Advertisement
❝ มะเร็งของศีรษะลำคอ หมายถึง มะเร็งที่เกิดขึ้นในเยื่อบุผิวทางเดินหายใจและทางเดินอาหารส่วนต้น โดยตำแหน่งที่สำคัญในทางเดินอาหารและหายใจส่วนบนที่อาจเกิดเป็นมะเร็ง โดยตำแหน่งที่สำคัญในทางเดินอาหารและหายใจส่วนบนที่อาจเกิดเป็นโรคมะเร็ง ได้แก่ ช่องปาก ช่องคอ โพรงรอบจมูกเท่านั้น ❞
|
ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ต |
|
|
มะเร็งของศีรษะลำคอ หมายถึง มะเร็งที่เกิดขึ้นในเยื่อบุผิวทางเดินหายใจและทางเดินอาหารส่วนต้น โดยตำแหน่งที่สำคัญในทางเดินอาหารและหายใจส่วนบนที่อาจเกิดเป็นมะเร็ง โดยตำแหน่งที่สำคัญในทางเดินอาหารและหายใจส่วนบนที่อาจเกิดเป็นโรคมะเร็ง ได้แก่ ช่องปาก ช่องคอ โพรงรอบจมูกเท่านั้น
สาเหตุของโรคมะเร็งศีรษะและลำคอเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขระดับโลก ใสแต่ละปีจะมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นประมาณ 540,000 รายทั่วโลก และเสียชีวิต 271,000 รายต่อปี
สาเหตุของโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ
สำหรับประเทศไทย พบว่าปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งศีรษะและลำคอมาจากการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่ ส่วนการเคี้ยวหมากร่วมกับใบยาสูญเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยในอดีต และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิด “มะเร็งช่องปาก” โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติระดับยีนที่เสริมให้เกิดมะเร็งจากการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเสริมอื่น ๆ ได้แก่ ภาระ ภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติทางพันธุกรรม อาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งศีรษะและลำคอ
สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
อาการของมะเร็งในระยะแรกจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น เช่น
- มะเร็งของกล่องเสียง อาการเสียงแหบ
- มะเร็งช่องปาก อาการแผลเรื้อรัง ปวดพูดไม่ชัด เลือดออกจากแผลและมีก้อนยื่นออกมา
- มะเร็งบริเวณโคนลิ้น และกล่องเสียง อาการกลืนเจ็บ กลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน หรือหายใจไม่สะดวก
- มะเร็งหลังโพรงจมูก อาการหูอื้อ ฟังไม่ชัด เกิดจากภาวะน้ำคั่งในหู
- มะเร็งของช่องจมูกและโพรงอากาศรอบจมูก อาการแน่นโพรงจมูกหรือปวดศีรษะตื้อ ๆ
- มะเร็งบางตำแหน่ง เช่น หลังโพรงจมูก หรือบริเวณใต้กล่องเสียงอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ทั้งสิ้นในระยะแรก แต่สำหรับมะเร็งทุกชนิดในระยะลุกลาม มักจะมีอาการคล้ายกันในทุกตำแหน่งของร่างกาย เช่น
o น้ำหนักลดลง
o อาการปวดร้าวจากมะเร็งลุกลามไปที่เส้นประสาท
o อาการของเส้นประสาทสมองถูกทำลาย เช่น ตามองเห็นภาพซ้อน
o อาการหายใจลำบากจากทางเดินหายใจอุดกั้น
o แผลที่ทะลุออกทางผิวหนัง และเลือดออกจากช่องปากหรือช่องคอ
รู้ได้อย่างไรว่าโรคมะเร็งมาเยือน
แม้ว่าการวินิจฉัยมะเร็งศีรษะและลำคอส่วนใหญ่สามารถทำได้ไม่ยาก แต่ปัจจุบันปัญหาใหญ่ก็คือผู้ป่วยเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่มาพบแพทย์ในระยะแรก ๆ และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยกลุ่มนี้ เซลล์มะเร็งจะลุกลามเฉพาะที่ตำแหน่งที่เป็นเริ่มแรก และที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองในลำคอ นอกจากนี้ยังพบว่ามักจะมีการกระจายไปที่ปอด ซึ่งพบบ่อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม การตรวจพบก้อนในปอดเพียงจุดเดียวมักจะมีสาเหตุจากมะเร็งที่ปอดโดยตรงมากกว่ามะเร็งที่แพร่กระจายมาจากตำแหน่งอื่น ๆ คือ ต่อมน้ำเหลืองในช่องอก ตับ สมอง และกระดูก
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยในระยะท้าย ๆ เนื่องจากปล่อยปละละเลยอาการของตนเอง และความล่าช้าในการวินิจฉัยของแพทย์หรือทันตแพทย์ที่ดูแลเบื้องต้น ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงและมาด้วยอาการในบริเวณศีรษะและลำคอ จำเป็นที่แพทย์จะต้องคิดถึงและตรวจหามะเร็งศีรษะและลำคอเสมอ จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่เป็น
การรักษาในปัจจุบัน
มะเร็งศีรษะและลำคอมักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุและมีโรคร่วมจากการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา การดูแลรักษาผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันจากหลาย ๆ ฝ่าย ได้แก่ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านศีรษะและลำคอ อายุรแพทย์เคมีบำบัด แพทย์รังสีรักษา แพทย์รังสีวินิจฉัย ประสาทศัลยศาสตร์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง วิสัญญีแพทย์และแพทย์ทางด้านระงับ ปวด ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ พยาบาลเฉพาะทาง ด้านมะเร็ง รวมไปถึงนักสังคมสงเคราะห์
การให้การวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยก่อนการรักษาถือเป็นหัวใจ หลักของการดูแลรักษาทั้งหมด ความก้าวหน้าในการดูแลรักษาผู้ป่วย
มะเร็งศีรษะและลำคอในระยะเวลาที่ผ่านมา 15 ปี ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การลดสภาวะพิกลพิการและเพิ่มคุณภาพชีวิต ในขณะที่อัตราการอยู่ รอดยังไม่เพิ่มขึ้น (อัตราการอยู่รอดที่ระยะเวลา 5 ปี ของมะเร็งระยะ ต้นอยู่ที่ 50-60% และต่ำกว่า 30% ในมะเร็งระยะลุกลาม) ดังนั้น การนำเอาวิทยาการใหม่ ๆ ทางด้านอณูชีววิทยาและอณูพันธุศาสตร์มาใช้อาจ มีส่วนช่วยในการทำนายพยากรณ์โรคและในการพัฒนาวิธีการรักษาผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้
แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือหากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการที่น่าสงสัยหรือเป็นผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคชนิดนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะหากยังอยู่ในระยะเริ่มแรก โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดก็มีมากขึ้น ในทางกลับกัน หากอยู่ในระยะลุกลาม การรักษาอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรนอกจากนี้ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอมีอาจเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งที่ตำแหน่งอื่น ๆ ในระบบทางเดินอาหารและหายใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการดื่มสุราและสูบบุหรี่ที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งมีผลต่อเยื้อบุทั้งหมดที่สัมผัสกับสารเหล่านี้แม้ว่าจะหยุดปัจจัยเสี่ยงไปแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจวินิจฉัยติดตามอาการไปเป็นระยะ ๆ ภายหลังการรักษาครั้งแรกครับ”
ศ.ดร.นพ.พรชัย โอเจริญรัตน์
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม
ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.ศิริราช
|
|
|
วันที่ 22 ม.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,930 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,204 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,862 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,413 ครั้ง |
เปิดอ่าน 62,241 ครั้ง |
|
|