Advertisement
จัดทำโดย
โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
โทรศัพท์ 02-201-1727
เนื้อเรื่อง : คุณธิติดา ชัยศุภมงคลลาภ
อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์์
ภาพประกอบ : คุณสุรพล แสงโสภิต
ออกแบบรูปเล่ม : คุณเมตตา ขำอินทร์
|
ประกอบด้วย
- การจัดท่าเด็ก (postural drainage)
- การเคาะปอด (percussion)
- การสั่นสะเทือน (vibration)
- การไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough)
- การดูดเสมหะ (เฉพาะเด็กเล็กหรือเด็กที่ไม่สามารถไอบ้วนเสมหะได้เอง)
หลักการทั่วไป
|
- การจัดท่า เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ตรงกลาง เมื่อเด็กไอเสมหะจะถูกขับออกมาได้มากขึ้น
- การเคาะ ใช้อุ้งมือ (ดังรูป) ไม่ควรใช้ฝ่ามือ ควรทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม นิ้วชิดกัน ที่เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ต้องการระบายเสมหะ
- ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ
- การเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมา 1-3 นาที หรือนานกว่านั้นถ้ายังมีเสียงเสมหะมากอยู่
- ขณะเคาะหากเด็กไอ ควรใช้ การสั่นสะเทือนช่วย โดยใช้มือวางราบ พร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ทำให้มือสั่น ในระหว่างที่กำลังไอหรือช่วงที่เด็กหายใจออก
- ฝึกการไอ ให้มีประสิทธิภาพ (ทำได้เฉพาะเด็กที่ รู้เรื่อง สามารถเข้าใจและทำตามคำอธิบายได้) ฝึกได้โดยให้เด็กหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆ กลั้นไว้สักครู่ และไอออกมาโดยเร็วและแรง
- ควรทำการระบายเสมหะ ก่อนมื้อนมหรืออาหาร หรือขณะท้องว่าง หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลังอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักและอาเจียน
|
การจัดท่าเคาะปอด
|
ท่าที่ 1 ปอดกลีบซ้ายบนส่วนยอด
จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังประมาณ 30°เคาะบริเวณด้านบน เหนือทรวงอกด้านซ้าย ระหว่างกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก
|
|
ท่าที่ 2 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหลัง
จัดท่าให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (30°) บนแขนของผู้ให้การบำบัด เคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่
|
|
ท่าที่ 3 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้า
จัดท่านอนหงายราบ เคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย
|
|
ท่าที่ 4 ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง
จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15° และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาประมาณ ? จากแนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย |
|
ท่าที่ 5 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้า
จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ศีรษะต่ำ 30°ประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมา เล็กน้อยเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย
|
|
ท่าที่ 6 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านข้าง
จัดท่าศีรษะต่ำ 30o นอนตะแคงเกือบคว่ำเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก
|
|
ท่าที่ 7 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนหลัง
จัดท่าศีรษะต่ำ 30° นอนคว่ำ เคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า |
หมายเหตุ :
|
ในภาพเป็นการแสดงท่าระบายเสมหะจากปอดด้านซ้าย สำหรับการระบายเสมหะจากปอดด้านขวาให้จัดท่าแบบเดียวกันแต่สลับข้างจากซ้ายเป็นขวาถ้าทราบว่า พยาธิสภาพอยู่ที่ปอดส่วนไหนให้เน้นเคาะที่ตำแหน่งนั้นเป็นพิเศษ
ขอบคุณที่มาจาก http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar21032007.php
|
Advertisement
เปิดอ่าน 166,636 ครั้ง เปิดอ่าน 29,066 ครั้ง เปิดอ่าน 21,648 ครั้ง เปิดอ่าน 39,457 ครั้ง เปิดอ่าน 37,852 ครั้ง เปิดอ่าน 64,423 ครั้ง เปิดอ่าน 21,322 ครั้ง เปิดอ่าน 13,254 ครั้ง เปิดอ่าน 35,137 ครั้ง เปิดอ่าน 53,556 ครั้ง เปิดอ่าน 19,137 ครั้ง เปิดอ่าน 19,200 ครั้ง เปิดอ่าน 37,227 ครั้ง เปิดอ่าน 18,334 ครั้ง เปิดอ่าน 17,768 ครั้ง เปิดอ่าน 19,741 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 22,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,132 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,230 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,305 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 49,027 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 103,447 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 82,790 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 122,574 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,500 ครั้ง |
เปิดอ่าน 43,623 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,694 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,890 ครั้ง |
|
|