ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปรับโครงสร้างเขตพื้นที่การศึกษา...ต้องเพื่อเด็ก


ข่าวการศึกษา เปิดอ่าน : 23,465 ครั้ง
Advertisement

ปรับโครงสร้างเขตพื้นที่การศึกษา...ต้องเพื่อเด็ก

Advertisement

ตามที่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กำหนดรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไปนั้น แต่เมื่อหันกลับมาดูประเทศไทยแล้วยังดูจะขาดความพร้อมในอีกหลายด้าน โดยเฉพาะคุณภาพของบุคลากรที่ดูเหมือนจะไล่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ทัน ทั้งที่หากเทียบด้านศักยภาพและทักษะของคนในชาติกันแล้วประเทศไทยน่าจะมีคุณภาพเหนือกว่า แต่ด้วยวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาเท่าที่ผ่านมายังขาดประสิทธิภาพ หรือดำเนินการไม่ตรงจุดทำให้ศักยภาพความสามารถที่มีอยู่ในตัวเด็กไม่ได้ถูกเค้นนำออกมาพัฒนาส่งเสริมกันอย่างจริงจัง แถมปล่อยให้ปัญหาในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหมักหมมมาอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าได้มีการคิดแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษามาแล้วกว่า 10 ปี และนำมาปรับปฏิรูปรอบ 2 กันใหม่อีกครั้งแล้วก็ตาม แต่คุณภาพการศึกษาก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าที่น่าจะเป็น ซึ่งส่วนนี้คงจะโทษว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมาไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะสิ่งที่กฎหมายการศึกษากำหนดขึ้นทั้งหลักการและวิธีการล้วนเป็นแนวทางที่ดีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างที่ให้มีการยุบรวมหน่วยงานส่วนกลางที่มีมากถึง 14 กรม ให้เหลือเพียงแค่ 5 แท่ง เพื่อให้หน่วยงานส่วนกลางเกิดเอกภาพมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้านการนโยบาย สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผล ไม่ใช่เป็นผู้คิด สั่งการ รวมถึงปฏิบัติเองอย่างที่ผ่านมา หน่วยงานส่วนกลางจึงต้องมีขนาดเล็กลง โดยจะไปให้ความสำคัญกับระดับภูมิภาคที่เป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่จะต้องมีขนาดใหญ่ อำนาจต้องเทียบเท่ากรม ส่วนโรงเรียนก็ต้องเป็นนิติบุคคล เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการบริหาร จัดการให้เป็นไปตามบริบทและความต้องการของท้องถิ่น

แต่พอดำเนินการเข้าจริงหน่วยงานส่วนกลางกลับไม่ยอมผ่องถ่ายอำนาจ แถมยังเพิ่มขนาดทั้งหน่วยงานและปริมาณงานมากขึ้น จึงทำให้เขตพื้นที่การศึกษาทำได้แค่ปฏิบัติตามหน่วยเหนือ ทำงานธุรการเป็นไปรษณีย์เชื่อมต่อ ระหว่างหน่วยเหนือกับโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ผลลัพธ์จากการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมาจึงได้แค่โครงสร้างที่ทำให้ผู้บริหารจำนวนหนึ่งได้ตำแหน่งและซีที่สูงขึ้น แต่สำหรับคุณภาพการศึกษาของเด็กแล้วกลับไม่กระเตื้องขึ้นแต่อย่างใด ส่วนนี้จึงน่าจะเป็นคำตอบได้อย่างชัดเจนแล้วว่า โครงสร้างของหน่วยงานไม่ว่าจะมีจำนวนมาก น้อยหรือขนาดใหญ่ เล็กก็ตาม หากไม่ปฏิบัติตามหลักการ วิธีการที่กำหนดไว้ คุณภาพการศึกษาก็คงไม่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพเด็ก ที่มีอยู่มากมายก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครูขาดแคลน ที่ทุกฝ่ายบอกว่ารับรู้แล้วว่าปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากโรงเรียนขาดครูที่ไม่พอสอนครบทุกวิชา หรือไม่พอสอนครบชั้น แต่มาจนถึงบัดนี้ โรงเรียนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กก็ยังขาดแคลนครูอยู่อย่างมากมายเช่นเดิม

ปํญหาด้านคุณภาพของครูและผู้บริหาร ที่ปัจจุบันนี้คงต้องยอมรับความจริงกันว่ายังมีครูและผู้บริหารสถานศึกษาจำนวนไม่น้อยขาดคุณภาพ ยังไม่เป็นครูหรือผู้บริหารมืออาชีพด้วยด้อยทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจในวิทยาการใหม่ ๆ
ขาดความเข้าใจและไม่ให้ความสำคัญหลักสูตรสถานศึกษากับการนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อให้บรรลุผลตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างจริงจัง ผู้บริหารขาดประสิทธิภาพ การบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนา ครูยังไม่ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้ทันยุคทันเหตุการณ์ รวมถึง การขาดซึ่งอุดมการณ์และจรรยาบรรณในวิชาชีพครู ทำให้ความมุ่งมั่นทุ่มเทกับการแก้ปัญหาและพัฒนาเกิดขึ้นไม่เต็มที่ เต็มเวลา เต็มความสามารถที่มีอยู่อย่างแท้จริง

ปัญหาด้านนโยบายการจัดการศึกษาที่ขาดประสิทธิภาพ โดยส่วนใหญ่เป็นนโยบายรายบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไม่สอดคล้องกับแผนการศึกษาชาติ และแผนพัฒนาด้านอื่น ๆ ของประเทศ เมื่อนโยบายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาการดำเนินงานของภาคปฏิบัติจึงทำขึ้นเพื่อให้มีไว้ตรวจสอบและรายงานผลให้หน่วยเหนือทราบมากกว่าที่จะนำไปพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง

ปัญหาต่อมาก็คงเป็นงานที่ทำเพื่อสนองภารกิจของหน่วยงานที่เกิดขึ้นตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)ที่ได้มีการวัดประเมินผลกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการวัดและประเมินผลที่ว่านี้ก็ใช้หลักเกณฑ์และเนื้อหาเป็นไม้บรรทัดเดียวกันทั้งประเทศ โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบท ความต้องการของผู้เรียน ของท้องถิ่น หรือความพร้อมในการจัดการศึกษาในแต่ละพื้นที่ และเมื่อได้ผลพบอุปสรรคปัญหาใดแล้วก็ไม่ได้ช่วยเหลือแก้ไข เมื่อปัญหาเก่ายังไม่ได้รับการแก้ไข การประเมินและวัดผลครั้งใหม่ก็ยังดำเนินการต่อไปอีก ปัญหาซ้ำ ๆ จึงเกิดขึ้นเป็นวัฏจักรกลับมาให้วิพากษ์วิจารณ์กันเช่นเดิมอีก ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้นอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาแล้วยังเป็นการเพิ่มงานเอกสารและธุรการให้กับครูอีกจำนวนมาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนลดลง รวมถึงพลอยทำให้ครูจำนวนหนึ่งหลงทางกับการพัฒนาเด็กเพราะแทนที่จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กตามศักยภาพที่มีอยู่กลับไปมุ่งเป้าพัฒนาสนองกับวิธีการประเมินและวัดผลด้วยวิธีการที่กล่าวมา

ซึ่งปัญหาการจัดการศึกษาของไทยยังมีประเด็นยิบย่อยอีกไม่น้อยที่เข้ามารบกวนเวลาการสอนของครู อย่างกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดและนอกสังกัดกำหนดโครงการ กิจกรรม ส่งไปให้โรงเรียนดำเนินการ โดยลืมนึกถึงความเป็นจริงว่าครูมีหน้าที่สอนเด็กไม่ใช่เป็นบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องมารองรับงานที่เจ้าหน้าที่ส่วนกลางคิดให้ปฏิบัติ แถมที่หนักสุดก็คือ ต้องรายงานให้ทราบอย่างเร่งด่วนอย่างที่เห็นกันอยู่ ดังนั้นหากหวังต้องการพัฒนาเด็กให้เกิดคุณภาพเต็มตามศักยภาพและมีความพร้อมที่จะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีศักดิ์ศรีแล้วก็ขอให้ครูได้ทำหน้าที่สอน ศึกษานิเทศก์ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ร่วมกับครูพากันทำ ผู้บริหารสถานศึกษาได้บริหารจัดการเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งแก้ปัญหาที่ได้นำเสนอในเบื้องต้นให้ได้ก็เชื่อว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กดีขึ้นมากกว่าที่จะไปคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไข อยู่กับโครงสร้างเพียงอย่างเดียว

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องมีการปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จากที่มีอยู่ 42 แห่งให้ครบทุกจังหวัดกันอีกก็ขอให้ทำเพื่อคุณภาพการศึกษาของเด็กอย่างแท้จริงไม่ใช่มีผลประโยชน์อื่นเกี่ยวกับอำนาจ ตำแหน่งและซี แอบแฝงอยู่ อย่างที่ผ่านมา และที่สำคัญในการคิดปรับโครงสร้างใหม่ครั้งนี้ก็ควรคิดอย่างเป็นระบบเพราะหากคิดเพิ่มแต่ สพม. อย่างเดียว คิดว่าปัญหาคงไม่จบ เพราะแค่แนวคิดนี้ออกมาก็มีฝ่ายประถมศึกษาบางส่วนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยแล้ว เพราะเกรงว่าอำนาจในส่วนที่เป็นคณะกรรมการต่าง ๆ จะต้องถูกยกเลิกไป ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ยังไม่ได้นึกห่วงเด็กอยู่ดี หรือไม่อีกหน่อยก็คงออกมาเรียกร้องให้เกิดหน่วยงานต้นสังกัดแยกออกเป็น

กรมประถมและกรมมัธยมกันอีก ด้วยบริบทของการพัฒนาเด็กในแต่ละระดับไม่เหมือนกัน ซึ่งแนวคิดการแยกประถมและมัธยมใน สพฐ. ปัจจุบันก็เริ่มมีให้เห็นกันแล้วที่มีการตั้งสำนักมัธยมและสำนักประถมศึกษาเกิดขึ้นเมื่อต้องมีการปรับในระดับเขตพื้นที่การศึกษาก็น่าจะถือโอกาสปรับโครงสร้างในส่วนกลางไปในคราวเดียวกันเลย โดยให้มีสำนักงานที่เทียบเท่ากรมเกิดขึ้นใน สพฐ. สัก 3 สำนัก คือ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการมัธยมศึกษาและสำนักบริหารงานวิชาการเช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา ที่มีหน่วยงานทั้ง กศน. สช. และ ก.ค.ศ. เทียบเท่ากรมอยู่ในสังกัด เพื่อให้การบริหารจัดการสอดคล้องกับการพัฒนาเด็กในแต่ละระดับมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อคิดถอยหลังลงคลองกันแล้วก็น่าจะทำกันตั้งแต่วันนี้ดีกว่าปล่อยให้เสียเวลาไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยมาคิดทำกันในภายหลัง หากคิดจะทำแล้วก็อย่ามัวเขินอายว่าจะต้องหันกลับไปใช้ของเก่า เมื่อรู้ว่าเดินหน้าไปแล้วผิดพลาดสู้ยอมถอยหลังมาตั้งหลักใหม่คงไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่ถ้าเดินหน้าไปแล้วเกิดความผิดพลาดผู้ที่ได้ประโยชน์กลับเป็นผู้ใหญ่แต่เด็กไม่ได้รับประโยชน์อย่างนี้สิน่าอายกว่า.

กลิ่น สระทองเนียม

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2554


ปรับโครงสร้างเขตพื้นที่การศึกษา...ต้องเพื่อเด็ก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2567

การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 3,046 ☕ 5 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 493 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 666 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 760 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,354 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 2,051 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 948 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

5 สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ
5 สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ
เปิดอ่าน 17,069 ครั้ง

วิธีดูว่าไข่เน่าหรือไม่
วิธีดูว่าไข่เน่าหรือไม่
เปิดอ่าน 30,806 ครั้ง

“เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่" ของขวัญปีใหม่ของพ่อแม่
“เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่" ของขวัญปีใหม่ของพ่อแม่
เปิดอ่าน 13,430 ครั้ง

ADSL Technology
ADSL Technology
เปิดอ่าน 15,606 ครั้ง

Download เอกสาร " แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน " ของ สพฐ.
Download เอกสาร " แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน " ของ สพฐ.
เปิดอ่าน 13,286 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ