ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เตือนภัย..!! ออนไลท์..!!


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,431 ครั้ง
เตือนภัย..!! ออนไลท์..!!

Advertisement

 

ยักษ์สีฟ้า "ไอบีเอ็ม" ออกโรงเตือนผู้ใช้ออนไลน์ระวังความเสี่ยง 5 รูปแบบช่วงเทศกาลปีใหม่ พร้อมแนะทางหลบเลี่ยงภัย โดยเฉพาะการซื้อขายออนไลน์ (อี-คอมเมิร์ซ) ที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท


จากปัจจุบันมูลค่าการทำธุรกรรมผู้ประกอบการกับผู้บริโภค (B2C) มีสูงถึง 47,501 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เก็บข้อมูล ขณะที่มูลค่าการซื้อขายออนไลน์ ก็มีไม่น้อยกว่า 305,159 ล้านบาท จากตัวเลขเมื่อปี 2549 ที่จัดทำโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ความเสี่ยงต่อภัยออนไลน์จึงมีสูง


หน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตของไอบีเอ็ม (ไอเอสเอส) รายงานว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งที่เป็นผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจต้องระวังความเสี่ยงด้านออนไลน์ 5 รูปแบบ รวมทั้งเสนอแนะวิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางออนไลน์ต่างๆ

ต้องรู้ทันมัลโค้ดแอบแฝง

ความเสี่ยงด้านออนไลน์ทั้ง 5 รูปแบบ ประกอบด้วย

รูปแบบที่ 1 สแปมเมลโค้ดอันตรายหรือมัลโค้ด (Malcode)
ที่มีแอบแฝงมามากขึ้น โดยมัลโค้ดผ่านอีเมลหัวข้อ "สวัสดีปีใหม่" จะเข้ามาโจมตีและฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมระยะไกลของอาชญากร เพราะฉะนั้น ไม่ควรเปิดเมลที่ไม่น่าไว้วางใจ ในช่วงเทศกาลนี้


รูปแบบที่ 2 หัวข้อใหม่ทางด้านฟิชชิ่ง
"การควบรวมกิจการของธนาคาร" ขณะที่ธนาคารหลายๆ แห่งกำลังประสบปัญหาจนต้องควบรวมกิจการกับสถาบันการเงินอื่นๆ ทีมงานไอบีเอ็ม คาดว่าอาชญากรจะใช้ประโยชน์จากความเชื่อมั่นที่สั่นคลอนของผู้บริโภคในธุรกิจธนาคารเพื่อโจมตีแบบฟิชชิ่ง (Phishing) ระลอกใหม่ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อหลอกลวงให้ลูกค้าธนาคารเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล อาทิเช่น เลขบัญชี และรหัสผ่าน เป็นต้น


หน่วยงานไอเอสเอส ยังรายงานว่า รูปแบบที่ 3 ซึ่งพบการโจมตีออนไลน์ คือ ขบวนการฟิชชิ่งจะนำเสนอพอร์ทัลปลอมสำหรับการสั่งซื้อสินค้าแบรนด์ดังผ่านทางระบบออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิต นอกจากนี้ ยังจะโปรโมทเว็บไซต์ต้มตุ๋นเหล่านี้ผ่านทางอีเมล พร้อมทั้งข้อเสนอส่วนลดที่ดึงดูดใจ อาทิเช่น กิจกรรม "ลดล้างสต็อก" เป็นต้น


ระวังโค้ดแปลกปลอม


รูปแบบที่ 4 ของเล่นและอุปกรณ์ที่มีโค้ดแปลกปลอม ในช่วงเทศกาลปีใหม่
ที่มักจะมอบของขวัญพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แก่กัน ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางอย่างอาจจะติดตั้งมัลแวร์เอาไว้ ซึ่งอาชญากรในโลกไซเบอร์อาจใช้เป็นช่องทางแทรกซึมเข้าสู่เครือข่ายขององค์กร


รูปแบบที่ 5 การท่องเว็บกลายเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง
เพราะอาชญากรในโลกไซเบอร์ได้พยายามปรับเปลี่ยนเว็บไซต์สาธารณะหลายแห่ง และจัดการซ่อนลิงค์แปลกปลอมไว้บนเว็บไซต์เหล่านั้น เมื่อผู้ใช้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์เหล่านี้ ลิงค์ที่ซ่อนอยู่ก็จะใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของเว็บเบราเซอร์ และติดตั้งมัลแวร์ที่จะดึงเอาข้อมูลลับของผู้ใช้หรือข้อมูลองค์กรมา เพื่อประโยชน์ในทางมิชอบได้


ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องป้องกันตัวเองและองค์กรของก่อนไว้ อาทิเช่น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรระมัดระวังกับการเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าเปิดไฟล์นั้นๆ ติดตั้งแพตช์ด้านความปลอดภัย (Security Patch) อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัพเดท หรือแพตช์สำหรับเว็บเบราเซอร์ และปลั๊กอินต่างๆ อาทิเช่น Quicktime Flash Acrobat เป็นต้น


ขณะเดียวกัน อย่าใช้ "อุปกรณ์เสริม" ที่ไม่ได้รับอนุญาตบนเครือข่ายขององค์กร โดยผู้ใช้ไม่ควรเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตผ่านทางพอร์ตยูเอสบี ในคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายของบริษัท เพราะการเจาะเครือข่ายองค์กรผ่านทางอุปกรณ์ยูเอสบี นับเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ที่กำลังเกิดขึ้นกับหลายๆ องค์กร


ต้องรอบคอบก่อนเชื่อมต่อ


ทีมงานไอบีเอ็ม แนะนำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในองค์กรตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์แปลกใหม่ๆ เข้ากับเครื่องโน้ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัท


นอกจากนี้ ต้องเก็บรหัสส่วนตัว หรือ PIN (Personal Identification Number) ไว้เป็นความลับเสมอ เนื่องจากบางกรณี การแอบอ้างและการต้มตุ๋นที่เกิดขึ้นปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเดบิต


ดังนั้น ผู้บริโภคจึงไม่ควรเปิดเผยรหัสส่วนตัว หรือพินโค้ดให้แก่เว็บไซต์ใดๆ หรือใครก็ตามที่แฝงตัวมาเหมือนเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร ในทำนองเดียวกัน ผู้บริโภคก็ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ได้รับสายจากผู้อื่น เนื่องจากอาชญากรเริ่มหันมาใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกถามข้อมูลส่วนตัวกันมากขึ้นนั่นเอง
 

"แม้ว่าในช่วงเทศกาลวันหยุดและปีใหม่ หลายคนคงเร่งรีบจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อของขวัญให้กับคนใกล้ชิด ดังนั้น เมื่อเลือกความสะดวกสบายและความรวดเร็วด้วยการเลือกซื้อของผ่านทางออนไลน์ ก็ต้องระมัดระวังการถูกโจมตีดังกล่าวไว้ด้วย เพื่อให้ช่วงเทศกาลดังกล่าวเป็นเทศกาลส่งความสุขอย่างแท้จริง"

 

ที่มา ที่นี่.คอม

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1833 วันที่ 2 ม.ค. 2552


เตือนภัย..!! ออนไลท์..!!เตือนภัย..!!ออนไลท์..!!

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สามัญสำนึกและมารยาท2

สามัญสำนึกและมารยาท2


เปิดอ่าน 6,428 ครั้ง
ความชั่วไม่มีวัน...หนีพ้น

ความชั่วไม่มีวัน...หนีพ้น


เปิดอ่าน 6,453 ครั้ง
เค็มๆนี้ก็ดีนะ...!!

เค็มๆนี้ก็ดีนะ...!!


เปิดอ่าน 6,455 ครั้ง
เผยแพร่ผลงานวิชาการ

เผยแพร่ผลงานวิชาการ


เปิดอ่าน 6,424 ครั้ง
Difference between Wife & Girlfriend

Difference between Wife & Girlfriend


เปิดอ่าน 6,440 ครั้ง
เคล็ดลับบริหารเสน่ห์

เคล็ดลับบริหารเสน่ห์


เปิดอ่าน 6,411 ครั้ง
จินตนาการผ่านหยดน้ำ

จินตนาการผ่านหยดน้ำ


เปิดอ่าน 6,449 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

น้ำผึ้งมีประโยชน์อย่างไร?..>>>

น้ำผึ้งมีประโยชน์อย่างไร?..>>>

เปิดอ่าน 6,427 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผักติ้ว..ต้านมะเร็งตับ !!
ผักติ้ว..ต้านมะเร็งตับ !!
เปิดอ่าน 6,480 ☕ คลิกอ่านเลย

การฉีดโบท็อก...น่าลอง..หรือน่ากลัว..!!!
การฉีดโบท็อก...น่าลอง..หรือน่ากลัว..!!!
เปิดอ่าน 6,428 ☕ คลิกอ่านเลย

รวมพุทธทำนาย จากพระสุบิน ทั้ง 16 เรื่องของพระเจ้าปเสนทิโกศล "สอดคล้องกับเหตุการณ์จริงในปัจจุบัน"
รวมพุทธทำนาย จากพระสุบิน ทั้ง 16 เรื่องของพระเจ้าปเสนทิโกศล "สอดคล้องกับเหตุการณ์จริงในปัจจุบัน"
เปิดอ่าน 6,429 ☕ คลิกอ่านเลย

ไลฟสไตล์มรณะ
ไลฟสไตล์มรณะ
เปิดอ่าน 6,441 ☕ คลิกอ่านเลย

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 6,760 ☕ คลิกอ่านเลย

นั่งนานทำให้เป็นคนขี้โรค ..!!!
นั่งนานทำให้เป็นคนขี้โรค ..!!!
เปิดอ่าน 6,424 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)
เปิดอ่าน 8,130 ครั้ง

การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เปิดอ่าน 28,973 ครั้ง

อาหารต้องเลี่ยง ภาชนะต้องห้าม อย่านำเข้าไมโครเวฟ
อาหารต้องเลี่ยง ภาชนะต้องห้าม อย่านำเข้าไมโครเวฟ
เปิดอ่าน 18,175 ครั้ง

คีย์บอร์ดเสมือนจริงกูเกิล
คีย์บอร์ดเสมือนจริงกูเกิล
เปิดอ่าน 14,905 ครั้ง

กินหวานอย่างไรไม่อันตราย
กินหวานอย่างไรไม่อันตราย
เปิดอ่าน 19,064 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ