Advertisement
เพลงพระราชนิพนธ์ "ชะตาชีวิต"
ชะตาชีวิต
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ "จ้อง"
นกน้อยคล้อยบินมาเดียวดาย
คิดคิดมิวายกังวลให้หม่นฤทัยหมอง
ขาดมวลมิตรไร้คนสนิทคู่เคียงครอง
หลงใหลหมายปองคนปรานี
ขาดเรือนแหล่งพักพำนักนอน
ขาดญาติบิดรและน้องพี่
บาปกรรมคงมีจำทนระทม
ท้องฟ้าสายัณห์ตะวันเลือน
แสงลับนับวันจะเตือนให้ใจต้องขื่นขม
หากเย็นลงฟ้าคงยิ่งมืดยิ่งตรอมตรม
ชีวิตระทมเพราะรอมา
จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง
เฝ้ามองให้เดือนชุบวิญญาณ์
สักวันบุญมาชะตาคงดี
The H.M. Blues
Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: H.H. Prince Chakrabandh Pensiri
We’ve got the Hungry Men’s Blues.
You’ll be hungry too, if you’re in this band.
Don’t you think that our music is grand?
We’ve got the Hungry Men’s Blues.
You’ve eaten now all of you.
We’d like to eat with you too,
That’s why we’ve got the H.M. Blues.
เกร็ดประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ในปลาย พ.ศ. 2489 ขณะที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษา ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีกวาระหนึ่งหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว
เพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต เป็นเพลงเดียวที่ทรงพระราชนิพนธ์ในแบบบลูส์แท้ๆ โดยไม่มีสเกลอื่นปะปนเลย ต่อมาเมื่อบรรเลงในวงบิกแบนด์ (Big Band) จึงเล่นให้เร็วและกระชับขึ้นโดยบรรเลงเป็นบลูส์สวิง คือนำเอาจังหวะสวิงของแจสมาผสมกับบลูส์
เนื้อร้องของเพลงนี้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในชั้นต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษขึ้นก่อน โดยใช้ชื่อว่า H.M. Blues ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหมายถึง His Majesty’s Blues แต่แท้จริงหมายถึง Hungry’s Men’s Blues เพราะเหตุว่าในงานรื่นเริงที่ทรงเชิญข้าราชบริพาร นักเรียนไทย ไปร่วมงานเป็นการส่วนพระองค์นั้น ทรงบรรเลงเพลงเป็นเวลาถึงครึ่งคืนโดยมิได้หยุดเพื่อเสวยพระกระยาหารเลย ในขณะที่ผู้ได้รับเชิญทุกคนได้รับพระราชทานอาหารอิ่มหนำสำราญ เนื้อหาในภาษาอังกฤษจึงแสดงอารมณ์ขันและแฝงความสนุกสนานต่างกับท่วงทำนองของเพลงบลูส์
ส่วนเนื้อร้องภาษาไทยซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ ศ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์นั้น ศ.ดร. ประเสริฐ เล่าว่า ด้วยเหตุที่ไม่ทราบเนื้อร้องภาษาอังกฤษเพราะโน้ตเพลงและเนื้อร้องภาษาอังกฤษอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื้อร้องจึงมีความหมายแตกต่างกันอย่างมาก ศ.ดร. ประเสริฐประพันธ์เนื้อร้องภาษาไทยโดยใช้อารมณ์แบบเพลงบลูส์เป็นหลัก เนื้อร้องพรรณนาถึงความทุกข์ของคนซึ่งยากไร้ทุกสิ่งทุกอย่าง สีสันของทำนองเพลงในภาษาไทยจึงหม่นหมอง เศร้า และเดียวดาย แต่ในตอนท้ายยังได้สอดแทรกความหวังว่าสิ่งที่ดีอาจเกิดขึ้นต่อไปได้ ซึ่งก็เป็นไปตามหลักพระราชประสงค์ คือตอนท้ายต้องสะท้อนปรัชญาชีวิตที่ให้มีความหวังอยู่ด้วย “เป็นเพลงบลูส์นี่ ก็ให้มันเป็นเพลงเศร้า แต่ว่าในตอนท้ายก็ต้องให้เป็นว่า "สักวันบุญมาชะตาคงดี" อะไรประเภทนี้ ให้ต้องกับพระราชประสงค์” การประพันธ์เนื้อร้องในตอนต้น ศ.ดร. ประเสริฐเข้าใจผิดว่าโน้ตครึ่งเสียงหรือเสียง Minor ควรจะแต่งเนื้อด้วยคำตาย เช่น "หากเย็นลงฟ้าคงยิ่งมืดยิ่งมัวมิด" แต่ภายหลังได้รับคำชี้แจงจากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ และทรงช่วยปรับปรุงแก้ไข เนื้อร้องจึงไพเราะขึ้น
วันที่ 26 ธ.ค. 2551
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,195 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย
เปิดอ่าน 7,189 ☕ คลิกอ่านเลย
เปิดอ่าน 7,179 ☕ คลิกอ่านเลย
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,565 ครั้ง
เปิดอ่าน 13,793 ครั้ง
เปิดอ่าน 12,715 ครั้ง
เปิดอ่าน 9,720 ครั้ง
เปิดอ่าน 17,378 ครั้ง