Advertisement
ก่อนเที่ยว
อาทิตย์ สุวรรณโชติ
กำแพงเพชร เป็นเมืองผ่านในเส้นทางขึ้นสู่ภาคเหนือตอนบน หลายคนขับรถผ่านไปไม่คิดจะแวะเข้าเมืองกำแพง ทั้งที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และสมบูรณ์สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย นั่นคือโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร นับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นแห่งหนึ่งของเมืองไทย มีหลักฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งอาณาจักรสุโขทัย ร่วมสมัยกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ.2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ เป็นประธาน
อุทยานประวัติศาสตร์แห่งกำแพงเพชร เป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ทั้งในด้านการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชนในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีต
|
ทั้งนี้มีโครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งมุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือทำให้เสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถานและบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ
มิใช่เพียงความภูมิใจของคนไทยเท่านั้น คณะกรรมการมรดกโลก แห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ยังได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่เมืองคาร์เธจ ประเทศตูนีเซีย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 นับเป็นมรดกโลกตามบัญชีในลำดับที่ 574 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เป็นการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณามรดกโลกวางไว้คือ ข้อ 1 ในฐานะที่เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรมที่มีความงดงามและเป็นผลงานชิ้นเอกที่ได้รับการสร้างสรรค์จากอัจฉริยภาพด้านศิลปะอย่างแท้จริง ข้อ 3 เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นหลักฐานแสดงขนบธรรมเนียมประเพณีหรืออารยธรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ หรือสูญหายไปแล้ว
มรดกโลกที่ได้รับกันส่วนใหญ่จะได้ผ่านหลักเกณฑ์เพียงข้อเดียวเท่านั้น แต่อุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลกของกำแพงเพชร ผ่านหลักเกณฑ์ถึง 2 ข้อจากทั้งหมด 6 ข้อ ซึ่งทั่วโลกมีเพียง 20 กว่าแห่งเท่านั้นที่ผ่านหลักเกณฑ์ถึง 2 ข้อ
โบราณสถานของเมืองกำแพงเพชร เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ มีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท พุทธศาสนาในสมัยนั้นมีพระสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายคามวาสีหรือวัดที่อยู่ในเมือง และอรัญวาสีหรือฝ่ายที่อยู่นอกเมืองไม่น้อยกว่า 40 วัด
สิ่งปลูกสร้างทุกอย่าง เช่น ตัววัด เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป กำแพง เสาอาคาร กุฏิ แม้กระทั่งถานหรือส้วม ล้วนแล้วแต่ใช้ศิลาแลงทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นโบราณสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศและอาจจะแห่งเดียวในโลก ที่ใช้ศิลาแลงมาก่อสร้าง เป็นเอกลักษณ์หาจากที่อื่นไม่ได้ และจังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดเดียวที่ใช้เอกลักษณ์ของโบราณสถานมาตั้งเป็นชื่อจังหวัดนั้นคือ กำแพงเพชร
ชื่อเดิมของกำแพงเพชร คือเมืองชากังราว คำว่าชากังราวเป็นภาษามอญ แปลตรงตัวว่ากำแพงเพชร เพราะกำแพงเมืองมีความแข็งแรงเหมือนเพชรนั่นเอง ปัจจุบันกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่ในประเทศไทยจำนวน 70 เมือง กำแพงเมืองของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นกำแพงเมืองที่สวยที่สุด สมบูรณ์ที่สุดหนึ่งเดียวของเมืองไทย
ขากลับจากภาคเหนือ หากมีเวลาลองแวะเข้ากำแพงเพชรเที่ยวชมเมืองโบราณ อาจจะรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้มาก่อนหน้านี้ก็ได้
ขอบคุณที่มา ข่าวสดรายวัน วันที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6610 หน้า 24
Advertisement
เปิดอ่าน 15,144 ครั้ง เปิดอ่าน 2,303 ครั้ง เปิดอ่าน 22,842 ครั้ง เปิดอ่าน 33,502 ครั้ง เปิดอ่าน 21,559 ครั้ง เปิดอ่าน 48,049 ครั้ง เปิดอ่าน 127,928 ครั้ง เปิดอ่าน 16,450 ครั้ง เปิดอ่าน 17,572 ครั้ง เปิดอ่าน 28,327 ครั้ง เปิดอ่าน 29,916 ครั้ง เปิดอ่าน 16,894 ครั้ง เปิดอ่าน 16,178 ครั้ง เปิดอ่าน 17,608 ครั้ง เปิดอ่าน 20,039 ครั้ง เปิดอ่าน 16,684 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 14,719 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,005 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,526 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,203 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,918 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,603 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,321 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,998 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,176 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,935 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,564 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,772 ครั้ง |
|
|