Advertisement
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ชี้ของเล่นเด็กอันตรายเพียบ สารตะกั่วปนเปื้อนมากทำลูกไม่พัฒนา เสียงดังเกินอันตรายต่อหู สายยาวเสี่ยงรัดคอเด็กขอบแหลมคม แนะพ่อแม่ซื้อของเล่นเป็นของขวัญให้เด็กสังเกตตรา มอก. รณรงค์ปี 52 เป็นปีแห่งของเล่นปลอดภัย ย้ำของเล่นสำคัญต่อเด็กแต่ต้องเลือกให้ปลอดภัยและเหมาะสม
น.พ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้แทนราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ในฐานะหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง “อันตรายจากของเล่นเด็กและอุบัติเหตุในกทม.” ที่แพทยสภา ว่า
ในปี 2551 ที่ผ่านมา ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับภาคี เก็บตัวอย่างของเล่นที่เล่นแล้วจากศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 23 ศูนย์ มาตรวจหาสารตะกั่ว พบว่าของเล่นจาก 4 ศูนย์ หรือคิดเป็นร้อยละ 17 มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนดที่ 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อีกทั้งเก็บตัวอย่างของเล่นที่วางขายหน้าโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร 26 แห่ง พบว่ามีของเล่นจากหน้าโรงเรียน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15 มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด
น.พ.อดิศักดิ์กล่าวต่อว่า ช่วงปลายปี 2551 ราชวิทยาลัยฯ ได้ซื้อหาของเล่นที่ราคาไม่สูง ครอบครัวสามารถซื้อหาให้เด็กได้ง่ายทั้งจากห้างและตลาดทั่วไปในกรุงเทพฯ พิจิตร บุรีรัมย์ สระแก้ว และชลบุรี จำนวน 126 ชิ้น ส่งตรวจคุณสมบัติทางกายภาพจำนวน 50 ชิ้น พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดจำนวน 9 ชิ้น หรือร้อยละ 18 โดยมีเสียงดังเกิน 75-85 เดซิเบล เป็นอันตรายต่อเซลประสาทการได้ยิน 4 ชิ้น เส้นสายยาวเกินกว่า 30 เซนติเมตร มีความเสี่ยงต่อการพันรัดคอเด็ก 3 ชิ้น มีช่องรูระหว่าง 5-12 มิลลิเมตร เสี่ยงต่อนิ้วเด็กติดค้างในช่องรู 2 ชิ้น และมีขอบแหลมคม 1 ชิ้น รวมถึงส่งตรวจคุณสมบัติทางเคมีโดยตรวจหาสารตะกั่วจำนวน 80 ชิ้น พบว่ามีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามารตฐานกำหนด 6 ชิ้น หรือร้อยละ 7.5
“ของเล่นที่มีค่าสารตะกั่วเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะอมของเล่นเข้าทางปาก จะทำให้สารตะกั่วเข้าไปสะสมอยู่ในกระดูกและจะติดอยู่กับตัวเด็กไปจนโตซึ่งจะ ละลายเข้าเนื้อเยื่อ ทำให้มีผลต่อเซลสมอง หากได้รับซ้ำๆ จะก่อให้เกิดพัฒนาการที่ล่าช้า ระดับไอคิวต่ำ ดังนั้นการเลือกซื้อของเล่นให้กับเด็ก พ่อแม่ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตรา มอก. แม้จะไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็พอบรรเทาอันตรายได้ระดับหนึ่ง ขณะนี้ผมและทีมงานกำลังดำเนินการตรวจสอบเครื่องมือศิลปะในศูนย์เด็กเล็ก ทั้งดินน้ำมัน สีแท่ง สีเทียน สีทาบ้านว่ามีการปนเปื้อนของสารที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กหรือไม่ คาดว่าอีก 3 เดือนจึงจะรู้ผล” น.พ.อดิศักดิ์กล่าว
พ.ญ.นิตยา คชภักดี อนุกรรมการพัฒนาเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์ฯ กล่าวว่า หากเด็กเลือกได้จะเล่นมากกว่ากิน เล่นมากกว่าเรียน หรือเล่นมากกว่านอน ที่เป็นแบบนี้เพราะเด็กนั้นเห็นการเล่นเป็นชีวิตจิตใจ จากการวิเคราะห์ของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ พัฒนาการของเด็กไทยในช่วงประถมวัยก่อน 6 ขวบ เมื่อปี 2543-2544 จากการสำรวจเด็กไทย 3,000-4,000 คน พบว่ามีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 28 ขณะที่ในปี 2547 ใกล้เคียงกัน คือราวๆ ร้อยละ 30 แต่เมื่อถึงปี 2550 พบว่าเด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32 แปลว่าในเด็กไทย 10 คน มีพัฒนาการล่าช้าอยู่ถึงประมาณ 3 คน
พ.ญ.นิตยากล่าวต่อว่า พัฒนาการของเด็กไทยที่พบว่าล่าช้ามี 2 ด้าน คือ 1.ด้านภาษา 2.พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ ซึ่งรวมกันเป็นไอคิว การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญต่อเด็ก เพราะสมองของเด็กกำลังเติบโตและกำลังพัฒนาจากสิ่งรอบตัว การเล่นเปรียบเสมือนสารอาหารที่สำคัญ ทั้งเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และเชาว์ปัญญา ในส่วนของเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กที่พ่อแม่ทำมาหากินไม่มีเวลาเลี้ยงดู และเด็กที่อยู่ในสภาวะยากจน เราต้องคอยดูแลพวกเขาและให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยขยายความให้เขามีความรู้ความเข้าใจกว้างมากขึ้น หรือการให้ของเล่นกับเด็กต้องเหมาะสมกับความยากง่ายของตัวเด็กเองด้วย ถ้ายากเกินไปเด็กจะโมโหมากเพราะทำไม่ได้
สุดท้ายของเล่นเหล่านี้ต้องไม่กระตุ้นเร้าความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความรุนแรง ไม่เกิดอันตรายจากตัวมันเอง ทั้งความคมหรือการปนเปื้อนจากสารตะกั่ว จึงอยากให้ภาครัฐ ส่วนองค์กรของจังหวัด และชุมชนท้องถิ่น รวมถึงคนภายในครอบครัวร่วมมือกัน ส่วนราชวิทยาลัยกุมารแพทย์จะช่วยในเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจ และการสนับสนุนประสานงาน หากมีเด็กบาดเจ็บจากของเล่นให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจโดยผ่านราชวิทยาลัยฯ
“อย่างไรก็ตาม อยากย้ำว่าของเล่นยังเป็นสิ่งสำคัญของเด็ก เหมือนเป็นอาหารสมองและจิตใจ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม แต่ต้องเลือกชนิดที่ปลอดภัย และเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน”
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด
Advertisement
เปิดอ่าน 13,943 ครั้ง เปิดอ่าน 15,355 ครั้ง เปิดอ่าน 10,260 ครั้ง เปิดอ่าน 12,574 ครั้ง เปิดอ่าน 18,877 ครั้ง เปิดอ่าน 507 ครั้ง เปิดอ่าน 22,077 ครั้ง เปิดอ่าน 213,625 ครั้ง เปิดอ่าน 16,032 ครั้ง เปิดอ่าน 9,265 ครั้ง เปิดอ่าน 13,017 ครั้ง เปิดอ่าน 61,985 ครั้ง เปิดอ่าน 14,187 ครั้ง เปิดอ่าน 9,191 ครั้ง เปิดอ่าน 15,094 ครั้ง เปิดอ่าน 1,343 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 16,642 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,741 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,876 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,334 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 46,626 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,676 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,114 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,370 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,637 ครั้ง |
เปิดอ่าน 60,100 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,548 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,133 ครั้ง |
|
|