Advertisement
|
ตาแห้งคืออะไร
ตาแห้ง คือ การที่ปริมาณน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื่นกับดวงตา เคลือบกระจกตาดำไม่พอ พบในผู้ป่วยทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบบ่อยมากในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน โดยปกติน้ำตาถูกสร้างจากต่อมน้ำตา 2 กลุ่ม ได้แก่
1. ต่อมน้ำตาที่เป็นเซลล์เล็กๆ ซึ่งฝังตัวอยู่บริเวณเยื่อเมือกที่คลุมตาขาวและด้านในของเปลือกตา มีหน้าที่ผลิตน้ำตาออกมาหล่อลื่นตาตลอดทั้งวันในภาวะปกติเรียกว่า Basic Tear Secretion
2. ต่อมน้ำตาใหญ่ อยู่ใต้โพรงกระดูกเบ้าตาบริเวณหางคิ้ว มีหน้าที่ผลิตน้ำตาออกมาเฉพาะเวลาที่มีอารมณ์ต่างๆ เช่น อาการเจ็บปวด ระคายเคืองตา ดีใจหรือเสียใจ เรียกว่า Reflex Tearing
สาเหตุของโรคตาแห้ง
ส่วนใหญ่ไม่พบสาเหตุ แต่มักพบในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น ซึ่งการสร้างน้ำตาจะค่อยๆ ลดลงเอง โดยเฉพาะในวัยหลังหมดประจำเดือน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย และจะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรค Sjogren's Syndrome ซึ่งมีอาการตาแห้งร่วมกับข้ออักเสบและปากแห้ง และยาบางชนิดอาจจะทำให้กระบวนการสร้างน้ำตาลดลง เช่น ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ใช้รักษาหวัดและภูมิแพ้ ยากล่อมประสาท ยาทางจิตเวช ยาลดความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่ออกฤทธิ์โดยการขับปัสสาวะ เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ก็สามารถใช้ยาต่อไปได้ แต่ต้องรักษาอาการตาแห้งร่วมไปด้วย
ผู้ป่วยที่มีเยื่อบุตาอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อ หรือจากการแพ้ยาที่เรียกว่า Stevens-Johnson Syndrome การอักเสบที่รุนแรงและเรื้อรัง อาจไปทำลายต่อมสร้างน้ำตาเล็กๆ ที่เยื่อบุตาขาว ทำให้ผู้ป่วยเกิดตาแห้งชนิดรุนแรงได้จักษุแพทย์จะวินิจฉัย "โรคตาแห้ง" โดยการซักประวัติ และบางครั้งอาจใช้วิธีทดสอบ โดยการวัดปริมาณน้ำตาที่เรียกว่า Schrimer's Test โดยการให้ผู้ป่วยหลับตา แล้วใช้แถบกระดาษกรองมาตรฐานสอดไว้ที่ซอกเปลือกตาด้านล่างค่อนไปทางหางตา ใช้เวลา 5 นาที แล้วเริ่มวัดระยะความเปียกของกระดาษจากขอบตาออกมาบันทึกไว้ ซึ่งหากปริมาณน้ำตาปกติจะวัดแถบน้ำตาที่เปียกได้ 10 มิลลิเมตรขึ้นไป
อาการของโรคตาแห้ง
ตาจะรู้สึกฝืด เคืองระคายคล้ายมีเศษผงเข้าตา แสบร้อน บางรายมีขี้ตาเป็นเมือกเหนียวยืดเป็นเส้น เพราะน้ำตามีส่วนประกอบของน้ำเมือกและน้ำมัน เมื่อโดนแดดและลม น้ำจะถูกระเหยไป เมือกข้นมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีขี้ตาซึ่งมีลักษณะเป็นเมือกสีขาว หรือสีเหลืองนวลมากกว่าปกติ ผู้ป่วยที่ใส่คอนแทคเลนส์อยู่ ถ้ามีอาการตาแห้ง จะทำให้ระคายเคืองเพิ่มมากขึ้น บางครั้งผู้ป่วยจะมีอาการน้ำตาไหล สาเหตุเนื่องจากนน้ำตาปกติลดน้อยลง มีอาการระคายเคือง ทำให้ต่อมน้ำตาใหญ่ (Reflex Tear) บีบน้ำตาออกมามากจนล้นไหล จนถึงน้ำตาแห้งวนกลับมาอีก ถึงระดับที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง น้ำตาก็จะไหลออกมามาก อาการจะสลับกันเช่นนี้เป็นระยะๆ ไป
การรักษาโรคตาแห้ง
1. ลดการระเหยของน้ำตาให้น้อยลง เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดีคือ หลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงกับแดดและลม โดยสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง ไม่นั่งในที่ที่มีลมพัดหรือแอร์เป่าใส่หน้า
2. กระกระพริบตาถี่ๆ ในภาวะปกติคนเราจะกระพริบตานาทีละ 20 - 22 ครั้ง ทุกครั้งที่กระพริบตา เปลือกตาจะรีดผิวน้ำตาให้มาฉาบผิวกระจกตา แต่ถ้าในขณะที่จ้องหรือเพ่งตาจะลืมค้างไว้นานกว่าปกติ ทำให้กะรพริบตาเพียง 8 - 10 ครั้ง น้ำตาก็จะระเหยออกไปมาก ทำให้ตาแห้งเพิ่มขึ้นจึงควรพักสายตา โดยการหลับตา กระพรบตา หรือลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ ประมาณ 2 - 3 นาที ในทุกครึ่งชั่วโมง
3. สำหรับผู้ที่ตาแห้งมาก อาจใช้กรอบแว่นชนิดพิเศษที่มีแผ่นคลุมปิดกันลมด้านข้าง แว่นชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยครอบทั้งดวงตาและป้องกันลมด้วย หรือจะใช้แผ่นซิลิโคนชนิดพิเศษที่ใสบางและนุ่ม นำมาตัดให้เข้ากับด้านข้างของกรอบแว่นตาคู่เดิม ซึ่งเรียกว่า Moist Chamber
4. ใช้น้ำตาเทียม น้ำตาเทียมคือ ยาหยอดตาที่ใช้เพื่อหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นกับผู้ที่ตาแห้ง น้ำตาเทียมมี 2 ชนิดคือ
4.1 น้ำตาเทียมชนิดน้ำ - เหมาะที่จะใช้ในเวลากลางวัน เพราะไม่เหนียวเหนอะหนะ และไม่ทำให้ตามัว แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องหยอดตาบ่อย
4.2 น้ำตาเทียมชนิดเจลและขี้ผึ้ง - มีลักษณะเหนียวหนืด หล่อลื่นและคงความชุ่มชื้นได้นานกว่าชนิดน้ำ แต่จะทำให้ตามัวชั่วขณะหลังป้ายยา จึงควรใช้ป้ายตาแต่น้อยก่อนเข้านอน
การรักษาด้วยวิธีใช้น้ำตาเทียม เวลาในการหยอดตาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรง
ของอาการตาแห้ง หากวันใดไม่ถูกลม แล้วรู้สึกสบายตาก็ไม่จำเป็นต้องหยอด แต่ถ้ารู้สึกเคืองตามาก ก็หยอดบ่อยๆ ได้ตามต้องการ
ข้อควรระวังในการใช้น้ำตาเทียม
ผู้ป่วยที่ตาแห้งน้อย หยอดตาไม่กินวันละ 4 - 5 ครั้ง สามารถใช้ยาหยอดตาชนิกขวดที่มีสารกันบูดได้ กรณีผู้ป่วยที่ตาแห้งมาก และหยอดตามากกว่าวันละ 6 ครั้ง จักษุแพทย์จะสั่งน้ำตาเทียมชนิดพิเศษที่ไม่มีสารกันบูด (Preservative-Free Tear) ให้ใช้แทน ซึ่งมีข้อจำกัดก็คือ ยาจะบรรจุในหลอดเล็ก เมื่อเปิดใช้แล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 16 ชั่วโมง หากใช้นานกว่านี้ อาจะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค
5. การอุดรูระบายน้ำตา สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งอย่างรุนแรง จักษุแพทย์จะใช้วิธีอุดรูระบายน้ำตาเพื่อขังน้ำตาที่มีอยู่ให้หล่อเลี้ยงตาอยู่ได้นานๆ ไม่ปล่อยให้ไหลทิ้งไป เหมือนกับการสร้างเขื่อนกั้นเก็บกักน้ำไว้ใช้
วิธีและขั้นตอนในการอุดรูระบายน้ำตามี 2 วิธี คือ การอุดแบบชั่วคราว และการอุดแบบถาวร --- สำหรับการอุดแบบชั่วคราว จักษุแพทย์จะสอดคอลลาเจนขนาดเล็กเข้าไปในรูท่อน้ำตา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตาขึ้น โดยคอลลาเจนจะสลายไปเอง ภายใน 3 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาแห้งมาก จักษุแพทย์จะอุดรูระบายน้ำตาแบบถาวรให้ ทั้งนี้ จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ขอขอบคุณ : เอกสารเผยแพร่ ศูนย์เลสิคและรักษาสายตารัตนิน - กิมเบล
|
|
วันที่ 15 ม.ค. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,663 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,435 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,219 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,828 ครั้ง |
เปิดอ่าน 43,747 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,863 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,975 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,697 ครั้ง |
|
|