ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิบัติการและวิธีวิทยาทางสังคมของฟูโก


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,146 ครั้ง
Advertisement

ปฏิบัติการและวิธีวิทยาทางสังคมของฟูโก

Advertisement

❝ หากจะนับนักคิดที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นสุดยอดปัญญาชนของฝรั่งเศส ที่มีการแข่งขันกันในความเป็นสุดยอดนับจากช่วงทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมาแล้ว คงยากที่จะปฏิเสธจตุเมธีแห่งยุคร่วมสมัย อันประกอบด้วย Roland Barthes นักวิจารณ์วรรณกรรม Jacques Lacan นักจิตวิทยาหัวรุนแรง Claude Levi-Strauss นักมานุษยวิทยาแนวโครงสร้างนิยม และ Michel Foucault ผู้เป็นปฏิปักษ์กับการครอบงำจำจองจากความคิดหลัก (Grand Narrative) และโครงสร้างที่เปรียบได้กับกรงเหล็ก (Iron Cage) ที่กักขังความคิดของคนในสังคมให้อยู่ภายใต้กรอบหรือขอบเขตที่กำหนดขึ้น อันส่งผลให้เขาก้าวมาเป็นแถวหน้าของแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ที่มีบทบาทสำคัญในแวดวงการศึกษาหลายสาขาในปัจจุบัน โดยเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รวบรวมมุมมองและทัศนียภาพของก่อนสมัยใหม่ (Premodern) สมัยใหม่ (Modern) และหลังสมัยใหม่ (Postmodern) มาไว้ด้วยกัน Michel Foucault มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ.1926-1984 เขาเป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เกิดที่ Poitiers ซึ่งอยู่ในเขตชนบทของประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากเขามีพื้นฐานมาจากครอบครัวของศัลยแพทย์ ฟูโกจึงได้ประกอบอาชีพทางด้านจิตวิทยา และได้ทำหน้าที่แพทย์ฝึกหัด ณ โรงพยาบาลโรคจิตที่ St.Anne?s Mental Hospital ในกรุงปารีส จากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ทำให้เขาเริ่มตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ในเรื่อง ?ความรู้กับอำนาจ? (Knowledge and Power) และได้พัฒนาผลงานเชิงวิพากษ์ของเขาขึ้นมาเกี่ยวกับ ปฏิบัติการตามปกติ (Normative Practice) เช่น เรื่องของการแพทย์และเวชกรรม และกิจกรรมทั่วไปทางสังคม ภายหลังจากที่ Foucault ได้รับประกาศนียบัตรด้านปรัชญาและจิตวิทยา (the Licence de Philosophie and the Licence de Psychologie) จากมหาวิทยาลัย Sorbonne เขาก็ได้รับปริญญาโททางด้านจิตวิทยาและพยาธิวิทยา (the Diplome de Psycho-Pathologie) จากมหาวิทยาลัยแห่งปารีส (University of Paris) ในปี 1952 นับจากปี 1970 เป็นต้นมาจนกระทั่งการถึงแก่กรรม เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานคนหนึ่งของที่ the College de France ที่ซึ่งเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์และระบบคิด ❞

ปฏิบัติการทางสังคมของ Foucault

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า Michel Foucault เป็นนักคิดที่เป็นปฏิปักษ์กับการครอบงำจากความคิดหลัก (Grand Narrative) และการแยกเอาความแตกต่าง (Difference) ออกไปจากระบบ ของแนวคิดโครงสร้างนิยม (Structuralism) เขาให้ความสนใจในกลุ่มที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ (Marginalized Groups) เช่น คนวิกลจริต ผู้ต้องขัง และกลุ่มคนรักร่วมเพศ Foucault มีความเชื่อว่าความแตกต่างของพวกเขาได้ทำให้พวกเขาถูกกีดกันออกไปจากพลังอำนาจทางการเมือง (Political Power)

Foucault ได้เขียนงานซึ่งอธิบายว่า ความรู้หรือบรรทัดฐานต่างๆ ที่ถูกทำให้เป็นเครื่องมือในคริสตศตวรรษที่ 17-18 ของยุโรปตะวันตก เขาพบว่ามีการเกิดขึ้นของสถาบันที่ถูกจัดระเบียบอย่างเคร่งครัดต่างๆ เช่น สถานกักกันคนวิกลจริต, คุก, โรงพยาบาลบ้า ที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติหรือจัดการกับความแตกต่าง สำหรับเขาแล้ว สถาบันเหล่านี้ คือ การแสดงออกของอำนาจทางการเมือง

Foucault ถือว่า “อำนาจสร้างความชอบธรรม” (Might Makes Right) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ “ความรู้ คือ อำนาจ” (Knowledge is Power) โดยอาจกล่าวได้ว่าในกรณีแรกเป็นเรื่องของพลังทางกายภาพ (Physical Force) ส่วนกรณีหลังเป็นเรื่องของพลังทางความคิด (Mental Force) ซึ่งเป็นความพยายามของคนกลุ่มน้อยในสังคมที่มีอำนาจ เช่น นักการเมือง นายทหาร และพ่อค้า ซึ่งสามารถที่จะไปกำหนดหรือยัดเยียดความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรม หรือความจริง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นความคิดหลัก (Grand Narrative) ให้กับคนกลุ่มใหญ่ยอมรับได้

ในประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ (Knowledge) กับอำนาจ (Power) ทั้งคู่ต่างมีปฏิบัติการ (Practice) ต่อกันโดยผ่านภาษา (Language) และวาทกรรม (Discourse) ซึ่งต่างเป็นระบบและกระบวนการในการสร้าง (Construct) อัตลักษณ์ (Identity) และความหมาย (Significance) โดยวาทกรรมถูกสร้างขึ้นจากความแตกต่างระหว่างสิ่งที่สามารถอธิบายภายใต้กฎเกณฑ์และตรรกะชุดหนึ่ง กับสิ่งที่ถูกพูดอย่างแท้จริง ดังนั้น วาทกรรมจึงสร้างคำอธิบายภายใต้กฎเกณฑ์ชุดหนึ่ง โดยกฎเกณฑ์นี้จะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างหรือปฏิบัติการทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นการดำรงอยู่ (Living) การเปลี่ยนแปลง (Changing) หรือการสูญสลายไป (Disappear) ของสรรพสิ่ง  ยกตัวอย่างเช่น

วาทกรรมทางด้านเพศ (Gender Discourse) ที่สร้างความหมายให้กับคนในสังคมว่ามี 2 กลุ่ม คือ เพศชาย (Male) กับเพศหญิง (Female) เท่านั้น หรืออาจแบ่งคนเป็น 2 ลักษณะ คือ คนปกติ (Normal) กับคนไม่ปกติ (Abnormal)

วาทกรรมทางด้านชนชั้น (Class Discourse) ที่สร้างความหมายให้กับคนในสังคมว่าเป็น ชนชั้นสูง (Highs Class) ชนชั้นกลาง (Middle Class) ชนชั้นล่าง (Lower Class)

วาทกรรมทางการพัฒนา (Development Discourse) ที่สร้างความหมายให้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็น การพัฒนา (Developed) กำลังพัฒนา (Developing) หรือ ด้อยพัฒนา (Undeveloped)

จากตัวอย่างของการสร้างวาทกรรมดังกล่าว นับว่าเป็นรูปแบบการใช้อำนาจที่แยบยล  เป็นกลวิธีหรือเทคนิคในการควบคุมของสังคมสมัยใหม่ Foucault เชื่อว่ายิ่งมีความเฉพาะเจาะจง (Specific) ความเป็นส่วนตัว (Personality) หรือมีเอกลักษณ์ (Identity) สูงเท่าใด การควบคุมก็จะมีมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย โดยผู้ที่อ่อนแอ หรือผู้ที่เสียเปรียบ อันเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ไม่มีความรู้ จะถูกจัดระเบียบควบคุมจากผู้ที่แข็งแรงกว่า ดังนั้น ในเรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องของการใช้อำนาจและความรุนแรงเข้าไปบังคับจัดการของวาทกรรมชุดหนึ่ง ขณะเดียวกันก็จะปิดกั้นและทำลายมิให้สิ่งที่แตกต่างไปจากเอกลักษณ์และความหมายของสิ่งที่วาทกรรมนั้นสร้างขึ้นปรากฏตัวขึ้นในสังคม ดังนั้น วาทกรรมกับเรื่องอำนาจและความรุนแรงเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก 

Foucault เชื่อว่าความโดดเด่นของอำนาจอยู่ที่การผลิตความรู้ เอกลักษณ์ และความจริง เขาแสดงให้เห็นถึงอันตรายของสิ่งที่เรียกว่า “ความรู้” และความอยากรู้ ว่าเป็นเรื่องของความรุนแรง และการทำลายล้างมากกว่าเป็นเรื่องของความสงบสุข เพราะมนุษย์ได้ลดทอนความรู้ให้เป็นเพียงวัตถุหรือสิ่งที่ถูกศึกษา เพื่อตอบสนองความอยากรู้ของความรู้ได้ 

สรุปได้ว่า Foucault ใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการวิพากษ์วิจารณ์วาทกรรมอำนาจดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวพันกับความเป็นสมัยใหม่ (Modernity) และลัทธิมนุษยนิยม (Humanism) พร้อมกับเสนอแนวคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับความตายของมนุษย์ (Dead of Human) และการพัฒนามุมมองใหม่ทางสังคม ความรู้ วาทกรรม และอำนาจ เขาเชื่ออย่างหนักแน่นว่าวาทกรรมเป็นมากกว่าเรื่องของภาษา ที่เป็นเพียงคำพูดหรือการตีความ แต่เป็นเรื่องของอำนาจที่แสดงออกมาในรูปของปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discursive Practices) ในสังคม ขณะที่แหล่งที่สร้างกฎเกณฑ์ที่สำคัญในสังคม ได้แก่ อำนาจ (Power) แต่มิใช่อำนาจในรูปแบบหยาบกระด้างอย่างการใช้กำลังบีบบังคับ แต่เป็นอำนาจที่มากับ “ความรู้” (Knowledge) ในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งไม่ใช่ความรู้ทั่วไป แต่เป็นความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น วิทยาศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ อาชญาวิทยา และเพศศึกษา

วิธีวิทยาทางสังคมของ Foucault 

วิธีวิทยาทางสังคมของ Foucault เน้นที่การวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse  Analysis) คือ พยายามศึกษากระบวนการ ขั้นตอน หรือลำดับเหตุการณ์ และรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ในการสร้างเอกลักษณ์และความหมายของสิ่งต่าง ๆ ในรูปของวาทกรรม และปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discursive Practices) ว่าด้วยเรื่องนั้น ๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีการต่อสู้เพื่ออำนาจนำ (Hegemony) ในการกำหนดกฎเกณฑ์เป็นอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาทางด้านปรัชญาประวัติศาสตร์ (Historico-Philosophical Studies) เขาได้พยายามที่จะพัฒนาและพิสูจน์เรื่องนี้ จากหลากหลายมุมมอง ทั้งจิตวิทยา การแพทย์ การลงโทษ และอาชญวิทยา ตลอดจนการปรากฏตัวขึ้นมาของสาขาวิชามนุษยศาสตร์ (Human Sciences) การก่อตัวขึ้นมาของเครื่องมือที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รักษาระเบียบวินัย (Disciplinary) อย่างหลากหลาย และการสร้างตัวขึ้นมาของอัตวิสัย (Subject) ของบุคคล

Foucault ต้องการที่จะเขียนงานวิจารณ์เกี่ยวกับยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งพิจารณาในฐานะที่เป็นปัญหารูปแบบสมัยใหม่ของความรู้ ความมีเหตุมีผล สถาบันทางสังคม และความเป็นอัตวิสัย (Subject) ที่ดูเหมือนจะมีที่มาที่เป็นธรรมชาติ แต่ในข้อเท็จจริง สิ่งเหล่านี้เป็นผลผลิตทางสังคมประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้คาดหมายมาก่อนของอำนาจและการครอบงำ (Contingent Sociohistorical Constructs of Power and Domination)

นอกจากนี้ Foucault ไม่ได้เสนอทฤษฎีที่เป็นการรวบรวมขึ้นมาใดๆ เกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ เขาเพียงวิพากษ์เกี่ยวกับอภิทฤษฎี (Meta Theory) ที่เชื่อกันว่า ได้อ้างถึงการให้คำอธิบายที่เป็นวัตถุวิสัย (Objective) เกี่ยวกับความจริง เพราะว่าสำหรับเขาแล้ว มันไม่มีคำตอบสุดท้าย หรือที่เรียกว่า คำตอบสูงสุด (Ultimate Answer) ที่รอคอยการค้นพบแต่อย่างใด ปฏิบัติการทางวาทกรรมเกี่ยวกับความรู้ (The Discursive Practices of Knowledge) ไม่ได้เป็นอิสระจากวัตถุหรือเรื่องราวที่ถูกศึกษา และจะต้องถูกทำความเข้าใจในบริบททางสังคมและการเมืองของมัน

กล่าวได้ว่า โจทย์ทางสังคมสำคัญของ Foucault ไม่ใช่ “อะไร คือ ความรู้?” (What is Knowledge) หรือ “อะไร คือ ความจริง?” (What is Real) แต่เป็น “อะไรคือโครงสร้างและกระบวนการ ที่ความรู้ถูกสร้างขึ้นมาและแพร่ขยายออกไป?” โดย Foucault ให้เหตุผลว่า ความรู้หรือความจริง ไม่ใช่การค้นพบ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น (Truth is not discovered but produce) ตามกระบวนการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดสถานการณ์ในประวัติศาสตร์ และประเด็นที่น่าจะกล่าวถึงได้แก่
- ใครได้อำนาจในการเสนอวาทกรรม
- อะไรเป็นเป้าหมายของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
- ความรู้จะต้องได้รับการทดสอบอย่างไร
- ความรู้สะสมเพิ่มพูนขึ้นมาอย่างไร
- ความรู้สูญสลายหายไปอย่างไร

สรุปได้ว่า Foucault มีวิธีวิทยาทางสังคมของซึ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse  Analysis) คือ พยายามศึกษากระบวนการ ขั้นตอน หรือลำดับเหตุการณ์ และรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ในการสร้างเอกลักษณ์และความหมายของสิ่งต่าง ๆ ในรูปของวาทกรรม และปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discursive Practices) ว่าด้วยเรื่องนั้น เพื่อมุ่งตอบโจทย์ที่สำคัญ คือ “อะไรคือโครงสร้างและกระบวนการ ที่ความรู้ถูกสร้างขึ้นมาและแพร่ขยายออกไป?”

การประยุกต์ใช้วิธีวิทยาทางสังคมของ Foucault ในการศึกษาสังคม

จากแนวคิดและระเบียบวิธีทางสังคมของ Foucault ที่เน้นการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse  Analysis) ดังกล่าว เราสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาสังคมในยุคปัจจุบันที่มีความซับซ้อนสูงได้ เช่น การศึกษาสร้างวัฒธรรมของกลุ่มชนชายขอบ เช่น ชนกลุ่มน้อย กลุ่มเพศที่สาม หรือศึกษาเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการใช้วาทกรรมเชิงอำนาจของชนชั้นนำ (Elite Group) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในการประยุกต์แนวคิดของ Foucault ในการศึกษาสังคมในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะในสังคมไทย ผู้เขียนยังคงมีความเชื่อว่า แนวทางนี้ยังคงไม่ใช่ คำตอบสุดท้าย หรือ คำตอบสูงสุด (Ultimate Answer) และคงไม่สามารถระบุได้ว่าระหว่าง แนวคิดกระแสหลัก และกระแสต้าน สิ่งใด คือ ทางออกเดียวที่ดีที่สุด (The One Best Way) เนื่องจากความแตกต่างของแนวคิด และบริบทของสังคมไทยที่นับวันจะมีความสลับซับซ้อน หลากหลายเนื่องมาจากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ หากแต่ทางออกที่เหมาะสม คือ การประยุกต์ใช้แนวคิดต่าง ๆ ตามเงื่อนไข และคุณสมบัติที่สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่จะศึกษา อันจะนำมาซึ่งคุณภาพของผลการศึกษาที่มีคุณค่า และรับใช้สังคมไทยให้ก้าวไปอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

หนังสืออ้างอิง

สุเทพ   สุนทรเภสัช. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย. เชียงใหม่ : บริษัท สำนักพิมพ์ โกลบอลวิชั่น จำกัด.
สัญญา   สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ritzer, George. (1992). Contemporary Sociological Theory. 3rd ed. New York : McGraw-Hill, Inc.
Seidman, Steven. (2004). Contested Knowledge : Social Theory Today. 3rd ed. Malden : Blackwell Publishing.

Website
http://www.midnightuniv.org

 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1422 วันที่ 24 ธ.ค. 2551


ปฏิบัติการและวิธีวิทยาทางสังคมของฟูโก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

หัวเราะ.บอกนิสัย

หัวเราะ.บอกนิสัย


เปิดอ่าน 7,250 ครั้ง
ฟังเพลง whatever will be will be

ฟังเพลง whatever will be will be


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
สถิติที่น่าตกใจ

สถิติที่น่าตกใจ


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
โปรดเลือกเบอร์

โปรดเลือกเบอร์


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ภาพฉาวเป็นเหตุ ชื่อ "จางซิยี่" ถูกเซิร์ชมากสุดในไต้หวันประจำปี 2009

ภาพฉาวเป็นเหตุ ชื่อ "จางซิยี่" ถูกเซิร์ชมากสุดในไต้หวันประจำปี 2009

เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
วิธีเผาผลาญพลังงาน .....เมื่อไม่มีเวลาออกกำลังกาย
วิธีเผาผลาญพลังงาน .....เมื่อไม่มีเวลาออกกำลังกาย
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

รวมภาพภัยธรรมชาติ ความน่ากลัวที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยง !(กว่า 30 ภาพไม่ดูแล้วจะเสียใจ)
รวมภาพภัยธรรมชาติ ความน่ากลัวที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยง !(กว่า 30 ภาพไม่ดูแล้วจะเสียใจ)
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

  ตรีทศเคราะห์เทวา (๒)......พระอาทิตย์ สุริยเทพ (๑)
ตรีทศเคราะห์เทวา (๒)......พระอาทิตย์ สุริยเทพ (๑)
เปิดอ่าน 7,191 ☕ คลิกอ่านเลย

///...การปลูกต้นไม้ในสวนเล็กๆ...///
///...การปลูกต้นไม้ในสวนเล็กๆ...///
เปิดอ่าน 7,179 ☕ คลิกอ่านเลย

เปลือกไข่กินได้...
เปลือกไข่กินได้...
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

มะม่วง...ประโยชน์เหลือเชื่อ
มะม่วง...ประโยชน์เหลือเชื่อ
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รวม 100 มุกเสี่ยว ที่ทำให้คุณอมยิ้มได้แน่นอน
รวม 100 มุกเสี่ยว ที่ทำให้คุณอมยิ้มได้แน่นอน
เปิดอ่าน 493 ครั้ง

ไม่อยากเป็นผู้หญิง กลิ่นตัวแรง
ไม่อยากเป็นผู้หญิง กลิ่นตัวแรง
เปิดอ่าน 10,855 ครั้ง

คลิปโชว์การปอกมะพร้าวแบบกินได้ทั้งลูก
คลิปโชว์การปอกมะพร้าวแบบกินได้ทั้งลูก
เปิดอ่าน 15,762 ครั้ง

บัญญัติ 10 ประการอำพรางหุ่น
บัญญัติ 10 ประการอำพรางหุ่น
เปิดอ่าน 12,441 ครั้ง

นมฟลูออไรด์ ป้องกันฟันผุ
นมฟลูออไรด์ ป้องกันฟันผุ
เปิดอ่าน 2,266 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ