Advertisement
|
วัยทอง Menopause
วัยทองหรือหมดประจำเดือนคืออะไร
วัยทองเป็นวัยหนึ่งของชีวิต ซึ่งเริ่มด้วย วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน วัยทอง วัยรุ่นและวัยทองเป็นวัยที่รังไข่สร้างฮอร์โมนออกมาน้อยและไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ วัยทองรังไข่ทำงานน้อยลงทำให้สร้างฮอร์โมนออกมาน้อยลง [ estrogen,progesterone] ทำให้บางท่านอาจจะมีประจำเดือนมากขึ้นบางคนน้อยลง บางคนประจำเดือนห่างบางคนก็มาถี่ ฮอร์โมนนี้จะช่วยในการมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกระดูก ลดระดับ cholesterol
วัยทองจะเริ่มเมื่อไร
หญิงอายุตั้งแต่30 ปีขึ้นไปจน 50ปีสามารถเกิดวัยทองได้ โดยเฉลี่ยคืออายุ 51 ปีผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ตัดรังไข่ก็สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่
อาการเตือนของวัยทองมีอะไรบ้าง
เมื่อระดับฮอร์โมน estrogen และ progesterone ลดลงจะทำให้เกิดอาการหลายอย่างบางคนเป็นมากบางคนเป็นน้อย( ผลของเอสโตรเจนต่อร่างกาย)อาการอาจจะเป็นไม่กี่เดือนก็หาย แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี อาการต่างๆมีดังนี้
1. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเช่นมาเร็ว มาช้า มามาก มาน้อย มานาน
2. ร้อนตามตัว ผู้ป่วยจะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย แก้ม คอ หลังจะแดงหลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที
3. ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับ estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะร่วมเพศ และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องกั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอ
4. การคุมกำเนิด ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปีหลังประจำเดือนครั้งสุดท้ายผู้ป่วยบางคนจะมีความรู้สึกทางเพศลดลง แต่บางรายมีความรู้สึกทางเพศสูงขึ้น
5. มีปัญหาเรื่องการนอน นอนหลับยาก ตื่นเร็ว อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย
6. ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ผันผวนโกรธง่าย
7. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอวกล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว
8. ปัญหาอื่น เช่นปวดศีรษะ ความจำลดลง ปวดตามตัว
วัยทองกับโรค
เมื่อเข้าสู่วัยทองจะมีโรคหลายโรคเกิดมากในวัยนี้ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน มะเร็งเต้านม แต่ไม่ใครสามารถที่จะคาดเดาว่าจะเป็นใครจะเป็นโรคดังกล่าว แต่เราจะพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงว่าวัยทองคนใดมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอะไร ดังนั้นท่านที่อยู่ในวัยทองท่านจะต้องรู้สิ่งต่อไปนี้เพื่อการตัดสินใจรับฮอร์โมนทอแทน
• รายละเอียดเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งเต้านม
• ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละโรค
• ผลของฮอร์โมนทดแทนต่อภาวะดังกล่าว
โรคที่มักจะเกิดกับวัยทอง
• ผู้ป่วยจะเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว
• ผู้ป่วยวัยทองจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มผู้ป่วยควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง
• มะเร็งเต้านม
เมื่อเข้าสู่วัยทองต้องทำอะไรบ้าง
• ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง ลดไขมัน
• ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
• เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
• ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ
• ตรวจเต้านม มะเร็งปากมดลูกทุกปี
การรักษาโรคที่มากับวัยทองโดยไม่ใช้ฮอร์โมน
ก่อนการให้ฮอร์โมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านี้
ถ้าหากท่านมีอาการร้อนตามตัวจะแก้ไขอย่างไร
• เมื่อเริ่มเกิดอาการร้อนให้ไปอยู่ที่เย็นๆ
• ให้นอนในห้องที่เย็น
• ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อน
• หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดๆ และร้อน
• หลีกเลี่ยงสุรา
• หลีกเลี่ยงความเครียด เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาวๆ ช้าและใจเย็นๆ
• ถ้าหนาวให้ใส่เสื้อหลายชั้น และหากร้อนก็สามารถถอดทีละชั้น
• แพทย์บางท่าแนะนำให้ใช้วิตามิน อีซึ่งจะลดอาการได้ร้อยละ 40 clonidine และยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI เช่น Prozac Zoloft
• อาหารซึ่งมีถั่วเหลืองจะช่วยลดอาการร้อนตามตัว
อาการช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อยจะแก้ไขอย่างไร
• เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อทำให้เกิดอาการดังกล่าว และหากมีข้อห้ามในการรับประทานฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ป่วยไม่อยากจะรับความเสี่ยงจากการให้ฮอร์โมนก็สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทาช่องคลอดได ้โดยระดับยาในเลือดจะมีน้อยกว่าชนิดรับประทาน 1 ใน 4 แต่จะให้ผลดีต่อช่องคลอดมากกว่าชนิดรับประทาน 4 เท่า ในการใช้ยาครั้งแรกให้ทาทุกวันหลังจากนั้นให้ทาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งหรือแล้วแต่การปรับของผู้ป่วย
• นอกจากนั้นบางคนอาจจะใช้ยาที่เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ช่องคลอดแต่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหนาตัว อาการนอนไม่หลับและอารมณ์แปรปรวน
• ใช้ยายาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงระดับ serotonin ในสมองทำให้ลดอาการซึมเศร้า
การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง
ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม Phytoestrogen
พืชหลายชนิด เช่น ธัญพืช ผัก ถั่วต่าง ถั่วเหลือง จะมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้รักษาเนื่องจากยังไม่มีรายงานเรื่องประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง
|
|
|
|
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ที่นี่.คอม
วันที่ 21 ม.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,215 ครั้ง เปิดอ่าน 7,218 ครั้ง เปิดอ่าน 7,127 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,127 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,126 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,553 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,790 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,803 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,063 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,957 ครั้ง |
|
|