Advertisement
❝ ทำไมเหรียญจึงมีด้านหัวและก้อยหันตรงข้ามกัน แต่หลังๆ มานี้เหรียญผลิตออกมาหันด้านหัว-ก้อยด้านเดียวกัน ❞
คุณกษาปณ์ หรือเรียกกันเต็มๆว่า “เหรียญกษาปณ์” ถือกำเกิดขึ้นเมื่อ 2,700 ปี ที่แล้ว เมื่อเจ้าผู้ครองแผ่นดินลิเดียที่มั่งคั่ง ประทับตราพระราชลัญจกรลงบนก้อนโลหะนาก (เงินผสมทองและทองแดง) ที่ตัดแบ่งเป็นขนาดต่างๆ ตามน้ำหนักมาตรฐานที่กำหนด(กัน)ขึ้น อีก 50 ปีต่อมา เมื่อสามารถแยกทองออกจากเงินได้ เหรียญเงินและเหรียญทองจึงถือกำเนิดขึ้น ลิเดียจึงเป็นชนชาติแรกที่ใช้เหรียญกษาปณ์ และผลิตเหรียญกษาปณ์ทองขึ้นใช้
เหรียญกษาปณ์ได้รับความนิยม แพร่หลายทั้งในประเทศลิเดียและประเทศคู่ค้า เพราะช่วยให้ชีวิตของพ่อค้าง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาตัดและชั่งโลหะกันทุกครั้งที่ตกลงการค้า นอกจากนี้ การผลิตด้วยวิธีการง่ายๆ นำก้อนโลหะตามน้ำหนักมาตรฐานมาวางบนทั่งเหล็กที่แกะรูปหัวสิงโต อันเป็นตราพระราชลัญจกร แล้วทุบด้วยค้อนนี้ กลายเป็นต้นแบบของการผลิตเหรียญกษาปณ์ ซึ่งตามทฤษฎีการตลาดพระราชลัญจกร คือแบรนด์ของสินค้า ที่ทำให้ผู้ใช้(คู่ค้า)เกิดความเชื่อมั่นและการยอมรับ ผลในทางรูปธรรมคือประเทศคู่ค้าอย่างกรีก รับมาทั้งระบบการใช้และการผลิต เหรียญกษาปณ์จึงแพร่หลายในเมืองท่ารอบทะเลเมดิเตอร์เรเนีย ขยายสู่ยุโรป แอฟริกาเหนือ และบางส่วนของเอเชีย ในยุคที่อาณาจักรโรมันที่เรืองอำนาจ
จากเหรียญหน้าเดียวที่ประทับตราเจ้าผู้ครองแผ่นดินของชาวลิเดีย กรีกใช้พื้นที่อีกด้านให้เป็นประโยชน์ นำรูปเทพเจ้าที่นับถือประทับลงไป เหรียญจึงมีสองด้าน “หัว - ก้อย” ซึ่งในช่วงแรกๆเหรียญกษาปณ์ของอาณาจักรโรมัน ก็มีรูปแบบเดียวกัน แต่ต่อมาภาพที่ปรากฏบนเหรียญหลากหลายมากขึ้น อาทิ สัญลักษณ์ของเมืองที่ผลิต เครื่องมือที่ใช้ พระบรมฉายาลักษณ์ของจักรพรรดิที่มีชื่อเสียง การชนะศึกครั้งสำคัญ และพระบรมฉายาลักษณ์ของจักรพรรดิที่ยังทรงพระชนม์ (เริ่มในสมัยจูเลียส ซีซาร์) เมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมสลาย คริสต์ศาสนาเป็นที่นับถือแพร่หลาย เครื่องหมายทางศาสนาจึงนำมาประทับบนเหรียญกษาปณ์
ภาพและตราประทับบนเหรียญ แสดงอำนาจของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบันทึกประวัติศาสตร์โลก ฐานอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไป ปกติแล้วภาพเหมือนที่ปรากฏบนเหรียญจะเป็นภาพของผู้ครองนคร แต่หากเมืองใดมีเจ้าครองนคร แต่เหรียญกษาปณ์กลับปรากฏรูปอื่น แสดงว่านครนั้นไม่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครอง พูดง่ายๆ คือเป็นเมืองขึ้น และถ้าใช้สัญลักษณ์ทางศาสนาแสดงว่าช่วงเวลานั้นอำนาจของผู้ปกครองน้อยกว่าความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา
และนี่คือเรื่องราวความเป็นมาของคุณกษาปณ์ แต่ที่ผมว่าน่าคิดในเส้นทางชีวิตของคุณกษาปณ์ คือภาวะตกรุ่น ส่วนหนึ่งเอาท์ เทรนด์ขึ้นทำเนียบของสะสม ส่วนที่ยังใช้อยู่ก็มีค่าเพียงเศษสตางค์ เส้นทางชีวิตที่ผันแปรไปของคุณกษาปญ์ คือผลจากความนิยมตามเทรนด์ที่ไม่เคยเอาท์ นั่นคือเพื่อชีวิตที่ง่ายกว่าเดิมนั่นเอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก รวมทั้งมีการพัฒนาจัดทำเหรียญที่ระลึก ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน คือ
1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 8 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท และ 1 บาท 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 5 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท และ 1 บาท 50 สตางค์, 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น
2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญตทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา
*** ข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกก็คือการวางลวดลายด้านหน้าและด้านหลัง โดนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนจะวางลวดลายแบบ American Turning ซึ่งจะต้องพลิกดูลวดลายด้านหลังในแนวดิ่ง สำหรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกได้จัดวางลวดลายแบบ European Turning ซึ่งจะต้องพลิกในแนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง ***
3. เหรียญที่ระลึก (Medal) เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะ ไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ขอขอบคุณ สุทธิรักษ์.คอม
วันที่ 31 ธ.ค. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,812 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,583 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 3,410 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,781 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,778 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,930 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,950 ครั้ง |
|
|