ความเครียดจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนเหล่านี้จะเพิ่มปริมาณความเข้มข้นมากขึ้นจนกว่าความเครียดจะหายไป ด้วยเหตุที่ร่างกายไม่สามารถแยกแยะชนิดของความเครียดได้ จึงหลั่ง ฮอร์โมนต่างๆ ออกมามากเกินไป ทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำ ฮอร์โมนต่อไปนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างกายหลั่งออกมาในปริมาณมาก เมื่อเกิดความเครียด
เอนดอร์ฟินส์ (Endorphins) ฮอร์โมนกลุ่มนี้จะถูกหลั่งออกจากต่อมพิทูอิทารี (ต่อมใต้สมอง) การหลั่งฮอร์โมนกลุ่มนี้ ออกมามากเกินไปจะทำให้ มีผลทำให้เกิดความผิดพลาดในการตอบสนองต่อความเจ็บปวดของร่างกาย
คอร์ติโซน (Cortisone) เป็นสารประกอบที่สังเคราะห์ขึ้นที่ภายในตับ การปล่อยให้มีการหลั่งคอร์ติโซนออกมาเป็นระยะเวลานานๆ จะมีผลทำให้อาหารและน้ำที่สำรองไว้ในร่างกายลดลงอย่างมาก
โปรแลคติน (Prolactin) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกจากต่อมพิทูอิทารี มีหน้าที่ช่วยการสร้างน้ำนมหลังการคลอดลูก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การหลั่งโปรแลกตินออกมาในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน สามารถก่อให้เกิดเนื้องอกในเต้านมของหนูทดลองได้ นักวิชาการทางการแพทย์บางรายเชื่อว่า ในกลุ่มผู้หญิงที่มีการหลั่งฮอร์โมนโปรแลกตินเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากภาวะขาดน้ำเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในเต้านม
วาโสเพรสซิน (Vasopressin) เป็นกลุ่มฮอรโมนที่หลั่งจากต่อมพิทูอิทารี มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรปันส่วนน้ำตามลำดับความสำคัญของอวัยวะ ในกรณีที่เกิดภาวะขาดน้ำ เซลล์ประสาทจะสร้างวาโสเพรสซินมากว่าเซลล์อื่นๆของร่างกาย
ความเครียด ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น คอเลสเตอรอลสูงขึ้น ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นเวลาเครียด ลองดื่มน้ำสักสองแก้ว แล้วคลายเครียดโดยการพักผ่อน หรือออกกำลังกาย ให้ออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เครียด จะทำให้ร่างกายผ่อนคลายได้ดีและสุขภาพดีขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก สนุกดอทคอม