Advertisement
นิวไซแอนทิสต์/เอเยนซี -ดาวหางโฮล์มสระเหิดจนใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์แล้วและยังคงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
จากการคำนวณโดยนักดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii) พบว่าเมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมาดาวหางโฮล์มส (17P/Holmes) ได้ระเหิดจนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตรซึ่งใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ที่หลายแห่งคำนวณไว้ประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร และระบุว่าการขยายขนาดยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
ทั้งนี้นิวเคลียสของดาวหางยังคงมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 กิโลเมตรแต่ส่วนหัวดาวหางหรือ "โคมา" (coma) ซึ่งเป็นฝุ่นรอบๆ นิวเคลียสได้ขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดดังกล่าว โดยดาวหางโฮล์มสได้ระเหิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่มาผ่านมาทำให้เกิดความสว่างและกลายเป็นจุดสนใจแก่นักดาราศาสตร์ทั่วโลก ซึ่งความสว่างของโคมานั้นเป็นการสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ของอนุภาคเล็กๆ ที่รวมตัวกันเป็นโคมา
อย่างไรก็ดีโคมาของดาวหางโฮล์มสไม่ได้ใหญ่ที่สุดเพราะก่อนหน้านี้เมื่อปี 2540 โคมาของดาวหางเฮลล์-บอพพ์ส (Hale-Bopp's) ได้ขยายใหญ่จนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ล้านกิโลเมตร
|
|
ภาพดาวหางโฮล์มส (ซ้าย) ขณะมีเส้นผ่านศูนย์กลางของโคมา 1.4 ล้านกิโลเมตร บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์แคนาดา-เฟรนซ์-ฮาวาย (Canada-France-Hawaii) ของมหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii) ซึ่งจุดสีขาวใกล้จุดศูนย์กลางของดาวหางคือนิวเคลียสของดาวหาง เปรียบกับภาพดวงอาทิตย์ (ขวา) และ ดาวเสาร์ (มุมขวาล่าง) ในอัตราส่วนเดียวกัน |
|
|
|
|
ภาพของดาวหางโฮล์มส ด้านซ้ายบันทึกโดยอลัน ไดเออร์ (Alan Dyer) นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวแคนาดาเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นโคมาที่ชั้นวงกลมและหางอันเลือนลาง ส่วนภาพขวาเป็นภาพจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล (Hubble) ซึ่งเผยให้เห็นภาพคล้ายโบว์หูกระต่าย ที่เกิดจากฝุ่นดาวหางกระจายตัวในแนวตามขวาง (NASA/ESA) |
|
|
|
|
ภาพดาวหางโฮล์มสที่ประจักษ์แก่สายตานักดาราศาสตร์โดยทั่วไป บันทึกโดย เพอร์ซี มุย (Percy Mui) เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ณ หอดูดาวคาร์ล จี เอนไนซ์ (Karl G. Henize Observatory) วิทยาลัยฮาร์เปอร์ (Harper College) ในพาลาไทน์ อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา |
|
|
|
|
ภาพดาวหางโฮล์มสบันทึกโดย แมทธิว ฮินตัน (Matthew Hinton) สหรัฐอเมริกา เมื่อคืนวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น |
|
|
|
|
ภาพดาวหางโฮล์มสตรงข้ามกับสีจริงบันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์เพอร์กิน (Perkin) ณหอดูดาวแวน วเลก (Van Vleck Observatory) ของมหาวิทยาลัยเวสเลย์ (Wesleyan University) สหรัฐอเมริกา |
|
|
|
|
ภาพเปรียบเทียบขนาดของดาวหางโฮล์มสเมื่อวันที่ 28 ต.ค.(ซ้ายล่าง) และวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา (ขวาบน) บันทึกและตกแต่งภาพเพื่อเปรียบเทียบโดย เชน ฟินนิกัน (Shane Finnigan) จากแคนาดา |
|
|
|
|
ตำแหน่งของดาวหางโฮล์มสบนท้องฟ้าในวันต่างๆ เมื่อมองจากพื้นโลก โดย ที ดิกคินสัน (T. Dickinson) ออนทาริโอ แคนาดา |
|
|
|
|
ภาพดาวหางโฮล์มสบันทึกโดย ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว เมื่อวันที่ 27 และ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา |
|
ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000136840 |
Advertisement
เปิดอ่าน 58,567 ครั้ง เปิดอ่าน 34,511 ครั้ง เปิดอ่าน 17,730 ครั้ง เปิดอ่าน 25,639 ครั้ง เปิดอ่าน 29,340 ครั้ง เปิดอ่าน 58,925 ครั้ง เปิดอ่าน 20,969 ครั้ง เปิดอ่าน 15,700 ครั้ง เปิดอ่าน 30,033 ครั้ง เปิดอ่าน 22,156 ครั้ง เปิดอ่าน 3,842 ครั้ง เปิดอ่าน 22,268 ครั้ง เปิดอ่าน 29,672 ครั้ง เปิดอ่าน 32,998 ครั้ง เปิดอ่าน 19,276 ครั้ง เปิดอ่าน 18,637 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 51,901 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,708 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 65,304 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,213 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,204 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 31,382 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 44,054 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 23,148 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,934 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,884 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,205 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,123 ครั้ง |
|
|