โดยมอบหมายให้ สช.แจ้งโรงเรียนเอกชนกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยถือปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๔ มีสาระสำคัญ ดังนี้
- การกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษา ให้โรงเรียนที่นักเรียนรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
- กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่เกินอัตราตามที่ระเบียบว่าด้วยการอุดหนุนรายบุคคลกำหนด โรงเรียนที่นักเรียนไม่รับเงินอุดหนุนรายบุคคล กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาตามความจำเป็นและเหมาะสมแต่ต้องไม่มีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควร หรือเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
- การกำหนดค่าธรรมเนียมอื่น ได้แก่ ให้โรงเรียนพิจารณากำหนดอัตราค่าธรรมเนียมอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยต้องไม่มีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควร หรือเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควรและให้เก็บได้เฉพาะนักเรียนที่รับบริการเท่านั้น ซึ่งค่าธรรมเนียมอื่นต้องไม่เป็นรายการของค่าธรรมเนียมการศึกษา ซึ่งได้แก่ ค่าลงทะเบียนแรกเข้า ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าบำรุงห้องสมุด ค่าบำรุงกีฬา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าภาคปฏิบัติ ค่าวัสดุฝึกหรือค่าอุปกรณ์การศึกษา สำหรับโรงเรียนที่นักเรียนรับการอุดหนุนค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ค่าอาหารเสริม(นม) หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจาก ศธ.ไว้แล้ว ห้ามโรงเรียนเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากผู้ปกครองหรือนักเรียนอีก เว้นแต่มีความจำเป็นต้องจัดรายการดังกล่าว ให้นักเรียนเกินกว่าที่ได้รับการอุดหนุน
- ในกรณีที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเห็นว่าการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนมีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรเกินควร คณะกรรมการฯ มีอำนาจสั่งให้โรงเรียนลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรได้ ทั้งนี้ ผลกำไรที่คณะกรรมการฯ เห็นว่าเหมาะสมคือไม่เกินร้อยละ ๒๐ ต่อปี
- แนวทางการจัดทำประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียน
- การจัดส่งสำเนาประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่จะทำหน้าที่ศึกษาแนวทางการแก้ไข ยกเลิกกฎ ระเบียบและแนวปฏิบัติที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน และพิจารณาผู้ที่จะร่วมเป็นคณะอนุกรรมการฯ เสนอ รมว.ศธ.พิจารณาแต่งตั้ง โดยให้มีการศึกษาครอบคลุมประเด็นเรื่องวิทยฐานะครูโรงเรียนเอกชนด้วย
ได้แก่ ๑) นายปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ครูโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) นายประพันธ์ ทรรศนียากร ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา จังหวัดเชียงราย ๓) นายศิวชาติ ศิริเลิศ ผู้อำนวยการโรงเรียนพลูหลวงวิทยา จังหวัดตาก ๔) นายรังสี สังฆพรหม ผู้อำนวยการโรงเรียนบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลก ๕) นายนิวัฒน์ มั่นศิลป์ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนมารีย์วิทยา จังหวัดนครสวรรค์
โดยมีทำหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียน พิจารณาคำขอและอนุมัติการกู้ยืม พิจารณาปรับลดหรือลดค่าปรับขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ และพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ในกรณีที่ผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ โดยให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี
ได้แก่ ๑) นายสุชล เส็นบัตร ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศาสนวิทยามูลนิธิ จังหวัดพัทลุง ๒) นายขดดะรี บินเซ็น ผู้จัดการโรงเรียนบุสตานุดดีน จังหวัดสงขลา ๓) นายมังโสด หมะเต๊ะ ผู้จัดการโรงเรียนสันติวิทย์ จังหวัดสงขลา ๔) นายนายอุเส็น ดาโหะ ช่วยราชการสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ ๑๒ ๕) นายอุสมาน อารง ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา จังหวัดปัตตานี
ซึ่งจะทำหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อวิทยาคารสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ พิจารณาคำขอ และอนุมัติการยืมเงินและกำหนดระยะเวลาการชำระเงินยืมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญายืมเงิน โดยให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี
โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย คำนิยาม การพิจารณาให้เงินอุดหนุน การเบิกจ่ายเงินอุดหนุน รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินการของโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนการกำกับดูแล ได้แก่ โรงเรียนเอกชนการกุศล โรงเรียนการศึกษาพิเศษ และโรงเรียนเรียนร่วม จำนวนประมาณ ๔๐๐ โรงเรียน โดยให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนประมาณ ๑๐๐ โรงเรียนต่อปี โรงเรียนละ ๖๘๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งจะใช้งบประมาณปีละ ๖๘ ล้านบาท ทั้งนี้ได้เสนอคณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนฝ่ายกฎหมายพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เงินอุดหนุน การยื่นคำขอรับเงินอุดหนุน การดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่โรงเรียนการกุศล จำนวน ๕๖ โรงเรียน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๙๐ ล้านบาท โดยแต่ละโรงเรียนต้องมีงบประมาณสมทบในการก่อสร้าง ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ หรือสมทบในการปรับปรุงอาคารไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐
ทั้งนี้ ได้เสนอคณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ฝ่ายกฎหมายพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
รมว.ศธ.ได้มอบหมายให้ สช.ศึกษาแนวทางการอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชนในรูปแบบคูปองเพื่อการศึกษา หากนำมาใช้เฉพาะโรงเรียนเอกชนจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ และหากไม่จ่ายในรูปคูปองหรือสมาร์ทการ์ด แต่จ่ายในรูปเงินสดจะมีผลดีผลเสียอย่างไร และให้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการ และเชิญ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และผู้เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการ
ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2012/feb/065.html