Advertisement
จากนโยบายของพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลที่จะเพิ่มค่าแรงให้กับผู้ที่จบปริญญาเป็นหมื่นห้าต่อเดือน ถูกวิจารณ์ทั้งในด้านดีและด้านลบ ซึ่งถ้าหันมามองอีกด้านของนักศึกษาปริญญาตรีที่จบใหม่ 5 ปีย้อนหลังพบว่า ยังไม่มีความพร้อมเฉพาะทางในงานที่ตนเองกำลังทำอยู่นัก เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความสั่นคลอนของการศึกษาและสังคมที่จะพัฒนาประเทศมิใช่น้อย
สาธินี โมกขะเวส กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า เมื่อรัฐออกกฎให้จ้างเด็กจบใหม่ระดับปริญญาตรีที่หมื่นห้า ผลที่ตามมาทำให้บริษัทจะทำการคัดเลือกคนด้วยบททดสอบซึ่งยากมากขึ้น เพื่อให้คุ้มกับค่าจ้างที่สูง เนื่องจากนายจ้างไม่สามารถว่าจ้างได้ต่ำกว่านี้ ขณะเดียวกันคุณภาพของเด็กจบใหม่ที่ตอบโจทย์จริง ๆ ยังค่อนข้างหายาก ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวโน้มว่าจะมีบัณฑิต จบใหม่ไม่ผ่านช่วงทดลองงานมากขึ้น
หากมองตลาดงานในห้าปีหลังการจ้างงานชะลอตัวด้วยปัจจัยทางการเมือง ทำให้คนที่ยังไม่ได้งานในแต่ละปีสะสมจำนวนมาก ส่วนพวกที่ได้งานส่วนใหญ่นายจ้างไม่ได้จ้างเป็นพนักงานประจำ แต่จะเป็นพนักงานชั่วคราวเสียส่วนใหญ่ ซึ่งยังโชคดีว่าที่ผ่านมาอัตราการปลดพนักงานไม่มากนักเพราะหลายบริษัททำงานแบบประคองตัว
ปัญหาบัณฑิตจบใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นผลมาจากคุณภาพการศึกษายังไม่ตรงกับวิชาชีพมากนัก ขณะเดียวกันวินัยและทัศนคติการทำงานของคนรุ่นใหม่ยังไม่ทุ่มเทเท่าที่ควร เห็นได้จากหลายคนนัดสัมภาษณ์งาน แต่วันจริงกลับไม่มามีมากขึ้น จึงถือเป็นอีกความวิตกกังวลของนายจ้าง บริษัทใหญ่หลายแห่งแก้ปัญหาโดยทำโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในเด็กปี 3 ถึงปี 4 เพื่อคัดเลือกคนที่มีแนวคิดเหมาะสมกับองค์กรและนำมาฝึกงานระหว่างเรียนพอจบจึงเข้ารับทำงานทันที
ส่วนใหญ่คณะที่เรียนมาแล้วตกงานจะสอนแบบกว้างไม่ลงลึกเฉพาะหรือตลาดงานมีพื้นที่ให้คนเหล่านี้น้อยได้แก่ 1. คณะสังคมศาสตร์ 2. ศิลปศาสตร์ 3. ครุศาสตร์ 4. อักษรศาสตร์ 5. นิเทศศาสตร์
ตอนนี้เป็นวิกฤติในตลาดแรงงานสำหรับคนจบใหม่ที่มีคุณภาพ หากเทียบกับเมื่อหลายทศวรรษที่แล้วการแข่งขันด้านธุรกิจไม่รุนแรงเหมือนตอนนี้ระบบการศึกษากับธุรกิจไม่ต่างกันมากนัก แต่พอมาตอนนี้ระบบธุรกิจไปไกลมากแต่ระบบการศึกษาที่บ่มเพาะเด็กยังไม่พัฒนาตั้งแต่การรับน้องหรืออาจารย์ยังไม่มีมุมมองให้เด็กได้เรียนงานจริงมากนัก ซึ่งเมื่อออกไปทำงานการเผชิญกับแรงกดดันต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก
มีเด็กหลายคนมากที่จบแล้วไม่รู้ว่าจะทำอะไร และตนเองจะเรียนมาเพื่ออะไร หลายครั้งครูแนะแนวในโรงเรียนเองยังไม่มีความรู้ที่อัพเดทมากนัก ขณะที่กลุ่มอาชีวะยังขาดแคลนบุคลากรอย่างมากแต่ติดตรงที่ทัศนคติของสังคม ซึ่งถ้ามองให้ดีหากไทยต้องการเป็นผู้นำด้านสปา ต้องมีการสอนในระดับวิชาชีพตั้งแต่ต้นน้ำของธุรกิจยังปลายน้ำเพื่อให้รู้หลักการผลิตอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันต้องมีการสร้างทัศนคติที่ดีในวิชาชีพเฉพาะทาง อย่างการเป็นเชฟสามารถสร้างรายได้มากมาย แต่หลายคนมองว่าอาชีพนี้เป็นแค่กุ๊กทำอาหาร
“การเรียนสายอาชีพในหลายประเทศอย่างเยอรมนี ญี่ปุ่น ฝึกให้เด็กมีประสบการณ์ทำงานจริงตั้งแต่อายุแค่ 17 ปี ตรงข้ามกับเด็กไทยที่เริ่มให้เรียนรู้งานจริงตอนอายุ 20– 22 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างมากในการพัฒนาเนื่องจากการเรียนสายอาชีพสิ่งที่สำคัญคือประสบการณ์ทำงานจริงในการแก้ปัญหาในเนื้องาน”
ด้วยความที่สังคมไทยเป็นเมืองเกษตรกรรมควรมีการสร้างวิทยาลัยด้านการเกษตรในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ เพราะจะเป็นการสร้างนักวิชาการท้องถิ่นเฉพาะทาง เนื่องจากที่ผ่านมาตำราเรียนในประเทศเน้นสอนในเนื้อหาเดียวกัน แต่ลืมสนใจความเป็นท้องถิ่น ซึ่งถ้ามีสถาบันที่สอนด้านการเกษตรมากขึ้นจะช่วยพัฒนาวิชาชีพการเกษตรในแต่ละท้องถิ่นไปในตัว
ด้านผู้ที่เรียนปริญญาโทไม่ควรเรียนต่อทันทีเมื่อจบปริญญาตรี แต่ควรทำงานไปก่อนสัก 2–3 ปี เพื่อให้มีประสบการณ์จริงและลองดูตัวเองว่าสิ่งที่ตนเรียนมาเมื่อทำงานจริงตรงกับความชอบของตนหรือไม่ หรือถ้าหากไม่ชอบการเรียนต่อควรมองหางานที่รองรับตำแหน่งที่ต้องการทำงานมากที่สุด ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ ว่าองค์กรไหนที่เราต้องการทำงานด้วยและดูว่าตำแหน่งนั้นต้องการผู้จบด้านสาขาใด แต่ไม่ควรเลือกเรียนสาขาที่กว้างมากเกินไป
ในการสมัครงานนายจ้างไม่ได้คำนึงว่าผู้สมัครจบปริญญาตรีหรือโท แต่ถ้าใคร มีประสบการณ์และทำงานให้องค์กรได้อย่างจริงจัง วุฒิทางการเรียนไม่สำคัญ ซึ่งหลายองค์กรต้องการให้ผู้ที่จะก้าวไปเป็นผู้บริหารเรียนโทเพื่อให้ผลการศึกษาออกมาไม่น่าเกลียดนักมากกว่าจะจริงจังกับการใช้สมัครงาน
การแก้ปัญหานักศึกษาจบใหม่ให้มีศักยภาพในการทำงานไม่สามารถแก้ได้ถ้าให้ข้าราชการเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากที่ผ่านมารัฐไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาไม่ได้รับการแก้ไขให้เป็นไปตามแนวทางการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งการแก้ไขที่ดีควรมีหน่วยงานกลางซึ่งให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางระบบเพื่อกระตุ้นระบบการเรียนให้สอดคล้องกับการแข่งขัน
“ขณะเดียวกันต้องมีการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงการทำงานของตนที่จะช่วยให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลอย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี ถึงแม้คุณจะขายกาแฟสดแต่ก็เป็นเหมือนกล้ามเนื้อหนึ่งของร่างกายที่ทำให้ประเทศเข้มแข็ง ต่างจากเด็กไทยที่พอจบมาจะมองแค่ว่าเราจะได้เงินเดือนเท่าไหร่”
ยิ่งในปี 2558 ไทยจะเข้าร่วมเสรีประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้แรงงานคุณภาพในไทยหลั่งไหลไปทำงานในประเทศที่มีศักยภาพมากกว่าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแรงงานของไทยถือว่าเป็นแรงงานราคาถูกกว่าการที่ประเทศเหล่านั้นจะจ้างประชากรของตนในราคาแพง ยิ่งส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศของไทย และจะทำให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาในไทยมากขึ้นเพราะขาดแรงงานในประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงเนื่องจากปัจจุบันแรงงานคุณภาพในประเทศก็มีน้อยอยู่แล้ว
ปัญหาแรงงานเป็นอีกสิ่งที่รัฐต้องเร่งให้ความสำคัญเพราะทุกวันนี้เราไม่ได้แข่งขันกันแค่ในประเทศ แต่ต้องแข่งขันกับทั่วโลก ยิ่งพื้นฐานการศึกษาไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานคนที่เพิ่งจบยิ่งเคว้งในภาวะใบปริญญาล้นตลาด.
เตรียมตัวเองก่อนทำงาน
1. ช่วงที่เรียนควรเข้าร่วมกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก และควรทำงานพาร์ตไทม์เพราะสามารถกรอกในใบสมัครงานได้ เนื่องจากนายจ้างปัจจุบันกลัวคนที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและไม่ยอมรับความกดดัน ซึ่งการผ่านงานเหล่านี้ถือเป็นเรื่องดีสำหรับองค์กร
2. ควรมีความรู้ด้านภาษาและคอมพิวเตอร์
3. ถ้ายังเรียนไม่จบควรเข้าไปเปิดดูเว็บไซต์สมัครงานเพื่อดูคุณสมบัติงานที่ตนเองอยากทำหรือดูตำแหน่งงานใดที่มีรองรับ เพื่อจะได้เตรียมตัวเองและหาที่ฝึกอบรมเพิ่มก่อนเข้าไปสมัครงานจริง
ทีมวาไรตี้ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 11,851 ครั้ง เปิดอ่าน 22,205 ครั้ง เปิดอ่าน 3,520 ครั้ง เปิดอ่าน 11,422 ครั้ง เปิดอ่าน 10,623 ครั้ง เปิดอ่าน 11,923 ครั้ง เปิดอ่าน 18,018 ครั้ง เปิดอ่าน 12,655 ครั้ง เปิดอ่าน 9,356 ครั้ง เปิดอ่าน 16,665 ครั้ง เปิดอ่าน 11,187 ครั้ง เปิดอ่าน 28,402 ครั้ง เปิดอ่าน 11,844 ครั้ง เปิดอ่าน 11,486 ครั้ง เปิดอ่าน 10,175 ครั้ง เปิดอ่าน 37,092 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 19,411 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 62,292 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,098 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,782 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,228 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,123 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,917 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,808 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,459 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,407 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,057 ครั้ง |
|
|