Advertisement
❝ บทบาทของครู ❞
บทบาทของครู
.....
บทบาทของครู
ความหมาย
บทบาทของครู หมายถึงภาระหน้าที่ที่ครูต้องรับผิดชอบ บทบาทของครูทั้งในอดีตและปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้คือ
1.1. บทบาทของครูในการเป็นผู้บริหาร
ครูอาจารย์ที่เป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาได้แก่ครูใหญ่อาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการซึ่งเปรียบเสมือนเฟืองจักรใหญ่ที่จะกำกับและควบคุมให้ครูผู้สอน
ซึ่งเป็นเฟืองจักรเล็กทำงานอย่างมีประสิทธิภาพผู้บริหารเป็นผู้นำสถาบันที่ควรต้องเป็นกลไกใหม่ในการจัดการศึกษา จัดบุคคลจัดสถานที่ จัดบริการต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปสู่เป้าหมายของหลักสูตรที่วางไว้ ฉะนั้น หลักต่าง ๆ ที่ควรจำไว้ปฏิบัติมีดังนี้
1. ต้องเป็นผู้บริหารที่เป็นหัวหน้าที่ดี มีประสิทธิภาพใช้ผู้ร่วมงานให้ได้ประโยชน์มาก ต้องเป็นผู้วางมาตรการในการทำงาน การผลิตได้สูง แต่ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาแตกต่างไปบ้าง ทำงานโดยคำนึงถึงความสำเร็จของงานรวมกับสัมพันธภาพ ผู้ร่วมงานดีเป็นแบบอย่างที่ดีทำให้ทุกคนร่วมงานกัน ร่วมมือกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรับผิดชอบสูงและมีวิธียั่วยุในการทำงาน
2. มีความสามารถในการสร้างแนวความคิดและความสมเหตุสมผล คือ สามารถรวมปัจจัย ข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่าง ๆ เข้าเป็นแรงความคิดอันหนึ่งอันเดียวกันได้
3. กล้าตัดสินใจ มองทะลุได้ และไม่หวั่นต่ออุปสรรค
4. การตัดสินใจที่ใช้ญาณหยั่งรู้ คือสามารถตัดสินใจฉับพลันได้ทันที แต่สุขุมรอบคอบละเอียดลึกซึ้ง
5. เป็นคนใจกว้าง สนใจและยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ รวมทั้งความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกับของผู้อื่น
6. มีความสามารถในการชักจูงผู้อื่นให้เห็นพ้องต้องกัน วิธีที่ดีที่สุดให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ในรูปแบบแผนที่เหมาะสม(ทองคำ ผดุงสุข, 2532 : น. 104 – 105)
1.2 บทบาทของครูในการเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาเยาวชน
โดยการให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียน ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพตามหลักสูตร ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญไม่ว่าจะจัดการสอนโดยวิธีใด ครูต้องมีการวางแผนและเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ไม่ละทิ้งเด็ก และมีการจัดกิจกรรมเสริม เพื่อให้เด็กเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น
นอกจากการสอนวิชาความรู้แล้ว ครูยังมีบทบาทในการสอนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม และมีความสุขตามควรแก่อัตภาพ
1.3 บทบาทของครูในการเป็นผู้นำด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
โดยการประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ มีศีลธรรม สุขภาพ มีความเมตตากรุณา เอื้ออาทรต่อความเป็นอยู่ของศิษย์ คอยช่วยเหลือเมื่อศิษย์มีปัญหา มีความอดทนและเสียสละ
1.4 บทบาทของครูในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การปกครอง
ด้านเศรษฐกิจ
ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และธุระกิจ ครูเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ โดยการให้ความรู้แก่นักเรียน และเน้นทักษะในการทำงานต่าง ๆ เพื่อนักเรียนจะได้มีความรู้ที่ได้มาตรฐานและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นครูควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ทำสวนครัว ปลูกผัก และไม้ดอก เป็นต้น ส่งเสริมให้เด็กรู้จักออมทรัพย์ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ชุมชน เพื่อให้เด็กนักเรียนและคนในชุมชนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ รู้จักหลักโภชนาการที่ถูกต้อง รู้จักการรักษาความสะอาดและรู้จักการวางแผนครอบครัว แนะนำอาชีพใหม่ ๆ ให้แก่ชุมชน พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมอาชีพดังกล่าว และส่งเสริมให้มีการผลิตและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการประกอบอาชีพของชุมชน เพื่อทำให้ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น แนะนำการใช้ปุ๋ย การผสมเทียมสัตว์ และการนำเครื่องมือเครื่องใช้มาช่วยด้านเกษตร เป็นต้น.
ด้านสังคม
ครูมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม โดยการให้ความรู้แก่คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความรู้วิชาสามัญหรือวิชาชีพก็ตาม เพราะจะทำให้คนในชุมชนมีพื้นฐานการศึกษาอันจะนำไปสู่ความรู้และความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นครูยังมีส่วนช่วยในการริเริ่ม ส่งเสริมและแนะนำในเรื่องการประกอบอาชีพ ความเป็นอยู่ และการพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี.
ด้านการเมืองการปกครอง
ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและระบบการเมืองการปกครองของประเทศ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาการเมืองการปกครอง ให้มีความมั่นคง โดยการให้ความรู้ในเรื่องระบบการปกครองของประเทศ โดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยแก่เด็กและคนในชุมชน สนับสนุนและฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักรูปแบบการปกครองประเทศ โดยให้มีการจัดตั้งสภานักเรียน การเลือกหัวหน้าชั้น เป็นต้น นอกจากนั้นครูยังช่วยแนะนำประชาชนในเรื่องการเลือกตั้งผู้แทนในระดับต่าง ๆ อย่างถูกต้อง
1.5 บทบาทของครูในการช่วยส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม
โดยการช่วยทะนุบำรุงรักษาพระศาสนาให้มีความมั่นคงควบคู่กับสถาบันชาติและพระมหากษัตริย์ มีความเลื่อมใสและศรัทธาในศาสนาที่นับถือ ปฏิบัติตามหลักธรรมและปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ
นอกจากนั้นครูจะต้องช่วยส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมของชาติให้มั่นคง ถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามให้แก่เด็ก ช่วยกันจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและส่งเสริมให้มีการจัดห้องวัฒนธรรมในโรงเรียน
1.6 บทบาทของครูในการพัฒนาประเทศ
คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา ได้กล่าวถึงบทบาทของครูในการพัฒนาประเทศว่า (คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา,2535 : 188 - 190)ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับสูง มีการจัดการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติซึ่งเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ นับเป็นแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติระยะที่ 7 (พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ. 2539) การดำเนินการพัฒนาการศึกษาในแต่ละแผนได้มีการประเมินผลเพื่อใช้ในการปรับปรุงปฏิบัติงานในระยะต่อมาโดยตลอดปัญหาทางการศึกษาที่ผ่านมาเป็นเรื่องของปริมาณการศึกษา คือ เยาวชนของประเทศยังขาดโอกาสทางการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่จะช่วยให้พลเมืองส่วนใหญ่มีคุณภาพหนทางแก้ปัญหาส่วนหนึ่งได้มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 3539) ได้กำหนดวัตถุ-ประสงค์ และนโยบายในระดับประถมศึกษาที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่จบประถมศึกษาได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือได้รับการศึกษาต่อเนื่องในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2534) กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินงานตามนโยบายนี้โดยการจัดทำโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 3 ปี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2534และมีเป้าหมายที่จะดำเนินการให้ครบทุกโรงเรียนในปีการศึกษา 2540 ตามหลักการนี้รัฐจะต้องเพิ่มปริมาณสถานศึกษาต้องสนับสนุนงบประมาณวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา เพิ่มครูทั้งปริมาณและคุณภาพ
การประถมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมและสำหรับเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้นรัฐได้กำหนดไว้ว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับและเป็นภาระผูกพันของรัฐที่จะต้องดำเนินการให้ประชากรในวัยเรียนได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2526 :1)การที่จะพัฒนาการศึกษาโดยส่วนรวมให้มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพเป็นลำดับแรก อันจะส่งผลไปยังการศึกษาระดับอื่น ๆ หรือการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพด้วย
ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนเนื่องจากครูเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาติดต่อสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองโดยตรงครูจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนและเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆในทิศทางที่พึงประสงค์แก่ท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่โดยเฉพาะครูประถมศึกษาซึ่งมีจำนวนมากที่สุดและใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดครูเป็นผู้มีความรู้สูงเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่ว ๆ ไปในสังคมชนบท สุเทพ เชาวลิต (2524 : 7 ) ได้ระบุถึงบทบาทของครูในเขตชนบทว่า ครูเป็นผู้นำชนบทที่สำคัญ เป็นผู้ที่มีความรู้ แจ้งข่าวสารต่าง ๆ แก่ชาวบ้านได้ ชาวบ้านเดือดร้อนมักมาหาครูขอคำปรึกษา ครูจึงเป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน นอกจากนี้(เมธี ปิลันธนานนท์, 2524 : 31 – 34 ) ได้ระบุถึงบทบาทของครูกับการพัฒนาชนบทยากจนได้ว่า ครูที่ทำงานชนบทยากจนมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความเสียสละ อดทนพากเพียรและมีกุศลจิตดังนั้นครูจะต้องเป็นตัวอย่างในด้านการมีบทบาทในการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนและช่วยพัฒนาชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ยากจน นอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียน ครูจึงควรจะมีบทบาทพัฒนาชุมชนในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และอาชีพ สังคมและวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย และการเมืองการปกครอง
การพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษาถือว่าเป็นบทบาทโดยตรงของครู เพราะการให้การศึกษา เป็นหน้าที่โดยตรงสำหรับคนที่มีวิชาชีพครูจะกระทำได้ โดยการพยายามใช้ความรู้ความสามารถและใช้ประโยชน์จากวัสดุและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชนแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน ครูอาจทำได้ดังนี้คือ
1.จัดหลักสูตรการเรียนการสอน พยายามเน้นหนักในด้านแก้ปัญหาและสนองความต้องการของท้องถิ่น
2.การจัดการศึกษามุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ๆ(ชนิตา รักษ์พลเมือง, 2526 : 168)
3. ปรับปรุงโรงเรียนเป็นศูนย์ประสานงานบริการด้านวิชาการ และข่าวสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2527 : 26 )
ครูซึ่งมีจำนวนมากและกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านการศึกษาให้มีส่วนในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
สรุป การศึกษาเป็นกลยุทธอย่างหนึ่ง ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการลงทุนทางการศึกษาของมนุษย์ก็เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่า และคุณภาพของมนุษย์ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไปการผลิตผู้ที่มีการศึกษาเป็นการผลิตกำลังคนเพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตกำลังคนที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังนั้นแนวโน้มการผลิตผู้มีการศึกษาในอนาคตจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นสำคัญ.
วันที่ 8 ม.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,548 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,180 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,182 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 45,200 ครั้ง |
เปิดอ่าน 99,745 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,588 ครั้ง |
เปิดอ่าน 97,124 ครั้ง |
เปิดอ่าน 172,974 ครั้ง |
|
|