Advertisement
❝ สุขระดับไหน ที่เราต้องการ ❞
จากการอบรมสู่ชีวิตที่ดีงามและเป็นสุข ในหัวข้อการรู้เท่าทันบริโภคนิยม เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2549
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ได้กล่าวถึงเส้นโค้งแห่งความสุขว่า ความสุขของมนุษย์จากการบริโภคทรัพย์นั้นเหมือนเส้นโค ้ง ตัวความสุขนั้นไม่ได้พุ่งสูงขึ้นตามกำลังทรัพย์ในการ ซื้อหาอย่างที่หลายๆ คนคิด ในทางตรงกันข้ามยิ่งซื้อมากความสุขยิ่งลดลง ความอยากมีอยากได้ของคนในการหาทรัพย์สินเงินทองมาตอบ สนองความสุขของตนนั้น หากไม่รู้จักพอดีความสุขนั้นจะค่อยๆ โค้งตกลงกลายเป็นความทุกข์ที่เข้ามาแทน
เราสามารถแบ่งความสุขจากการบริโภคทรัพย์เป็น 4 ประเภทคือ
- ความสุขแบบอัตคัดขัดสน
ประเภทนี้ขอให้พ้นจากความหิวและมีความปลอดภัยในชีวิต ก็พอใจแล้ว เงิน 10 บาทขึ้นไปก็สามารถซื้อหาความสุขได้
- ความสุขเพราะความสะดวกสบาย
เมื่อขยับฐานะตัวเองมาเป็นพอกินพอใช้ นอกจากปัจจัย 4 ที่มีแล้ว ความอยากทำให้ต้องหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายต่างๆม าทำให้มีความสุขตนเองเพิ่มขึ้น เช่น ชื่อทีวี เครื่องเสียง เครื่องเล่น DVD เครื่องซักผ้า ประเภทนี้เงิน 1,000 บาทขึ้นไปจึงจะซื้อหาความสุขได้
- ความสุขเนื่องจากอยู่ดีกินดี
เมื่อมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน ชีวิตสะดวกสบายขึ้น การหาความสุขอาจใช้เงินเป็นแสน เพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์
- ความสุขจากการเหลือกินเหลือใช้
ประเภทนี้เมื่อร่ำรวยเงินทองก็จะใช้ชีวิตอย่างหรูหนา ฟุ่มเฟือย ความสุขจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากแต่ต้องใช้เงินหลักล้านในการแลกมา โดยส่วนใหญ่เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วไม่ว่าจะใช้เงินมาก มายสักเท่าใดก็ไม่ได้มีความสุขมากไปกว่าตอนกินอยู่ตา มอัตภาพหรือแบบพอกินพอใช้ได้ ถึงขั้นนี้ความสุขแบบเศรษฐีเงินล้านดูจะมีน้อยกว่าเง ิน 10 บาทสำหรับผู้หิวโหยในประเภทที่หนึ่ง
เปรียบเหมือนเส้นกราฟที่พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดด้วยการ หาความสุขสบายจากการทำมาหากินสะสมทรัพย์สินเงินทองจน ร่ำรวย แต่สักพักเส้นกราฟความสุขจะเริ่มโค้งต่ำลงเพราะความส ุขจากทรัพย์นั้นมีขีดจำกัด ความสุขจากทรัพย์จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป้าหมายความสุขคือการกินอิ่มมีที่ซุกหัวนอนหรือม ีความสะดวกสบายตามอัตภาพเท่านั้น แต่ถ้าต้องการใช้ทรัพย์เพื่อความอยู่ดีกินดี หรือเพื่อชีวิตร่ำรวยแบบฟุ่มเฟือยแล้ว ความสุขจะลดต่ำลงหรืออธิบายง่ายๆ คือ เมื่อมีความสุขอยู่ในขั้นสะดวกสบายแล้ว ถ้ายังแสวงหาทรัพย์หรือใช้ทรัพย์เพิ่มเพื่อให้มีความ สุขยิ่งขึ้น ผลที่ตามมาก็คือความสุขกลับลดลง
เหตุที่ความสุขลดลงก็เพราะ ภาระในการดูแลทรัพย์มีมากขึ้นหากเป็นเศรษฐีร้อยล้านเ พราะทำธุรกิจการสื่อสาร ก็ต้องดูแลคนงานนับพัน ต้องดูแลคอยเปิดทางให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุน มีภาระต้องหมุนเงินมิให้ขาด มีหนี้ที่ผูกพันกับธนาคาร มีบ้านราคาหลายล้านที่ต้องดูแลรักษา ยิ่งถ้าเป็นเศรษฐีเพราะเป็นนักการเมืองทุจริตด้วยแล้ ว ความวิตกกังวลยิ่งเพิ่มขึ้นหลายเท่านัก เมื่อความต้องการในเรื่องอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ เข้ามาครอบงำ สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่ยั่งยืนจะนำพาไปสู่ทุกข์... ทุกข์ที่อยู่บนกองเงินกองทอง ทุกข์จากความหวาดระแวง กลัวการที่จะต้องสูญเสียชื่อเสียง อำนาจบารมีของตน จะสังเกตได้ว่ายาแก้โรคกระเพาะ ยาแก้เครียดและยารักษาความดันจึงขายดีในหมู่คนรวย
ดังนั้นเมื่อเสพวัตถุจนสบายถึงจุดหนึ่งแล้วก็ควรหยุด เสพไม่ให้เกินจุดนั้นไป หากเราสามารถหยุดเมื่อถึงจุดนั้นได้ เรียกว่า "รู้จักพอดี" จุดพอดี คือจุดที่เรามีความสุขสูงสุด ถ้าเราไม่รู้จักจุดนั้น เมื่อเสพจนเลยจุดนั้นไป ความสุขก็จะลดลงตามลำดับ หากเรารู้เท่าทันไม่ไหลตามกระแสบริโภคนิยมที่มีฤทธิ์ กระตุ้นภาวะโลภ โกรธ หลง ภายในจิตใจเรา ให้เกิดความอยากมี อยากได้ โดยใช้วิธีคิด วิธีปฏิบัติตามแนวทางของพุทธศาสนา เช่น การถือศีล ทำสมาธิภาวนา การให้ทาน จะเป็นความสุขที่สงบ มีสติตื่นรู้ เบิกบานใจ ปราศจากข้อผูกมัด ความคาดหวังใดๆ จะเป็นความสุขที่เกิดขึ้นขณะนั้นและยังคงสุขต่อไปหลั งจากผ่านช่วงเวลานั้นไปแล้ว
ขอขอบคุณ สุทธิรักษ์.คอม
วันที่ 4 ม.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,202 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,305 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,188 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,183 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 37,485 ครั้ง |
เปิดอ่าน 83,958 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,049 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,766 ครั้ง |
เปิดอ่าน 44,717 ครั้ง |
|
|