Advertisement
สงสัยกันมาตั้งนานว่า บรรพบุรุษของคนบนดินแดนอังกฤษสร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมาทำไม ในที่สุด ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงและดนตรีจากมหาวิทยาลัยฮัดเดอร์ฟิลด์ค้นพบว่า แท่งหินมหึมาที่ตั้งตระหง่านเป็นวงกลมเหนือเนินดินสามารถสะท้อนเสียงได้อย่างวิเศษ
อย่างที่หลายคนพอรู้มาบ้างแล้วว่า สโตนเฮนจ์เป็นชุมนุมของผู้ศรัทธาทางศาสนาพิธีกรรมในสมัยก่อน เมื่อมาถึงแล้วก็ชักชวนกันร้องเพลงสวดสไตล์แซมบ้า และเจ้าแท่งหินขนาดใหญ่กลุ่มนี้สามารถสะท้อนเสียงเพลงสวดได้ดีเสียด้วยซิ เหมาะที่จะนั่งล้อมวงฟังมนตราแพร่พลังจิต
อันดับแรก รูเพิร์ต ทิล นักวิจัยชาวอังกฤษและเพื่อนร่วมทีมใช้คอมพิวเตอร์จำลองคาดการณ์รูปแบบของเสียงสะท้อน ด้วยอยากรู้ว่าถ้าสโตนเฮนจ์ยังคงสมบูรณ์แบบเหมือน 5,000 ปีที่แล้ว มันจะสะท้อนเสียงได้อย่างที่คิดหรือเปล่า แต่หากจะทดลองกับสภาพของสโตนเฮนจ์ในปัจจุบันซึ่งพังลงมาบางส่วนอาจทำให้การทดลองคลาดเคลื่อนได้
สุดท้ายเลยชวนกันเดินทางไปเยือนสโตนเฮนจ์จำลองขนาดเท่าของจริงที่เมย์ฮิลล์ กรุงวอชิงตัน ซึ่งจำลองไว้เป็นอนุสรณ์สงคราม และปรับปรุงให้หินทุกก้อนวางเรียงกันในสภาพสมบูรณ์ น่าจะช่วยให้ผลทดสอบด้านเสียงสมบูรณ์แบบกว่า
ทีมวิจัยใช้ซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์จำลองแบบ และการทดสอบกับแบบจำลองสโตนเฮนจ์ จนได้เสียงตัวอย่างที่คาดว่าน่าจะสะท้อนมาจากกลุ่มหิน เสียงสะท้อนที่ได้เหมือนจะบอกเป็นนัยว่า สถานที่แห่งนี้ต้องมีดนตรีบรรเลง นักวิจัยคาดว่าดนตรีที่เล่นกันบริเวณสโตนเฮนจ์คงเป็นเพลงที่มีจังหวะธรรมดาซ้ำๆ และให้สะท้อนก้องอยู่ในบริเวณนั้น
"จังหวะที่เล่นน่าจะเป็นจังหวะ 160 เคาะต่อนาที ค่อนข้างเร็ว มันน่าสนใจที่พวกเขาใช้เพลงจังหวะเร็วเหมือนแซมบ้าสำหรับเพลงสวด ถือเป็นจังหวะเร็วที่สุดสำหรับดนตรี และยังเป็นจังหวะเร็วที่สุดของการเต้นของหัวใจ เหมือนกับคนที่ออกกำลังกายมาอย่างหนัก หรือเต้นรำส่ายสะบัดเต็มที่" ทิล กล่าว
นักโบราณคดีทุ่มเถียงกันมานานแล้วว่า สโตนเฮนจ์ สถานที่ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่และยุคทองแดง ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายใดกันแน่ สุดท้ายเหลือสองทฤษฎีหลักที่เข้าเค้ามากที่สุด ทฤษฎีแรกคือใช้เป็นสถานที่รักษา อีกทฤษฎีเชื่อว่าเป็นที่เผาศพ ทั้งสองทฤษฎีล้วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทั้งสิ้น และพิธีกรรมส่วนใหญ่มักมีดนตรีประกอบเสมอ
เสกวัตถุลอยตัวด้วยควอนตัมฟิสิกส์
ไม่ใช่มายากลของเดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ แต่นักวิทยาศาสตร์สหรัฐพบวิธีบังคับวัตถุขนาดเล็กให้ "ลอยตัว" โดยอาศัยแรงมหัศจรรย์ของกลศาสตร์ควอนตัม และอาจเป็นกลวิธีนำมาใช้สร้างเครื่องจักรกลระดับนาโน
ทีมวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติในสหรัฐ ศึกษาแรงที่กระทำในระดับโมเลกุล โดยนำโมเลกุลที่ออกแรงผลักกันมาประกอบกัน แรงผลักที่เกิดขึ้นทำให้วัตถุลอยตัว และทำให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์จิ๋วเคลื่อนไหวโดยปราศจากแรงเสียดสีอย่างสิ้นเชิง
เฟเดอริโก คาปัสโซ นักฟิสิกส์ประยุกต์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แมสซาชูเซตส์ ตีพิมพ์งานวิจัยลงวารสารเนเจอร์ฉบับล่าสุด เชื่อว่า การค้นหาแรงรูปแบบดังกล่าว เปิดทางให้การพัฒนาอุปกรณ์จิ๋วชนิดใหม่
แม้ว่าทีมวิจัยยังไม่ได้ลงมือทดลองยกวัตถุลอยตัวให้เห็น อย่างน้อยตอนนี้พวกเขาก็ทราบวิธีปฏิบัติ และมั่นใจว่าสำเร็จแน่นอน การค้นพบดังกล่าวได้ยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว
"หากลดแรงเสียดสีที่เกิดจากการเคลื่อนไหว และลดการสึกหรอของชิ้นส่วนได้ มันจะเป็นเทคนิคใหม่ซึ่งว่ากันตามทฤษฎีแล้ว จะช่วยปรับปรุงการทำงานของเครื่องจักรกลขนาดเล็กระดับไมครอน หรือเล็กระดับโมเลกุลด้วยซ้ำ" ดร.ฮวน อเล็กซานเดอร์ จากสถาบันสุขภาพเด็กและมนุษย์ สังกัดสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (เอ็นไอเอช) กล่าว
เทคโนโลยีกลศาสตร์นาโนถูกจับตามองว่า เป็นเทคโนโลยีช่วยปรับปรุงงานวิจัยด้านการแพทย์ และสาขาอื่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโมเลกุล และการนำโมเลกุลมาประกอบกันเป็นพื้นฐานของการประดิษฐ์เครื่องจักรกลจิ๋ว เพื่อใช้งานด้านการผ่าตัด การผลิตอาหารและเชื้อเพลิง ตลอดจนยังช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลรวดเร็วขึ้น
เบื้องหลังการค้นพบดังกล่าว เกี่ยวข้องกับความรู้ด้าน "กลศาสตร์ฟิสิกส์" หรือกฎเกณฑ์ที่ควบคุมพฤติกรรมของอนุภาคขนาดเล็กที่สุดของสสาร
การค้นพบล่าสุดเป็นงานวิจัยต่อเนื่องจากสมัยที่คาปัสโซ เป็นรองประธานการวิจัยด้านฟิสิกส์ที่เบลล์แล็บ หน่วยวิจัยของบริษัท ลูเซนท์ เทคโนโลยี ซึ่งหลังจากควบรวมกิจการเปลี่ยนชื่อเป็น อัลคาเทล-ลูเซนท์
"มันเริ่มจากที่ผมลองคิดดูว่า จะเอาแรงในทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมที่น่าทึ่ง มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร" คาปัสโซ กล่าว
ก่อนหน้านั้น เบลล์แล็บพยายามหาวิธีพัฒนาอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่เรียกว่า เครื่องจักรจุลอิเล็กทรอนิกส์ หรือปัจจุบันรู้จักกันในวงการว่า "เมมส์" (MEMS) เป็นเทคโนโลยีที่ปรากฏอยู่ในเซ็นเซอร์ถุงลมนิรภัยของรถยนต์ เพื่อวัดระดับการลดความเร็วที่ผิดปกติของรถ ซึ่งอาจเกิดจากการชน เมมส์ยังใช้ประโยชน์ด้านอื่นอีกมากมาย เช่น เซ็นเซอร์วัดแรงดันโลหิตเส้นเลือดหัวใจ
เขารู้ดีว่า อุปกรณ์ในอนาคตจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนอาจตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า "แรงคาสซิเมียร์" เป็นแรงดึงดูดที่เกิดขึ้นเมื่อพื้นผิวโลหะขนาดเล็กสัมผัสกันใกล้ชิดมาก จนทำให้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวขยับไม่ได้ ต่อมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียพบว่า แรงดึงดูดที่เกิดขึ้นอาจพลิกกลับให้เป็นแรงผลักได้ หากนำสสารบางอย่างมาผสมเข้ากัน
ในการทดลอง คาปัสโซและทีมงาน จุ่มลูกโลหะชุบทองลงในของเหลวชนิดหนึ่ง และวัดแรงกระทำที่เกิดขึ้นขณะที่ลูกโลหะเริ่มดูดกับแผ่นโลหะที่เตรียมไว้ แต่เมื่อวางกับแผ่นซิลิก้ากลับผลักออก ซึ่งเขามีแผนทดลองทำให้ลูกโลหะลอยตัวไว้แล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก คม ชัด ลึก
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด
฿368 - ฿999https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 14,165 ครั้ง เปิดอ่าน 63,112 ครั้ง เปิดอ่าน 24,894 ครั้ง เปิดอ่าน 51,082 ครั้ง เปิดอ่าน 22,144 ครั้ง เปิดอ่าน 25,432 ครั้ง เปิดอ่าน 18,603 ครั้ง เปิดอ่าน 199,508 ครั้ง เปิดอ่าน 12,971 ครั้ง เปิดอ่าน 4,819 ครั้ง เปิดอ่าน 24,459 ครั้ง เปิดอ่าน 19,633 ครั้ง เปิดอ่าน 34,235 ครั้ง เปิดอ่าน 22,381 ครั้ง เปิดอ่าน 21,061 ครั้ง เปิดอ่าน 19,464 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 21,853 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,012 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,804 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 4,933 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,062 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,443 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,510 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 84,486 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,850 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,318 ครั้ง |
เปิดอ่าน 65,193 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,112 ครั้ง |
|
|