Advertisement
โดย สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ
ที่มา มติชนออนไลน์
ในอดีตสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญอย่างมากในด้านการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting) ความเป็นตัวกลางการนำคัดและเลือกเสนอข้อมูลข่าวสารในสังคม (Gatekeeper) หรือแนวคิดผู้นำทางความคิดของสังคม (Opinion Leader) แต่ปัจจุบันนี้ บทบาทของสื่อมวลชนซึ่งถือเป็นแกนสำคัญของเหล่านี้ กำลังถูกสื่อใหม่ หรือ “นิวมีเดีย” (New Media) ท้าทาย หรืออาจถึงขั้นแนวคิดและทฤษฎีบางทฤษฎีถูกลบความสำคัญจากตำรายุคใหม่ให้เป็นเพียงประวัติการศึกษาถึงผลกระทบของสื่อมวลชนต่อผู้อ่านเลยทีเดียว
นี่ยังไม่รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีในวิชาการนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชนอีกหลายทฤษฎีที่ปรากฏการณ์ของการเกิดขึ้นของสื่อใหม่ได้ทำให้แนวคิดและทฤษฎีเหล่านั้นลดความสำคัญไปมาก เช่น ทฤษฎีการไหลของข่าวสาร (Information Flow) ได้แก่ ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle) ที่เชื่อว่าสื่อมวลชนมีบทบาทและทรงอิทธิพลอย่างมากต่อผู้รับสาร ทฤษฎีการไหลของข่าวสารสองขั้นตอน (Two step Information flow) ที่สื่อมวลชนมีบทบาทในการเลือกหยิบนำเสนอข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยเป็นผู้รายงานข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งมีมากมายในสังคม
นอกจากนั้น ทฤษฎีแนวเศรษฐศาสตร์ของสื่อ (Media Economics) ได้แก่ การผลิตข่าวสารมวลชน (Mass Production) การเผยแพร่ข่าวสารมวลชน (Mass Distribution) การผูกขาดของสื่อมวลชน (Media Monopolies) ก็กำลังถูกท้าทายจากสื่อใหม่
หากย้อนรอยเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นของสื่อใหม่ทำให้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับบาทและอิทธิพลของสื่อมวลชนต้องหันไปในทฤษฎีบางสำนักที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เช่น ทฤษฏีแนววิพากษ์สื่อ (Media Criticism) หรือทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด (Technology Determinism)
นักวิชาการคนแรกๆ ที่สนใจเรื่องนี้คือ ฮาโรลด์ อินนิส (Harold A Innis) นักวิชาการชาวแคนาดา แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต้ (University of Toronto) ปรากฏความคิดในหนังสือชื่อ “Empire and Communication” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1950 ราว พ.ศ.2493 และ “The BIAS of Communication” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494) ความชัดเจนของแนวคิดเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดชัดเจนยิ่งขึ้น
เมื่อมีคำพูดของ มาร์แชล แมคลูฮัน (Marshall McLuhan) นักวิชาการสื่อชาวอเมริกาซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของอินนิส ที่ว่า “Medium is Massage” ในหนังสือชื่อ “Understanding Media : The Extensions of Man” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ.2507) คำพูดที่นับว่าเป็นวรรคทองในหนังสือเล่มนี้ แสดงให้เห็นว่า สื่อเป็นตัวกำหนดรูปแบบการสื่อสารของมนุษยชาติ
จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ.2532) หนังสืออีกเล่มของ แมคลูฮัน ชื่อ “The Global Village” ซึ่งปรากฏคำว่า “สังคมข่าวสาร” (Information Society) เป็นครั้งแรก อาจถือเป็นครั้งแรกที่จุดประกายแก่นักวิชาการสื่อสารมวลชนทั่วโลกให้หันมาสนใจทำความเข้าใจกับการสื่อสารไร้พรมแดนนับแต่บัดนั้น จะเห็นได้ว่าอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2512 และประมาณปี พ.ศ.2530
ขณะที่นักวิชาการคนไทยได้เริ่มนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาในประเทศไทย นับเป็นเวลาไล่เลี่ยกับการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ของแมคลูฮัน จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ของแมคลูฮันคือ การนำเสนอให้เห็นถึงสภาพของเทคโนโลยีสื่อในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
หลังจากนั้น คำว่า สื่อใหม่ (New Media) ก็ค่อยๆ ปรากฏขึ้นในแวดวงเวทีนักวิชาการผู้สนใจศึกษาทำความเข้าใจสื่อมวลชนตามแนวคิดเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด
เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไป ระบบการสื่อสารของสังคมโดยเฉพาะสื่อสารมวลชนก็จะปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่โลกเทคโนโลยีสารสนเทศไปด้วย โดยที่ยังทำหน้าที่และบทบาทหลักของตนเองอยู่ในด้านปรัชญาพื้นฐานสำคัญของความจริง ความถูกต้อง ความตรงไปตรงมา ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม และความรับผิดชอบ โดยยังเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร แหล่งบันเทิงใจ เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารเปลี่ยน รูปแบบและกระบวนการสื่อสารก็เปลี่ยนตามไปด้วย ดังเช่นกรณีการเกิดขึ้นของ “ชุมชนไซเบอร์” (Cyber Community)
เทคโนโลยีการสื่อสารย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรม จากเดิมที่เน้นการสื่อสารด้วยภาษาคำพูด มาเป็นภาษาตัวอักษร จนปัจจุบันเป็นภาษาดิจิตอล (Digital Language) การเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สื่อเครือข่ายสังคม (Social Network) เป็นต้น ทำให้พฤติกรรมและจิตวิทยาการสื่อสารในสังคมเปลี่ยนแปลงไป บทบาทของผู้รับสารส่วนใหญ่ในสังคมก็เปลี่ยนจากเดิมที่เคยเป็นเพียงผู้รับ (Passive Audience) มาเป็นผู้สืบค้นและรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยตัวเองแทน (The Active Audience) นอกจากนั้น การไหลของข่าวสารในสังคมจะมีความหลากหลายช่องทางมากขึ้น
ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ จากยุคดั้งเดิมมนุษย์มีสื่อสารตัวต่อตัว เป็นคำพูดหรือมุขปาฐะ เทคโนโลยีสื่อจึงได้วิวัฒนาการสื่อทำให้มนุษย์สื่อสารกันผ่านสื่อมวลชนเหมือนๆ จำนวนมาก (Mass Media) เกิดสื่อมวลชนขึ้นมาหลายประเภท เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
แต่ในปัจจุบันการสื่อสารในสังคมเป็นแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึ้น แต่ก็มีความหลากหลายได้ในเวลาเดียวกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า “สื่อเครือข่ายสังคม” หรือ “โซเชียล มีเดีย” (Social Media) เช่น ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค ไฮไฟ ยูทูป เป็นต้น ได้นำผู้คนกลับมาพบกันแบบตัวต่อตัวมากขึ้น พร้อมๆ กันบางกรณีก็เป็นคนในเครือข่ายเดียวกัน แต่สิ่งที่ยอมรับกันว่าสื่อเก่าไม่มีมากนักก็คือความเป็น “พื้นที่สาธารณะ” ของการแสดงความคิดความเห็นทางการเมือง (Political public sphere)
ที่กล่าวมานี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าภูมิทัศน์สื่อ (media landscape) ได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้รูปแบบการสื่อสารของคนในสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป นักสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะสื่อเก่าจะก้าวพร้อมๆ กัน รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร หากไม่มีการปรับตัวจากความเคยชินเดิมๆ.
Advertisement
เปิดอ่าน 97,950 ครั้ง เปิดอ่าน 16,493 ครั้ง เปิดอ่าน 13,196 ครั้ง เปิดอ่าน 26,787 ครั้ง เปิดอ่าน 16,560 ครั้ง เปิดอ่าน 54,872 ครั้ง เปิดอ่าน 15,488 ครั้ง เปิดอ่าน 41,780 ครั้ง เปิดอ่าน 9,361 ครั้ง เปิดอ่าน 14,140 ครั้ง เปิดอ่าน 176,543 ครั้ง เปิดอ่าน 174,774 ครั้ง เปิดอ่าน 18,792 ครั้ง เปิดอ่าน 22,564 ครั้ง เปิดอ่าน 39,136 ครั้ง เปิดอ่าน 12,686 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 55,322 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 176,543 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,983 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 174,774 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,407 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,993 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,941 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,007 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,193 ครั้ง |
เปิดอ่าน 79,660 ครั้ง |
|
|