Advertisement
พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีดินเหนียวอ่อนเป็นดินฐานราก วางกระสอบทรายไม่ถูกวิธีคันอาจยุบตัว และแนะนำของจำเป็น 9 อย่างที่ควรมีในถุงยังชีพ
ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเป็นเขตที่มีดินเหนียวอ่อนเป็นดินฐานราก การสร้างคันดินหรือกองกระสอบทรายสูงเกิน 3 เมตรจะเสี่ยงทำให้คันกั้นน้ำยุบตัวลง “ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์” อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะนำหลักการสร้างคันกระสอบทรายกั้นน้ำดังนี้
1)ควรกั้นกระสอบทรายสูงไม่เกิน 3 เมตร และควรวางกระสอบทรายเป็นฐานกว้าง ขนาดความกว้างฐานต่อความสูง 4:1 เช่น ฐานกว้าง 4 เมตร วางกระสอบทรายสูง 1 เมตร
2)หากจะวางกระสอบทรายสูงเกิน 3 เมตร ควรใช้เสาเข็มไม้ยาว 3-6 เมตร กดลงไปเป็นฐาน แล้วจึงวางกระสอบทรายแทรกรอบหัวเข็มเป็นฐาน ก่อนจะวางกระสอบทรายทับ
3)ไม่ควรวางกระสอบทรายสูงในแนวดิ่งตรง แต่ควรวางให้มีความเอียงเป็นรูปสามเหลี่ยมพิรามิด โดยวางลาดเป็นอัตราส่วนความสูงต่อระยะราบเท่ากับ 1:2
4)หากต้องการให้กำแพงกระสอบทรายแข็งแรง ควรผสมปูนซีเมนต์ในทราย อัตราส่วนทรายต่อปูน 6:1 คือผสมทราย 6 ส่วนกับปูน 1 ส่วน ก่อนบรรจุลงในถุง จะช่วยให้กระสอบทรายมีความแข็งแรงและเมื่อถุงกระสอบทรายยุ่ย ทรายจะไม่ไหลออก
สำหรับข้อควรรู้เกี่ยวกับการสร้างคันกระสอบทรายกั้นน้ำ
1)กระสอบทรายที่ทำจากพลาสติกจะยุ่ยและสลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงอาทิตย์ ทำให้ถุงทรายมีโอกาสแตกได้สูงหลังการใช้ 1 อาทิตย์
2)ไม่ควรสูบน้ำด้านที่อยู่ภายในคันกั้นน้ำออกจนแห้ง เพราะจะทำให้ระดับน้ำภายนอกกับภายในต่างกันอย่างมาก คันกระสอบทรายอาจพังทลาย จึงควรให้มีน้ำท่วมขังภายในบ้างเพื่อลดความต่างระดับของน้ำภายนอกกับภายใน
3)การตั้งกระสอบทรายในแนวดิ่งจะมีโอกาสพังทลายง่าย
ส่วนการจัดถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยนั้น “นพ.กฤษดา ศิรามพุช” ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ แนะนำว่า ภายในถุงยังชีพควรมีของ 9 อย่าง ดังนี้
1)กระดาษชำระ กางเกงในกระดาษและผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เนื่องจากในสภาพที่ไม่มีห้องน้ำหรือส้วมกระดาษไม่พอ หากมีกระดาษชำระดีๆ อย่างหนานุ่มหรือได้เปลี่ยนชั้นในสะอาดๆ ก็จะทำให้รู้สึกสบายคลายทุกข์ไปได้มาก
2)นมผู้ใหญ่ จำพวกเอ็นชัวร์หรือพีเดียชัวร์ที่เป็นนมผงสูตรผู้ใหญ่ใช้บำรุงร่างกาย มีสารอาหารที่จำเป็นอยู่มาก ควรแบ่งส่งไปเป็นกระป๋องเล็กพร้อมน้ำสะอาดไว้ชง ผู้ประสบภัยจะได้สะดวกหาที่เก็บให้พ้นน้ำง่าย
3)ด่างทับทิม สำหรับผสมน้ำแช่แก้น้ำกัดเท้าหรือแช่ผักผลไม้ก่อนรับประทาน แทนยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดแบบน้ำที่อาจจัดส่งลำบาก
4)สารส้ม ช่วยให้ผู้ประสบภัยทำน้ำใสไว้อาบเองได้
5)น้ำเกลือปลอดเชื้อ หรือน้ำเกลือสเตอไรซ์ ใช้ล้างแผลปฐมพยาบาล
6)ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เผื่อเป็นไข้หวัดหรือโรคปวดหัวจากความเครียด
7)แชมพูถวายพระ พระสงฆ์องค์เณรต้องงดปฏิบัติกิจช่วงน้ำท่วม ญาติโยมก็ไม่สะดวกใส่บาตร ของใช้ที่จำเป็นอาจขาดอาทิ ผ้าเช็ดตัวสะอาด กระดาษชำระ สบู่และแชมพูเพราะพระสงฆ์ก็จำเป็นต้องใช้ทำความสะอาดร่างกาย แต่ควรเลี่ยงชนิดที่ใส่น้ำหอมแรงจนเกินไป
8)อาหารสุนัข อาหารแมว
9)โน้ตข้อความให้กำลังใจ อย่างสุดท้ายดูเหมือนไม่จำเป็น แต่หากลงไปช่วยพูดคุยไม่ได้ อย่างน้อยส่งข้อความที่เขียนจากใจลงไปก็จะได้เก็บไว้อ่าน เป็นกำลังใจที่ต่างคนต่างช่วยเติมให้กัน
ทีมเดลินิวส์ ออนไลน์
ขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
Advertisement
เปิดอ่าน 17,967 ครั้ง เปิดอ่าน 11,676 ครั้ง เปิดอ่าน 8,459 ครั้ง เปิดอ่าน 1,082 ครั้ง เปิดอ่าน 4,431 ครั้ง เปิดอ่าน 9,690 ครั้ง เปิดอ่าน 9,765 ครั้ง เปิดอ่าน 14,101 ครั้ง เปิดอ่าน 9,252 ครั้ง เปิดอ่าน 13,452 ครั้ง เปิดอ่าน 28,904 ครั้ง เปิดอ่าน 12,895 ครั้ง เปิดอ่าน 11,750 ครั้ง เปิดอ่าน 4,639 ครั้ง เปิดอ่าน 12,941 ครั้ง เปิดอ่าน 13,880 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 17,848 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,412 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,380 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,623 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,448 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,829 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 44,839 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,638 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,089 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,531 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,555 ครั้ง |
|
|