Advertisement
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๒๒๙/๒๕๕๔ มติ ครม. ๖ กันยายน ๒๕๕๔
มอบหมายให้รักษาราชการแทน รมว.ศธ.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล - สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
การมอบหมายให้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเป็นหลักการในการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาราชการแทน ตามลำดับ ตามที่ ศธ. เสนอ ดังนี้
๑. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางบุญรื่น ศรีธเรศ)
๒. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล)
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๘ (รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี)
ครม.เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
๑. เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘
๒. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำความเห็นของคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ
๓. มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ตามขั้นตอนต่อไป
๔. มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปีให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วันหลังจากที่แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
๕. มอบหมายให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณรับไปพิจารณาแหล่งเงินที่เหมาะสมสำหรับแผนงาน/โครงการ ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณและรักษาวินัยการคลัง
๖. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และรายงานให้คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินและคณะรัฐมนตรีทราบ
๗. เห็นชอบหลักการ กรณีคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนงาน/โครงการเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ปรับปรุงแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี
สาระสำคัญของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน องค์ประกอบของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีสาระสำคัญประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ
๑. แนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ เป็นการสรุปวิสัยทัศน์ สถานการณ์ของประเทศ และกรอบการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
๒. แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายรัฐบาล ๘ นโยบาย เป็นการแสดงเป้าหมายเชิงนโยบาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐบาล
๓. กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ระบุหน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย และแนวทางการติดตามประเมินผล
๔. แผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งคัดเลือกจากแผนงาน/โครงการรายนโยบาย ๘ นโยบาย
Advertisement
เปิดอ่าน 14,409 ครั้ง เปิดอ่าน 5,387 ครั้ง เปิดอ่าน 13,997 ครั้ง เปิดอ่าน 10,755 ครั้ง เปิดอ่าน 7,655 ครั้ง เปิดอ่าน 3,407 ครั้ง เปิดอ่าน 25,580 ครั้ง เปิดอ่าน 11,578 ครั้ง เปิดอ่าน 29,095 ครั้ง เปิดอ่าน 3,269 ครั้ง เปิดอ่าน 13,541 ครั้ง เปิดอ่าน 22,125 ครั้ง เปิดอ่าน 2,330 ครั้ง เปิดอ่าน 10,426 ครั้ง เปิดอ่าน 4,037 ครั้ง เปิดอ่าน 7,879 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 4,437 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,508 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,181 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,063 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,929 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,703 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,949 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,306 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,836 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,879 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,421 ครั้ง |
|
|