Advertisement
คุรุ ความหมายของคำว่าครูที่แท้จริง |
|
|
ครู มาจากคำว่า คุรุ แปลว่าหนัก ภาระที่ครูจะต้องนำลูกศิษย์ไปให้พ้นปากเยี่ยวปากกา ภาระที่ครูจะต้องนำลูกศิษย์ให้บรรลุ มรรค ผลนิพพานไม่ใช่เรื่องเล่น ๆเป็นภาระที่หนัก....
ในทางธิเบตนั้น ความหมายของครูหมายความว่าอย่างไร ทางธิเบตถือว่าถ้าไม่มีครูเราก็จะไม่สามารถเข้าถึงพระธรรมอันประเสริฐได้นั้นคือพระไตรรัตน์ เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะนึกถึงพระไตรรัตน์ ก่อนที่จะกล่าวคำอาราธนาขอไตรสรณคมน์เป็นที่ระลึกถึง ชาวธิเบตจะกราบครูบาอาจารย์เสียก่อน ขอยึดถือครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่งที่ระลึกก่อน เพราะถ้าไม่มีครูที่ดีแล้วก็จะไม่มีคนสั่งสอนอบรมความหมายสาระของไตรสรณคมน์ เวลาที่เขาทำพิธีรับศิษย์อาจารย์นั้นเขาจะไม่ทำพร่ำเพรื่อ เขาไม่รับลูกศิษย์นับร้อยนับพัน แต่ถ้าอาจารย์ท่านใดรับลูกศิษย์แล้ว ลูกศิษย์จะต้องไปแสวงอาจารย์เมื่อเฝ้ามองแน่ใจแล้ว ว่าอาจารย์ผู้นี้เราจะขอเป็นครูของเรา หมายถึงว่าเขาจะต้องมีความผูกพันธ์กับชีวิตของเราไม่ใช่ว่าจนสิ้นชีวิตชาตินี้ แต่ไปจนบรรลุมรรคผลนิพพาน จะเห็นความสัมพันธ์อันงดงามระหว่างครูกับศิษย์ เมื่อครูตายครูก็จะไปบอกศิษย์แม้จะอยู่คนละภพกันแล้ว ก็ยังติดตามดูแลลูกศิษย์ เพราะว่าท่านมีความรับผิดชอบต่อลูกศิษย์เพื่อจะประคับประคองให้ไปถึงฝั่งพระนิพพาน อาตมาคิดว่า เรื่องตาที่สาม2 เป็นเรื่องที่ให้ภาพความสัมพันธ์ศิษย์กับอาจารย์ได้ดีที่สุดเล่มหนึ่ง ถ้าใครสนใจก็ลองหาอ่านเอา เมื่อเป็นอย่างนั้นการรับเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กันนั้นต้องทุ่มเท เคี่ยวเข็ญให้ลูกศิษย์ได้รู้ธรรมอันสูงสุด บางครั้งอาจารย์จะเก่งอีกทางหนึ่ง แต่ไม่เก่งอีกทางหนึ่ง แต่เห็นว่าศาสตร์แขนงนี้จะช่วยลูกศิษย์ได้ สมมุติว่าอาจารย์ ก.ได้รับนาย ข. เป็นลูกศิษย์ และนาย ข. ก็ถือว่า นาย ก. เป็นรูทซ์คูรุ เป็นครูดั้งเดิมครูองค์ประถม เมื่อพิจารณาดูแล้วว่านาย ข.ควรจะมีความรู้เรื่องนี้ ๆ ซึ่งตัวอาจารย์เองไม่มี อาจารย์ก็จะทำหน้าที่ติดต่อให้ขอให้ลูกศิษย์ไปอยู่กับอาจารย์ท่านโน้นที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นพิเศษอย่างนี้ก็แสดงว่าอาจารย์ของธิเบตวัชรยานไม่มีพวกไม่แบ่งเขาแบ่งเราไม่เป็นอาจารย์ของคนใดคนหนึ่ง
เมื่อเราระลึกถึงครูใกล้ตัวที่สุดของเราก็คือ แม่ สูงสุดของเราก็คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครู ทำไมจึงยกให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบรมครู เพราะว่าความจริงที่ท่านค้นพบนั้นเป็นความจริงอันประเสริฐ ที่จะช่วยเหลือเราสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ก้าวล่วงความทุกข์ไปได้นี่ก็คือครูคนสำคัญของเรา ที่เราจะต้องมีเป้าหมายดำเนินตามรอยพระบาทของท่าน
ลูกศิษย์ที่ดีต้องกรำกับการเคี่ยวเข็ญของครู ครูที่ดีก็ต้องมีอุตสาหะ วิริยะการที่จะเคี่ยวเข็ญลูกศิษย์ให้ได้ศักยภาพอย่างเต็มที่ ลองพิจารณาตัวเองว่าเราเป็นครูที่ดีหรือเปล่า มีศิษย์ที่ดีหรือเปล่า เอาสองอย่างนี้เข้ามาพิจารณา แล้วเราจะค่อย ๆ เติบโตขึ้นมาด้วยกัน นำไปสู่ชีวิตที่ประเสริฐ ทั้งศิษย์ และ ครู เมื่อถึงจุดนั้น ศิษย์ก็เป็นครู ครูก็เป็นศิษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับครูก็เปรียบเหมือนสายรุ้งเช่นกัน หากเราเป็นครูเราก็ต้องเป็นครูที่ดี หากเราเป็นศิษย์เราก็ต้องเป็นศิษย์ที่ดี..................
|
ที่มา www.thaibhikkhunis.org
วันที่ 28 ธ.ค. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,607 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 1,564 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,966 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,311 ครั้ง |
เปิดอ่าน 206,247 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,122 ครั้ง |
|
|