Advertisement
❝ รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น
ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
.......................................................................
โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น ตั้งอยู่ หมู่ 5 บ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปัจจุบันมีข้าราชการครู 10 คน นักการภารโรง 1 คน นักเรียน 105 คน เปิดสอนตั้งแต่ อนุบาล 1 ? ป.6
การดำเนินงานการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น เริ่ม ดำเนินการจัดแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ตั้งแต่ปี 2543 ตามโครงการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุโขทัย ได้รับเข้าประกวดกิจกรรม และได้รับรางวัลต่าง ๆ ทางโรงเรียนได้จัดสร้างอาคารแหล่งเรียนรู้เป็นเอกเทศ ชื่ออาคารภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายในใช้จัดกิจกรรมการทอผ้าพื้นเมือง (การทอผ้าสไบ) จัดนิทรรศการภูมิปัญญาไทยด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม และผลงานนักเรียน จากการดำเนินงานครั้งนี้ ได้รับความสนใจจาก สถานศึกษา หน่วยงานอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมอุตสาหกรรม วิทยาลัย บุคคลทั่วไป และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ทั้งชาวบ้าน พระสงฆ์ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน กล่าวคือเป็นลักษณะบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีจุดที่น่าสนใจหลายประการ
รูปแบบแหล่งเรียนรู้
1) โรงเรียนจัดทำโครงการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย 9 ด้าน เกี่ยวกับ การจัดองค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทย ซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อให้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพ แวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย มีลักษณะเป็นองค์รวม และมีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น ในวิถีชีวิตไทยซึ่งมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ
แหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิค ด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ได้แก่ การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิต เพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นขบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มกันของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ ความสมารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่นยาสมุนไพร อันมีอยู่หลากหลาย การนวนแผนโบราณ การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์พัฒนาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การบวชป่า การสืบชะตาแม่น้ำ การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ได้แก่ ความสามารถในการสะสมและบริหารกองทุนและสวัสดิการชุมชน ความมั่งคงให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น การจัดการกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึงความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิติของคนให้เกิดความมั่งคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน และการจัดระบบสวัสดิการการบริการชุมชน
แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปกรรม ได้แก่ ความสมารถในด้านการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ การละเล่นพื้นบ้านและนันทนาการ เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้ด้านภาษาและวรรณกรรม ได้แก่ ความสามารถในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงานด้านภาษา คือ ภาษาถิ่นไทยในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงด้านวรรณกรรมท้องถิ่นและการจัดทำสานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรตหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ
แหล่งเรียนรู้ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ได้แก่ ความสามารถในด้านการประยุกต์และปรับใช้หลักธรรม คำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อ และประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อบริบททางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การถ่ายทอดทางวรรณกรรม คำสอน การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้ด้านโภชนาการ ได้แก่ ความสามารถในการเลือกสรร ประดิษฐ์ และปรุงแต่งอาหารและยาได้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในสภาวการณ์ต่างๆ ตลอดจนผลิตเป็นสินค้าและบริการส่งออกที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย รวมถึงการเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรด้วย
❞
วันที่ 15 ธ.ค. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,680 ครั้ง |
เปิดอ่าน 67,903 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,024 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,159 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,127 ครั้ง |
|
|