Advertisement
เพราะเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ การเสียคนที่รักแล้วอยากได้คนที่รักกลับคืนมา ทำให้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยหลงเชื่อ “ตกเป็นเหยื่อ” ผู้ที่อ้างตัวเป็น “อาจารย์ขมังเวท” อ้างว่าสามารถจะทำ “เสน่ห์ยาแฝด” ให้ชายที่หมายปองไว้มารักมาหลง หรือทำให้คนรัก-สามีที่หนีจากไป...หวนกลับคืนมาหาได้ ?!?
“งมงายไสยศาสตร์” ที่สุดมักไม่พ้น “ถูกต้มตุ๋น”
“เสน่ห์หญิง” สร้างเองก็ได้ “ไม่ต้องพึ่งคุณไสย”
เรื่องราวของการสร้างเสน่ห์หญิงนั้น คนไทยเรามีการแนะนำสอนสั่งกันมาแต่โบราณกาล ยกตัวอย่างวรรณกรรมคำกลอนเรื่อง “กฤษณาสอนน้อง” นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง “สูตร (ไม่) ลับมัดใจสามี” ตำรับโบราณ ซึ่งเป็นเรื่องราวของธิดาท้าวพรหมทัตที่ชื่อ “กฤษณา” ที่มีคู่ถึง 5 คนพร้อม ๆ กัน...โดยไม่มีปัญหา จนน้องที่ชื่อ “จิรประภา” ที่มีสวามีคนเดียวแต่ชีวิตคู่ไม่มีความสุข คิดว่าพี่สาวใช้คาถาอาคม จึงจะขอบ้าง
กฤษณาจึงสอน “เคล็ดลับมัดใจสามี” ให้กับน้อง โดย “ข้อพึงปฏิบัติ” นั้นสรุปความได้ว่า...
- “ต้องมีความซื่อสัตย์” ภักดีกันอย่างคงเส้นคงวา
- “ต้องรู้จักถนอมน้ำใจซึ่งกันและกัน” ซึ่งจะเป็นรากฐานของการใช้ชีวิตคู่
- หากสามีโกรธหรือร้อนเป็นไฟมา...ภริยาต้องเป็นน้ำ การทะเลาะวิวาทก็จะไม่เกิดขึ้น
- เป็นภริยา “ต้องรู้จักผ่อนสั้น-ผ่อนยาว” หากสามีทำท่าเย็นชาก็อย่าเพิ่งร้อนใจโวยวายไป ต้องใจเย็น ๆ
- อะไรที่รู้ว่าสามีไม่ชอบหรือไม่พอใจ...ก็ควรละเว้น ให้พยายาม “ทำแต่สิ่งที่สนองความพึงพอใจสามี”
- รู้จัก “เลือกเวลาพูดให้ถูกจังหวะ” และการ “มีวาจาอันอ่อนหวาน” ไพเราะเสนาะหู
- “มีมารยาทงาม” ละมุนละไม ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิง และเป็นเสน่ห์มัดใจชายให้รักได้
- เรื่องการงอนก็ต้องงอนแต่พอเหมาะพอควร “อย่างอนจนเกินงาม”อย่าจู้จี้จุกจิกในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ “อย่าบ่นสามีเป็นอาจิณ” ต้องรู้จักโอนอ่อนตามอัธยาศัย และหากสามีมีแขกมาเยือนก็ให้ต้อนรับขับสู้ให้ดี “อย่าขี้เหนียวเกินเหตุ” หรือแสดงกิริยาไม่พอใจแขกของสามีจนออกนอกหน้า
- ต้องปรนนิบัติสามีตามความเหมาะสม ยามสามีเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องคอยดูแลถามไถ่ ช่วยรักษาพยาบาลโดยตรง มิใช่ปล่อยเป็นหน้าที่คนอื่น ซึ่งการดูแลกันยามเจ็บป่วยจะทำให้เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น
นอกจากข้อพึงปฏิบัติแล้ว...ยังมี “ข้อห้าม” ด้วย
บางเรื่องถือว่าเป็นการ “ประพฤติชั่ว” ร้ายแรง !!
ข้อห้ามที่กฤษณาสอนน้อง เพื่อไม่ให้สามีเกิดความรู้สึกไม่ดีกับภรรยา เกิดความเบื่อหน่าย-ตีจาก ก็มี อาทิ...
- “อย่าเล่นชู้สู่ชาย” เป็นอันขาด
- “อย่าดูถูกดูหมิ่นสามี” หรือซ้ำเติมยามที่สามีทำอะไรพลาดพลั้ง
- “อย่าด่าเสียดสี-อย่ายกตนข่มผัว”
- “อย่าทำอะไรโดยพลการ” ไม่ปรึกษาหารือกัน
- ตลอดจน “อย่านินทา สามี” กับเพื่อนบ้าน อย่าคบเพื่อนไม่ดี
- และ “อย่าเกียจคร้าน” ปล่อยบ้านช่องสกปรก เป็นต้น
เหล่านี้เป็น “เคล็ดลับมัดใจสามี...ตำรับโบราณ”
ส่วนยุคปัจจุบัน...ปรับเสียหน่อยก็นำมาใช้ได้ !!
..ตำราเสน่ห์มัดใจสามีหรือมัดใจชายนั้น สมัยโบราณจะใช้หนัง สือเรื่อง “กฤษณาสอนน้อง” เป็นต้นแบบ ส่วนยุคปัจจุบันที่สภาพเศรษฐกิจและสังคมได้เปลี่ยนไปในแนวทางที่ผู้หญิงมีบทบาทในสังคมมากขึ้น...ก็คงต้องพลิกแพลง
ปัจจุบันผู้หญิงมีความรู้ มีหน้าที่การงานที่ดี ที่สำคัญผู้หญิงสามารถที่จะหาเลี้ยงตนเองได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้ชายเหมือนสมัยก่อน ดังนั้น หากจะนำเนื้อหาจากหนังสือเรื่องกฤษณาสอนน้องมาใช้...ก็อาจจะไม่ได้ใช้ทั้งหมด เพราะ แนวทางการใช้ชีวิตคู่ในยุคปัจจุบันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา...
..สิ่งที่เป็น “เสน่ห์มัดใจชาย” ของผู้หญิงในยุคนี้ก็เช่น “เป็นผู้ฟังที่ดี” และที่ต้องเพิ่มเติมคือนอกจากการเป็นผู้ฟังที่ดีแล้ว...ภรรยาก็ “ต้องหมั่นเพิ่มเติมความรู้” มีความรู้ทั่วไปทั้งในบ้านและนอกบ้านด้วย เพราะยามที่สามีมีเรื่องเครียดหรือมีเรื่องกลุ้มใจจากนอกบ้านมา ภรรยาเมื่อรับฟังแล้วก็จะ “สามารถให้คำปรึกษาแนะนำสามี” ในมุมมองที่แตกต่างออกไปได้
“คือนอกจากทำหน้าที่เป็นภรรยาแล้วยังทำหน้าที่เป็นเพื่อนอีกทางหนึ่งด้วย เมื่อสามีได้ระบายความทุกข์-ความเครียด ก็เท่ากับได้ผ่อนคลาย”
อย่างไรก็ตาม กับประเด็นที่ “ต้องมีความซื่อสัตย์” มีความจริงใจต่อกัน
...ไม่ว่ายุคสมัยไหน เพราะหมายถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งชีวิตคู่ที่ต้องเลิกร้างกันไป เพราะไม่มีในจุดนี้...มีมากต่อมาก และอีกประเด็นคือ...ยามที่ “มีเรื่องทะเลาะกันต้องรู้จักที่จะผ่อนปรนบ้าง” อย่าตึงเครียดจนเกินไป เพราะจะนำไปสู่การแตกหัก และหย่าร้างได้ในที่สุด
“เรื่องเสน่ห์หรือการใช้ชีวิตคู่นั้นเป็นทักษะที่ต้องใช้เวลาฝึกฝนกันไป ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความรัก ความเข้าใจกันและกัน ซึ่งหากสามารถทำได้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพาเวทมนตร์คาถาอะไรทั้งสิ้น เพราะมนต์อะไรก็ตามถึงมีจริงก็ไม่ยั่งยืน ก็ต้องเสื่อมไปตามวันเวลา”...
ก็เป็น “เคล็ดลับมัดใจชาย” ยุคโบราณ...ถึงยุคปัจจุบัน
หญิงใดปฏิบัติได้...ก็ไม่ต้องไปงมงาย “เสน่ห์ยาแฝด”
ถ้าทำแล้วชายยังหนี...ก็ “ตัดหางปล่อยวัด” เถอะ !!!.
วันที่ 8 ม.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,283 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,726 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,939 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,593 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,350 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,474 ครั้ง |
|
|