๑. ถาม ก.ค.ศ. มีแนวทางการพิจารณารับรองรางวัลสูงสุดระดับชาติอย่างไร เหตุใดบางรางวัลที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับอย่างแพร่หลาย เช่น รางวัลครูดีในดวงใจ จึงไม่ได้รับการรับรอง
ตอบ ก.ค.ศ. ได้พิจารณารับรองรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไปตามแนวทางที่ ก.ค.ศ. กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ ว ๕/๒๕๕๔ ซึ่งต้องมีองค์ประกอบครบ ๔ ข้อ คือ
๑. ส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้ให้รางวัลหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ รางวัล หรือมีส่วนร่วมในการประเมิน หรือเป็นรางวัลที่หน่วยงานอื่นที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศเป็นผู้ให้รางวัล
๒. ส่วนราชการ/หน่วยงานที่ให้รางวัล ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาว่ารางวัลนั้น ส่วนราชการ/หน่วยงานที่ให้รางวัลมีการดำเนินการให้รางวัลอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันยังคงมีการให้รางวัลอยู่
๓. มีหลักเกณฑ์การให้รางวัล กระบวนการประเมิน วิธีการ และตัวชี้วัดที่ชัดเจน พิจารณาจาก
๓.๑ การเปิดโอกาสให้ข้าราชการมีโอกาสเข้ารับการพิจารณาอย่างกว้างขวาง เช่น ในสังกัดทั่วประเทศ ทุกสังกัดทั่วประเทศ หรือระหว่างสังกัดร่วมกันทั่วประเทศ หรือโครงการในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษต่างๆ และ
๓.๒ ส่วนราชการ/หน่วยงานที่กำหนดหลักเกณฑ์มีการประเมินในขั้นสุดท้าย และ
๓.๓ หัวหน้าส่วนราชการ/หัวหน้าสูงสุดของหน่วยงานอื่น เป็นผู้ลงนามในการประกาศเกียรติคุณ/เกียรติบัตร โล่ ฯลฯ
๔. ส่งผลการต่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานจนเป็นที่ประจักษ์ พิจารณาจาก
๔.๑ มีผลงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การพัฒนาสถานศึกษา การพัฒนาการจัดการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เช่น การสร้างนวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาสื่อ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ เสริมสร้างทักษะ ทัศนคติและคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน เป็นต้น
๔.๒ กรณีที่เสนอรางวัลเป็นงานวิจัย งานวิจัยนั้นต้องส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษา การจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
ทั้งนี้ ก.ค.ศ. ได้พิจารณารับรองรางวัลฯ ตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดเสนอให้ ก.ค.ศ.พิจารณา ซึ่งอาจมีบางรางวัลที่ส่วนราชการไม่ได้เสนอ หรือบางรางวัลที่ส่วนราชการเสนอ แต่เมื่อพิจารณาแล้วมีองค์ประกอบไม่ครบทุกองค์ประกอบ เช่น รางวัลครูดีในดวงใจ สพฐ. มิได้มีการตรวจสอบในขั้นสุดท้าย จึงยังมิได้ให้การรับรองในครั้งนี้
๒. ถาม ถ้าจะขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ แต่ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติไม่ครบ ๒ รางวัล จะขอได้หรือไม่
ตอบ ถ้ามีผลงานที่ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติที่ ก.ค.ศ. ให้การรับรอง ๑ รางวัล และมีผลงานอื่นอีก ๑ ชิ้น ซึ่งผลงานนั้นส่วนราชการต้นสังกัดเห็นว่ามีคุณภาพเทียบเคียงได้กับผลงานที่ได้รับรางวัลระดับชาติขึ้นไป ก็สามารถขอได้ตามหลักเกณฑ์ฯ ข้อ ๑.๔.๒
๓.ถาม ผลงานเทียบเคียงฯ ต้องเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลหรือไม่
ตอบ จะเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลหรือไม่ก็ได้ แต่ผลงานดังกล่าวต้องส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ชุมชน สังคม วงวิชาการ และวงวิชาชีพ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นสามารถนำ ไปปฏิบัติหรือ ประยุกต์ใช้ได้
๔. ถาม ตามที่ ก.ค.ศ. ได้อนุมัติให้ขยายเวลาการเสนอรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ออกไปเป็นวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ นั้น เป็นการขยายเวลาการยื่นคำขอของข้าราชการครูฯ ด้วยหรือไม่
ตอบ การขยายเวลาดังกล่าว เป็นการขยายเวลาให้ส่วนราชการต้นสังกัดได้มีเวลาในการคัดเลือกข้าราชการครูฯให้เข้ารับการประเมิน ซึ่งการจะให้ข้าราชการครูฯ ยื่นคำขอได้ถึงเมื่อใดนั้น ให้ดำเนินการตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด
๕. ถาม ตามหลักเกณฑ์ฯ ว ๕/๒๕๕๔ ก.ค.ศ. จะประเมินอะไรบ้าง มีแนวทางและขั้นตอนการประเมินอย่างไร
ตอบ ตามหลักเกณฑ์ฯ ว ๕/๒๕๕๔ กำหนดให้มีการประเมิน ๓ ด้าน คือ ด้านที่ ๑ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ ๒ ด้านความรู้ความสามารถ และด้านที่ ๓ ด้านผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่วนที่ ๒ ผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ และส่วนที่ ๓ ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง การประเมินด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ และด้านที่ ๓ ส่วนที่ ๑ มีตัวชี้วัดในการประเมิน เช่นเดียวกันกับการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ฯ ว ๑๗/๒๕๕๒ สำหรับการประเมินด้านที่ ๓ ส่วนที่ ๒ จะพิจารณาจากคุณภาพและประโยชน์ของผลงานดีเด่นฯ และกระบวนการในการจัดทำหรือพัฒนาผลงานนั้น ๆ เป็นหลัก มิได้พิจารณาเฉพาะตัวรางวัลที่ได้รับแต่เพียงอย่างเดียว สำหรับขั้นตอนในการประเมินนั้น ก.ค.ศ. จะตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไปประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงานของผู้รับการประเมิน โดยในครั้งแรก จะประเมินด้านที่ ๑ ด้านที่ ๒ และด้านที่ ๓ ส่วนที่ ๑ และ ส่วนที่ ๒ ก่อน หากผลการประเมินผ่านเกณฑ์ฯ จะพิจารณาข้อเสนอในการพัฒนางานที่ผู้รับการประเมินเสนอไว้ โดยอาจปรับให้มีความเหมาะสม แล้วจึงให้ความเห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางานต่อไป โดยข้อตกลงฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย ประเด็นในการพัฒนา เป้าหมายในการพัฒนา วิธีการพัฒนา และแนวทางการตรวจสอบและประเมิน เพื่อแสดงว่าภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อตกลงจะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ปรากฏผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์อย่างไร เมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ระบุในข้อตกลงฯ แล้ว ก.ค.ศ. ก็จะดำเนินการประเมินด้านที่ ๓ ส่วนที่ ๓ (ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง) อีกครั้งหนึ่ง โดยจะพิจารณาจากคุณภาพและประโยชน์ของผลงานฯ ว่าเป็นไปตามข้อตกลงที่จัดทำไว้หรือไม่ หากมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ จึงจะได้รับอนุมัติให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะต่อไปได้
๖. ถาม ในการดำเนินการประเมินผู้ขอรับการประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงาน ผู้รับการประเมินต้องเตรียมความพร้อมรับการประเมินอย่างไรบ้าง
ตอบ ผู้รับการประเมินต้องจัดเตรียมข้อมูล/เอกสารหลักฐานไว้เพื่อรอรับการประเมิน ในลักษณะเดียวกับการจัดเตรียมเอกสารเพื่อรอรับการประเมิน ตามหลักเกณฑ์ ว 17/2552 เพื่อให้ ก.ค.ศ. มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการพิจารณา มิใช่จัดเตรียมเฉพาะตัวรางวัลที่ได้รับเท่านั้น เช่น สายงานการสอน จะต้องมีแผนการจัดการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับเขต/ประเทศ และเอกสารหลักฐานอื่นที่สะท้อนถึงการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถของผู้ขอรับการประเมิน เป็นต้น
ที่มา http://203.146.15.33/webtcs/modules.php?name=activeshow_mod&file=article&asid=435
###ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ว5 (54) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่น ที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยะฐานะหรือเลือนเป็นวิทยะฐานะชำนาญการ พิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
หลัก เกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยะฐานะหรือเลือนเป็นวิทยะฐานะชำนาญการ พิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
สิ่งที่ส่งมาด้วย มีรายละเอียดประกอบด้วย
(1) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่น ที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยะฐานะหรือเลือนเป็นวิทยะฐานะชำนาญการ พิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
1. ครู
- ครูชำนาญการพิเศษ
- ครูเชี่ยวชาญ
2. รอง ผอ.สถานศึกษา
- รอง.ผอ.ชำนาญการพิเศษ
- รอง.ผอ.เชี่ยวชาญ
3. ผอ.สถานศึกษา
- ผอ.ชำนาญการพิเศษ
- ผอ.เชี่ยวชาญ
4. รอง ผอ.สพท
- รองผอ.สพท. ชำนาญการพิเศษ
- รองผอ.สพท.เชี่ยวชาญ
5. ผอ.สพท
- ผอ.สพท.เชี่ยวชาญ
6. รอง ผอ.กศน จังหวัด
- รองผอ.กศน.จังหวัด ชำนาญการพิเศษ
- รอง ผอ.กศน.จังหวัด เชี่ยวชาญ
7. ผอ.กศน จังหวัด
- ผอ กศน.จังหวัดเชี่ยวชาญ
8 . ศึกษานิเทศก์
- ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
- ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
(2) แบบคำขอให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยะฐานะหรือเลือนเป็นวิทยะฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ (ทุกตำแหน่ง)
(3) แบบรายงานด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
- แบบรายงานด้านที่ 1 ทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ
(4) แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3)
แบบรายงานด้านที่ 3 สายงานการสอน
- การศึกษาพิเศษ
- เด็กปกติและเด็กปฐมวัย
- สำนักงาน กศน
แบบรายงานด้านที่ 3 สายงานนิเทศการศึกษา
แบบรายงานด้านที่ 3 สายงานบริหารการศึกษา
- สพท.
- กศน.
แบบรายงานด้านที่ 3 สายงานบริหารสถานศึกษา
- กศน.
- ศูนย์การศึกษาพิเศษ
- สพฐ.
- อาชีวะ
- โรงเรียนเฉพาะความพิการ
(5) แบบข้อเสนอในการพัฒนางาน (ด้านที่ 3 ส่วนที่ 3)