Advertisement
ข้าราชการเฮ ใช้บำเหน็จตกทอดค้ำประกันเงินกู้ได้ตั้งแต่ ส.ค.นี้ หลังกรมบัญชีกลางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. มีรายงานข่าวจากกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่าวันที่ 4 ก.ค.นี้ นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง จะร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) โครงการกู้เงินกับสถาบันการเงิน โดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอด ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับธนาคารพาณิชย์ 13 แห่ง คาดว่าเมื่อลงนามกับสถาบันการเงินแล้ว จะสามารถใช้บำเหน็จตกทอดดังกล่าว เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารได้ไม่เกินเดือนส.ค.นี้เป็นต้นไป
ขณะนี้กรมบัญชีกลาง ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องระบบการตรวจสอบสิทธิ การตรวจสอบข้อมูล ระหว่างกรมบัญชีกลาง ส่วนราชการ และธนาคารเรียบร้อยแล้ว โดยกรมบัญชีกลางจะออกหนังสืออนุมัติรับรองสิทธิวงเงินบำเหน็จตกทอด ส่งให้ผู้รับบำนาญตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ เพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบการขอกู้เงินกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้ ตามกฎหมายจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดจำนวน 30 เท่า ของบำนาญรายเดือนให้กับทายาทเมื่อผู้รับบำนาญเสียชีวิต แต่ได้แก้กฎหมาย โดยแบ่งเงินดังกล่าวให้ผู้รับบำนาญนำมาใช้ก่อน 15 เท่าของเงินบำนาญ เมื่อตอนออกจากราชการ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ถ้าเกิน ส่วนที่เกินจะไปขอรับได้อีกครั้งเมื่ออายุ 65 ปีบริบูรณ์ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 400,000 บาท เงินส่วนนี้ เรียกว่า เงินบำเหน็จดำรงชีพ และเงินส่วนที่เหลืออีก 15 เท่า จะเป็นเงินบำเหน็จตกทอดที่เหลือไว้ให้กับทายาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวจะนำไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน ที่เรียกกันว่า บำเหน็จค้ำประกัน นับเป็นประโยชน์กับผู้รับบำนาญ เพราะโดยปกติผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มักจะไม่ได้รับอนุมัติให้ทำนิติกรรมทางการเงิน เนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์มาค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคาร
“กรมบัญชีกลางได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับคือพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 สำหรับผู้รับบำนาญที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 สำหรับผู้รับบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. รวมทั้งออกกฎกระทรวง 2 ฉบับ เป็นหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ และเงื่อนไข ในการนำบำเหน็จตกทอด ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงิน โดยประกาศกฎกระทรวงออกไปแล้ว 1 ฉบับ สำหรับผู้รับบำนาญที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. ส่วนอีกฉบับสำหรับผู้รับบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. กำลังพิจารณาเพื่อจะประกาศออกเป็นกฎกระทรวงเช่นเดียวกัน”
สำหรับธนาคารทั้ง 13 แห่ง คือธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
ที่มา - เดลินิวส์ออนไลน์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=420&contentID=148325
Advertisement
เปิดอ่าน 22,518 ครั้ง เปิดอ่าน 5,725 ครั้ง เปิดอ่าน 2,859 ครั้ง เปิดอ่าน 32,637 ครั้ง เปิดอ่าน 7,657 ครั้ง เปิดอ่าน 21,248 ครั้ง เปิดอ่าน 13,998 ครั้ง เปิดอ่าน 33,052 ครั้ง เปิดอ่าน 7,879 ครั้ง เปิดอ่าน 13,545 ครั้ง เปิดอ่าน 8,537 ครั้ง เปิดอ่าน 8,894 ครั้ง เปิดอ่าน 29,105 ครั้ง เปิดอ่าน 26,080 ครั้ง เปิดอ่าน 10,255 ครั้ง เปิดอ่าน 8,164 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 3,059 ☕ 5 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 118 ☕ 22 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 154 ☕ 22 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 529 ☕ 19 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 692 ☕ 15 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 793 ☕ 15 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 3,403 ☕ 13 พ.ย. 2567 |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,034 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,847 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,078 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,423 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,131 ครั้ง |
|
|