ไลเซนต์ Open Source ต่างกับไลเซนต์อื่นอย่างไร?
คำว่า "Open Source" หรือ "Free Software" ไม่เพียงพอสำหรับอธิบายไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปส่วนที่สำคัญของลิขสิทธิ์ (Copyright) จะอธิบายเกี่ยวกับสิทธิ์ในการทำสำเนา การแจกจ่าย และการดัดแปลง
- สำหรับไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สจะเน้นใน 2 ประเด็น คือ
- การยกเลิกค่าไลเซนต์ซอฟต์แวร์
- การให้ซอร์สโค้ดมาพร้อมกับซอฟต์แวร์
- สิ่งที่ทำให้ไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สแตกต่างจากไลเซนต์อื่นๆ ก็คือ หลักการของ "Copyleft" โดย Copyleft จะมีข้อจำกัดอยู่ว่า ถ้ามีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติมจากต้นฉบับ แล้วซอฟต์แวร์ตัวใหม่ต้องใช้ไลเซนต์เดียวกับต้นฉบับด้วย
- ไลเซนต์ Copyleft ที่สำคัญของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ก็คือ GPL
- Public Domain
- การกำหนดไลเซนต์เป็น "Public Domain" หมายถึง การยกเลิกลิขสิทธิ์ หรือ "Copyright"
- นิยามของ Public Domain อาจจะใช้ได้กับบางประเทศ เช่น อเมริกา แต่สำหรับบางประเทศเช่น เยอรมันจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าจะไปขัดกับ German right
- ในอเมริกาส่วนใหญ่จะใช้ไลเซนต์นี้กับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่ทางรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน ผู้ใช้ในอเมริกาจะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ และอนุญาตให้นำไปทำเป็น Commercial Domain ได้ด้วย
- Shareware
- จุดมุ่งหมายของ Shareware ก็คือ ความพยายามที่จะให้มีการนำเอาซอฟต์แวร์ไปใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Shareware จะให้เฉพาะไบนารีโค้ด และให้ใช้ซอฟต์เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เมื่อหมดเวลาทดลองใช้แล้ว ถ้าต้องการใช้ต่อก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- Freeware
- เป็นไลเซนต์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการใช้งาน และเป็นไปได้ที่จะอนุญาตให้เฉพาะส่วนตัว หรือที่ไม่ใช้ในทางธุรกิจ ส่วนใหญ่บริษัทจะใช้ Freeware ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์รอบๆ ข้าง เช่น ไมโครซอฟต์มี Internet Exploror เป็น Freeware เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการครองตลาด เป็นต้น
- ตัวอย่าง Freeware ที่ Open Directory Project
- GNU Public License (GPL)
- ผู้คิดค้นไลเซนต์ GPL คือ Richard Stallman ซึ่งอธิบายปรัญญาใน Free Software Foundation ไว้ว่า
- GPL ไม่มีข้อจำกัดในการทำสำเนา และการแจกจ่าย
- ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่จะใช้ไลเซนต์แบบ GPL ที่เด่นๆ ก็คือ ซอฟต์แวร์ในโครงการ GNU และระบบปฏิบัติการ Linux
- ผู้ใช้จะต้องสามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ง่าย ตัวไลเซนต์เองต้องนำไปใส่ไว้ในโปรแกรมด้วย
- จะต้องแสดงไลเซนต์ซอฟต์แวร์ขึ้นมาเมื่อเริ่มโปรแกรม
- จะอนุญาตให้แก้ไขซอฟต์แวร์ได้ ก็ต่อเมื่อมีการระบุว่าใครได้แก้ไขอะไร เมื่อไร
- อนุญาตให้สร้างโปรแกรมใหม่จากการแก้ไขซอฟต์แวร์ต้นฉบับ แต่มีเงื่อนไขว่าโปรแกรมจะต้องมีไลเซนต์แบบ GPL เท่านั้น ("Copyleft")
- จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Viral" effect เพราะว่าซอฟต์แวร์ที่รวมเอาซอฟต์แวร์ที่มีไลเซนต์เข้าไว้ด้วยกันต้องอยู่ภายใต้ไลเซนต์ที่คล้ายกับ GPL ไปด้วย
- ไลเซนต์แบบ "Copyleft" ไม่เหมาะกับการนำไปใช้ในทางธุรกิจ เพราะบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดของตัวเองด้วย ถ้าใช้ซอฟต์แวร์บางส่วนที่เป็น GPLในการพัฒนาซอฟต์แวร์
- GNU Lesser General Public License (LGPL)�
- เนื่องจากไลเซนต์แบบ GPL ค่อนข้างมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ องค์กรอิสระ Free Software Foundation (FSF) จึงได้พัฒนาไลเซนต์ LGPL
- LGPL อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ธุรกิจสามารถใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี โดยไม่มีข้อจำกัดเหมือนไลเซนต์แบบ GPL ซอฟต์แวร์ตัวแรกที่ใช้ไลเซนต์ LGPL คือ GNU C Library
ที่มา http://thaiopensource.org/wiki/index.php/FAQ