช้เป็นยาขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ
เปลือกผล - ใช้เปลือกผลแห้ง ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้จุกเสียด แน่น แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร ขับลม
ราก - ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้การฟกช้ำจากการถูกกระแทก หรือจากการหกล้ม แก้ปวด และแก้พิษสุนัขบ้า
|
|
ดาวเรือง
ดาวเรือง
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ทั้งต้นมีกลิ่นฉุน ใบเป็นใบไม้ใบรวมแบบใบขนนก ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ดอกเป็นดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อมีสีเหลือง สีส้ม ผลมีสีดำและแห้ง ส่วนที่ใช้
ดอก ใบ และต้น
สรรพคุณ
ดอก เป็นยาบำรุงสายตา เป็นยาฟอกเลือด ละลายเสมหะ ขับลม แก้เวียนหัว ไอหวัด ไอกรน เต้านมอักเสบ คางทูม แก้หลอดลมอักเสบ
ใบ ถ้านำมาคั้นน้ำจะแก้หูเจ็บ ถ้านำมาทาจะแก้แผลเปื่อยเน่าได้ แก้ฝีต่างๆ
ต้น นำมาทาเป็นยารักษาโรคไส้ตันอักเสบ หรือมีอาการปวดท้องขนาดหนักคล้ายกับไส้ติ่ง และเป็นยารักษาแก้ฝีลมด้วย
|
|
ชบา
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบมีสีเขียวเข้ม ดกเป็นมันคล้ายใบภู่ระหงส์ ดอกเกิดตรงปลายยอด มีทั้งดอกชั้นเดียว 5 กลีบ และดอกซ้อนหลายกลีบคล้ายดอกพุดตาน หรือกุหลาบ มีมากมายหลายสี แต่ชนิดที่ทำยาจะเป็นชนิดดอกลาย (กลีบดอกชั้นเดียว) สีแดง ส่วนที่ใช้
ต้น ใบ ราก
สรรพคุณ
ใบ นำมาล้างและตำรวมกับใบพุคตาน ผสมกับน้ำผึ้ง เคี่ยวให้ขึ้น ใช้ทาบริเวณที่เป็นคางทูม นำมาทาผิวหนังทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น
ดอก ชงกับน้ำดื่มเพื่อลดไข้ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ดอกแดงนำมาแกงเป็นแกงเลียงกินบำรุงน้ำนม ถ้าไม่มีดอกให้ใช้ใบอ่อนแทน นอกจากนี้ดอกชบายังทำให้เป็นหมันได้
รากสด ใช้ 1 กำมือ นำมาโขลกให้ละเอียด พอกรักษาฝี อาการฟกช้ำบวม ใช้ต้มกินกับน้ำ จะช่วยขับน้ำย่อยอาหาร เป็นยาเจริญอาหาร
|
|
ถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาว
เป็นไม้พรรณเถา ตามลำต้นจะมีขนเล็กน้อย หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ ใบจะเป็นใบประกอบ มี 3 ใบ ในใบมีเส้นเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะมีดอกย่อยประมาณ 2-3 ดอก กลีบดอกเป็นสีม่วงอ่อนหรือสีขาวออกเหลือง เมล็ด (ผล) จะออกเป็นฝักมีความยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร เมล็ดมีลักษณะคล้ายไตหรืออกกลมเล็กน้อย
ส่วนที่ใช้
ใบ เนื้อ ฝัก เมล็ด ราก
สรรพคุณ
ใบ ใช้สด 60-100 กรัม ต้มกับน้ำ เป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง
เปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสด จะมีรสชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบปรอย และตกขาว
ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อ ใช้รักษาภายนอกโดยการพอก หรือนำมาเผาแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทา ใช้เป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น
|
วันที่ 24 ม.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 22,774 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,173 ครั้ง |
เปิดอ่าน 109,501 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,609 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,553 ครั้ง |
|
|