Advertisement
หลายคนอาจคิดว่าการทำงานเสี่ยงภัยแบบผู้ใช้แรงงาน เช่น งานก่อสร้าง คนเช็ดกระจกบนตึกสูง ตำรวจจราจรกลางสี่แยก พนักงานดับเพลิง เสี่ยงต่อชีวิต และอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด แต่คุณอาจจะแปลกใจเป็นอย่างมากถ้าได้รู้ว่า การเป็นผู้บริหารในองค์กรขนาดใหญ่ก็เสี่ยงอันตรายไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับสภาวะความเครียดจากการทำงาน มนุษย์เงินเดือนทั่วๆ ไปที่แบกความเครียดไว้มากๆ นั่นก็เสี่ยงต่อสุขภาพเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจไม่เป็นใจกับคนทำงานที่สถานการณ์ไม่ค่อยดี
|
|
ความเครียด คือ ฆาตกรเงียบ
ความเครียดคือการตอบสนองทางธรรมชาติของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อต้องพบเจอกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่กดดัน หากมองในแง่ดีความเครียดช่วยให้รู้สึกตื่นตัว และรู้จักวางแผนจัดการชีวิตล่วงหน้า โดยเฉพาะมุมมองของนักบริหาร
ความเครียดของพนักงาน คือ งานที่เพิ่มขึ้นหรือยากขึ้นหรือยากขึ้น หากไม่เครียดเลยงานอาจจะดูน่าเบื่อ แต่หากเครียดมากเกินไปก็จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพขั้นร้ายแรงได้เหมือนกัน
หากต้องอยู่ในสถานการณ์ที่กดดันสมอง จะสั่งการให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ ที่เรียกว่าอาการสู้หรือถอย สมองจะสั่งการไปยังระบบประสาททำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วและหายใจถี่ขึ้น กรดไขมันจะพุ่งสูงเพื่อทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังที่จะจัดการกับปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียด ยิ่งเครียดมากประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาจะลดลง ดังนั้นความเครียดจะเริ่มสะสมมากขึ้นและก่อให้เกิดพฤติกรรมตอบสนองที่อาจทำร้ายร่างกายได้หลายแบบ
|
|
อาการของคนเครียด
1. น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว
2. ปวดศีรษะ
3. มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
4. ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น
5. ความต้องการทางเพศลดลง
6. นอนไม่หลับ
7. หงุดหงิดง่าย มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบตัว
8. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
|
|
อันตรายระยะยาว
ในรายที่อาการไม่รุนแรงมาก ความเครียดที่มีต่อร่างกายสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต แม้ความเครียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่งานวิจัยทางการแพทย์ต่างบ่งชี้ตรงกัน ว่าความเครียดสามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง แผลในเนื้อเยื่ออ่อน เบาหวาน สายตาเสื่อม ไมเกรน และอื่นๆ
นอกจากนี้ความเครียดยังนำไปสู่พฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น การบริโภคที่ไม่ถูกต้อง นอนหลับไม่เป็นเวลา ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต และมีปัญหาซึมเศร้าตามมา
|
|
กุญแจไขความเครียด
ปัจจุบันยังไม่มียาวิเศษเพื่อรักษาความเครียดได้ แต่ถ้าคุณใช้วิการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะเป็นกุญแจสำคัญ 3 ประการ ที่จะช่วยให้สุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็ช่วยลดความเสี่ยงของภัยร้ายที่เกิดจากความเครียดได้ก่อนที่จะบานปลายไปถึงขั้นรุนแรง
นอกจากนี้ ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ระบบชีวิตดีขึ้น เช่น หากต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมงจนเกิดความเครียดสะสมกดดันสูงก็ต้องหาเวลาหยุดพัก และเลิกหอบงานกลับไปทำที่บ้านเสีย หัวใจสำคัญอีกประการในการลดความเครียดและความเสี่ยงที่เกิดความเครียดน้อยลง ดังนั้นหากคุณอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็ควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอแม้จะสบายดีอยู่ก็ตาม อย่าลืมที่จะตรวจร่างกายให้ละเอียดมากขึ้นสัก 2-3 ปีครั้ง เช่น การตรวจเลือดและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสุขภาพหัวใจ เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด หรือถ้ารู้สึกเครียดกว่าเดิมอาจพบจิตแพทย์ที่จะช่วยหาวิธีการรับมือกับปัญหาที่สร้างความเครียดที่รุนแรงกับคุณได้
การออกกำลังกายแบบที่ให้ความสนุกสนานกระปรี้กระเปร่าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยปรับสมดุลทางอารมณ์ ช่วยให้รู้สึกแจ่มใสและมีพละกำลังมากขึ้น หรือจะมีกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิหรือฝึกโยคะ ไทชิ ก็จะช่วยลดระดับความเครียดของคุณลงได้อย่างมาก เช่นเดียวกับการช่วยปรับอารมณ์ให้สมดุลขึ้น การฝึกปฏิบัติเพื่อความผ่อนคลายเหล่านี้ได้พิสูจน์ให้เห็นมามากแล้วว่า จิตใจคือพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการขับไล่ความเครียด ดังนั้นฝึกตัวเองให้มองโลกในแง่ดี เข้าใจ รู้จักปล่อยวาง และให้อภัยให้มากขึ้น อย่าใส่ใจกับเรื่องกวนใจเล็กๆ น้อยๆ มีอารมณ์ขันให้มากขึ้น จำไว้ว่าเราจะเลือกรับหรือปฏิเสธความเครียดได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ตาม ที่ทำงานล้วนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกับคุณได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงงานกลางแจ้ง หรือนั่งทำงานแอร์เย็นฉ่ำในสำนักงานก็ตามที เพราะในที่ทำงานก็ล้วนมีอุปกรณ์การทำงานมากมาย รวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ต้องก้าวตามให้ทัน ด้วยอุปกรณ์เหล่านั้นอาจสร้างปัญหาและคุกคามสุขภาพของหนุ่มสาวชาวสำนักงานได้แล้ว อะไรที่เป็นก่อเกิดต่อปัญหาสุขภาพของคุณ
|
|
ภัยร้ายในที่ทำงาน
1. ภัยจากเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทำงานที่บ่งบอกความทันสมัยและช่วยจัดระบบการทำงาน แต่ขณะเดียวกันก็ยังแฝงอันตรายต่อสุขภาพเอาไว้ด้วย โดยเฉพาะพนักงานที่ใช้เวลากว่าครึ่งหนึ่งของวันหมดไปกับการเคาะแป้นและจ้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยอาจทำให้เกิดอาการ Repetitive Strain Injury (RSI) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำกิจกรรมใดๆ ที่ซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ อันเป็นผลจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอักเสบ บางรายอาจมีอาการชาร่วมด้วย จากการที่เส้นประสาทได้รับความเสียหาย เช่น เส้นประสาทที่อยู่ที่ข้อศอกและข้อมือถูกกดทับ หรือถูกบีบรัด อาการเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของมือ จะรู้สึกปวดเมื่อยเมื่อต้องขยับมือ การป้องกันโรค RSI นั้นไม่ยาก เพียงลุกขึ้นและขยับตัวบ่อยๆ หยุดพักใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นระยะๆ ทุกหนึ่งชั่วโมงหรืออาจออกไปเดินยืดเส้นยืดสายเสียบ้างจะช่วยลดอาการได้ดี ขณะเดียวกันการนั่งให้ถูกท่าถูกทางก็ช่วยลดอาการได้ คือต้องนั่งหลังตรง ข้อมือแนบตัว โต๊ะ แทนที่จะยกขึ้น รวมทั้งการออกกำลังกายอวัยวะนั้นๆ อย่างถูกวิธี คือ ยืดคลายกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ใช้เจลบรรเทาอาการปวดเมื่อย กินยาแก้อักเสบ และปรึกษาแพทย์ ถ้ายังไม่ดีขึ้น
2. ภัยจากความเครียด ความเครียดทำร้ายคนทำงานได้ทั้งร่างกายและจิตใจ ความเครียดอาจเกิดจากการทำงานหนักเกินไป ขัดแย้งกับเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงกลัวตกงาน อาการเริ่มแรกของความเครียดเกิดได้ตั้งแต่ปวดหัว นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ ท้องเสีย ขาดความกระตือรือร้น หดหู่ ซึมเศร้า หากปล่อยไว้นานๆ ความเครียดจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ระบบย่อยอาหาร มีปัญหาไมเกรน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ระดับภูมิคุ้มกันต่ำ วิธีการขจัดความเครียดที่ได้ผลดีที่สุดก็คือ การเผชิญหน้ากับปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดนั่นเอง หากคุณทำงานหนักเกินไป ก็ควรลดชั่วโมงการทำงานลงและลาพักร้อนเสียบ้าง หากเครียดกับปัญหาเพื่อนร่วมงาน ก็ให้ลองเปิดใจคุยกันเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา ดูแลร่างกายให้แข็งแรงไม่ปล่อยให้โทรมจากความเครียด
3. ภัยทางสายตา การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนักหรือใช้อย่างผิดวิธีสามารถทำร้ายดวงตาของคุณได้ เพราะการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เป็นการสร้างความเครียดให้กับดวงตา ทำให้ปวดศีรษะ คอ หลังและทำให้สายตาที่มีปัญหาอยู่แล้วแย่ลงไปจากเดิม ทั้งนี้จักษุแพทย์แนะนำให้นั่งห่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์สุดช่วงความยาวแขน เพราะการนั่งใกล้หน้าจอเกินไปจะทำให้ตาทำงานหนักขึ้น และพยายามพักสายตาให้มากที่สุด คืออย่างน้อย 20 วินาที ทุก 30 นาที ด้วยการทอดสายตามองออกไปไกลๆ เพื่อที่ว่ากล้ามเนื้อตาจะได้พักผ่อนบ้าง
4.โภชนาการที่ไม่ดีพอ หน้าที่การทำงานที่กดดันและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ทำให้คนทำงานหลายคนรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ มองข้ามการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพที่ร่างกายควรจะได้รับ ซึ่งเป็นปัญหาของมนุษย์ทำงานโดยส่วนใหญ่ เช่น ดื่มกาแฟมากเกินไป รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รับประทานไม่ครบมื้อ รับประทานของจุกจิกที่ไม่มีประโยชน์ ลดน้ำหนักอย่างไม่ถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญ พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพตามมา ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน หมดเรี่ยวแรงและขาดสมาธิ การได้รับกาเฟอีนเกินไปไม่ส่งผลดีกับร่างกาย ภูมิคุ้มกันร่างกายตกต่ำ ทำให้ทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีนั้นต้องอาศัยความพยายามอยู่ไม่น้อย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เช่น ให้ความสำคัญกับมื้อเช้า เพราะมื้อเช้าสำคัญที่สุดกับร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ลดการดื่มกาแฟลง เปลี่ยนเป็นน้ำผลไม้หรือน้ำเปล่า หาของว่างที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้
5. สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ถ้าโต๊ะทำงานอยู่ใกล้เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพรินเตอร์ เครื่องรับส่งเอกสาร ใกล้ทางเดินเข้าห้องครัวหรือห้องน้ำ เหล่านี้เป็นตัวการเกิดมลพิษ เช่น ฝุ่นละอองจากเครื่องพิมพ์ กลิ่นเหม็นจากหมึกพิมพ์ แสงจากเครื่องถ่ายเอกสาร สารเคมีที่เป็นอันตราย วัสดุมีพิษที่ลอยอยู่ในอากาศ กลิ่น อุณหภูมิ ความสว่างมากเกินไป เสียงรบกวน
สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืด เคืองตา ปัญหาการหายใจ อ่อนเพลีย พยายามหลีกเลี่ยงอุปกรณ์เหล่านี้ หรือนั่งให้ห่างที่สุด หาต้นไม้ดอกไม้เล็กๆ มาไว้บนโต๊ะทำงานเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้น่ารื่นรมย์มากขึ้น รู้กันแล้วก็พยายามหลีกเลี่ยงหรือพักสั้นๆ เป็นระยะเมื่อทำงานไปได้สักพัก เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง
|
|
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
|
|
วันที่ 8 ม.ค. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,350 ครั้ง เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,213 ครั้ง เปิดอ่าน 7,345 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,266 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 18,390 ครั้ง |
เปิดอ่าน 90,528 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,275 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,098 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,143 ครั้ง |
|
|