Advertisement
ประเพณีการทำบุญตรุษ
ประเพณีที่กล่าวถึงนี้เรียกว่าตรุษ คำว่าตรุษนี้เป็นคำไทยที่แผลงมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ตัด หมายความว่าตัดปีหรือสิ้นปี ทางประวัติท่านว่า ตรุษ เกิดขึ้นในสมัยที่ไทยเรากำหนดเอาเดือน 5 เป็นต้นปี ถือเอาวันสิ้นเดือน 4 เป็นสิ้นปี ประเพณีทำบุญตรุษของเราที่ยังนิยมกันอยู่ บัดนี้ก็เริ่มตั้งแต่วันแรม 14 ค่ำ เดือน 5 ถึงวันขึ้นค่ำหนึ่ง เดือน 5รวมเวลา 3 วันเป็นปกติ แต่ในบางถิ่นเพิ่มเวลาขึ้นมากกว่านั้นก็มี ที่รวมเอาวันเดือน 5 เข้ามาด้วยนี้ ก็เพราะรวมเอาวันปีใหม่ทางจันทรคติเข้ามาด้วย มีปรากฏในตำนานนางนพมาศหรือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่าเคยมีมาแล้ว แต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของเมืองไทยเรา พระมหากษัตริย์ผู้ครองประเทศในครั้งนั้นทรงรับเอามาเป็นพระราชพิธี ทรงทำบุญพระราชกุศลเนื่องด้วยศาสนาเป็นการประจำ แต่เรียกตามทางราชกาลว่าพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ คือทำบุญวันสิ้นปีหรือทำบุญส่งปีเก่าประเพณีทำกันมาจนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เดี๋ยวนี้ทางราชการยกเอาไปรวมกับพิธีสงกรานต์เรียกรวมกันว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ แต่ของชาวบ้านยังมีอยู่อย่างเดิม และยังทำอยู่ทั่วไปตามท้องถิ่นต่างๆ ในเมืองไทยของเรานี้
ต่อมาเรารับเอาวิธีนับปีทางสุริยคติ ซึ่งถือเอาวันอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราษีเมษ ซึ่งกำหนดเอาวันที่ 15 เมษายนของปีเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ตามวิธีนับอย่างนั้น ส่วนปีปฎิทินของเราก็คงยังเป็นอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จึงมีวันนัตขัตฤกษ์เป็น 2 ระยะขึ้น มีสิ่งที่ประกอบในพิธีละม้ายคล้ายคลึงกันมากทั้งของกินของใช้ ตลอดถึงพิธีการต่าง ๆ เนื่องในขัตฤกษ์นี้ เช่น สรงน้ำพระแห่พระ ชักพระ บังสกุลอัฎฐิบรรพบุรุษ รดน้ำผู้ใหญ่แจกของกิน เลี้ยงเด็ก ก่อพระทราย ปล่อยนก ปล่อยปลา การเล่นสนุกสนานรื่นเริงต่าง ๆ ยิงปืน เลี้ยงญาติมิตรเป็นต้น ก็คล้ายคลึงกันทั่วไป
ต่อมาเราได้แยกเอาตรุษไว้พิธีหนึ่ง สงกรานต์ไว้พิธีหนึ่งเอาตรุษเป็นส่งปีเก่า เอาสงกรานต์ไว้เป็นรับปีใหม่ดูก็ดีเหมือนกัน เมื่อเราถือทั้งพรหมณ์ทั้งพุทธ แต่ทุกพิธีเรามีพิธีทางศาสนาเป็นสำคัญที่สุดประเพณีทำบุญตรุษนี้เป็นนักขัตฤกษ์สำคัญครั้งหนึ่งในปีหนึ่งเรามีชื่อเรียกกันเป็นสามัญว่าตรุษไทย ของทำบุญที่สำคัญก็คือ ขนมจีน น้ำยา น้ำพริก ข้าวเหนียวแดง การทำของเหล่านี้ก็ประกวดประขันกันมาก ทำกันจริง ๆ จัง ๆ ทำด้วยน้ำใจอันงามของไทยเรา เมื่อเราได้ตระเตรียมพร้อมแล้วถึงวันแรม 14 ค่ำ ตื่นแต่เช้ามืด แต่ก่อนมาคงได้ยินเสียงปีน แต่เดี๋ยวนี้คงไม่ได้ยินข้อนั้นถูกแล้ว เตรียมชำระกายแต่งด้วยเสื้อผ้าที่เตรียมพิเศษ ถ้าเป็นหนุ่ม ๆ สาว ๆ ต้องประกวดประขันกันเป็นพิเศษอีกด้วยจัดของทำบุญแล้วถือดอกไม้ธูปเทียน ชวนลูกหลานออกจากบ้านพากันไปยังวัดที่ปรารถนาจะไป ถึงแล้วเข้าในโบสถ์ บูชาพระทำบุญเลี้ยงพระ ฟังอนุโมทนา เลี้ยงกันเอง แจกของคาวของหวานกันจนทั่งถึงแล้วกลับบ้านพักงานเล่นการสนุกสนานตามควรแก่ถิ่นนั้น ๆรุ่งขึ้นเป็นวันพระ วันนี้มีศรัทธาควรรักษาอุโบสถ์ศีลฟังเทศนาสนทนาธรรม สวดมนต์ตามนิยมในถิ่นนั้น ๆ อยู่วัดตลอดคืนแล้วกลับบ้านรุ่งขึ้นก็ทำบุญโดยทำนองเดียวกันวันต้นการเล่นสนุกสนานมีบ้างสำหรับหนุ่มสาวประเพณีตรุษยังเหลืออยู่ทั่วไปเพียงเท่านี้ ส่วนประเพณีอื่นยกไปรวมในวันสงกรานต์หมดดูก็สมควรดี เพราะเหมาะแก่ภาวะของท้องถิ่นและบุคคลนั้น ๆ.....
วันที่ 28 ธ.ค. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,313 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,985 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,536 ครั้ง |
เปิดอ่าน 35,404 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,740 ครั้ง |
|
|