Advertisement
"นางเลิ้ง" เเปลว่าอะไร
ในกรุงเทพมหานครเรานี้มีตำบลอยู่ตำบลหนึ่ง คือตำบล "นางเลิ้ง". ได้สอบถามใครต่อใคร หลายวัยเเละหลายชั้นบุคคล ว่ามีความหมายอย่างไร, ก็ไม่มีใครตอบได้. ที่ตอบได้ใกล้ชิดที่สุดก็คืออาจารย์ฉันทิชย์ กระเเสสินธุ์. ท่านตอบว่า "โอ่ง, ที่ตรงนี้ (เเถวสะพานเทวกรรม์รังรักษ์) เป็นที่จอดเรือขายโอ่ง".
อาจารย์ฉันทิชย์พูดไม่ผิด, เเต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด. คำ "นางเลิ้ง" นั้นเป็นคำที่ปรุงเเต่งมาจาก "อีเลิ้ง".
อีเลิ้ง เป็นคำลาว, หมายถึงเครื่องดินเผา (ที่ไม่ได้เคลือบ) ทั้งหมด. ไม่ว่าจะเป็นโอ่ง, อ่าง, ถ้วย, ชาม ฯลฯ. ถ้าเป็นโอ่งก็เป็น โอ่งอีเลิ้ง, ถ้าเป็นอ่าง ก็เป็นอ่างอีเลิ้ง, ถ้าเป็นชาม ก็เป็นชามอีเลิ้ง. เเต่โอ่งเป็นที่สะดุดตาที่สุด เพราะลูกใหญ่. ถ้าเอามาตั้งเรียงขายเคล้าคละปะปนกับสิ่งอื่น คนจะเห็นเเต่โอ่ง เลยเข้าใจไปว่าเป็นโอ่ง.
คำ "อี" คนกรุงเห็นเป็นคำเรียกที่เหยียดหยาม เป็นคำเรียกข้าทาษคนใช้ที่เป็นผู้หญิง จึงเปลี่ยนเป็น "นาง" เพื่อให้สุภาพ เช่น :-
"ลิงค่างชะนีมี จลนีเเละนางเห็น
สายัณหย่ำเย็น ก็ยะยั้วยะเยี้ยยล"
- อิลราชคำฉันท์
ในท้องที่จังหวัดสมุทรปราการ มีตำบลตำบลหนึ่งชื่อ "บางอีเกร็ง", คนกรุงก็ไปเปลี่ยนซะ เป็น "บางนางเกร็ง" (ป้ายสถานีรถไฟสายปากน้ำ-หัวลำโพง).
คำ "หัวลำโพง" ก็เคยมีคนเปลี่ยนเป็นศีรษะลำโพง. ยังดีที่เป็นเพียงคำพูดคำจากันของคนที่ดัดจริตเป็นผู้ดี ยังไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร.
"หัวลำโพง" คำนี้ เเท้จริงเเล้วก็เป็นคำที่เพี้ยนมาจาก "วัวลำพอง". เป็นชื่อของท้องที่เเถวนั้น. ลองมาดูหลักฐานกัน.
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทรตอนรัชชกาลที่ ๓. บันทึกไว้.-
"ในเดือน ๓ ปีจอนั้น พระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่าบอกลงมาว่า ราชวงษ์ลงมากวาดต้อนครัวเมืองสระบุรี พวกลาวนิยมยินดีพากันอพยพขึ้นไปหมด ได้ทรงทราบในหนังสือบอกก็โปรดจัดเเจงเเต่งพระนครที่จะรบข้าศึกสัตรู ให้เสนาบดีไปตั้งค่ายที่ทุ่งวัวลำพอง รายไปจนทุ่งบางกะปิ. ตลอดเเนวเเม่น้ำเหนือกรุงทางที่ลาวจะยกมาทางบก".
"ราชวงษ์" ที่กล่าวในที่นี้ คือ เจ้าอนุฯ เเห่งเวียงจัน.
ผู้ที่ทำให้คำนี้เพี้ยนก็คือ เจ๊กลากรถ. ออกเสียง ว ไม่ได้ ก็เลยกลายเป็น ห.
"อี" คำนี้คนไทยเราใช้เป็นคำนำหน้านาม ไม่เฉพาะเเต่คนเเละผู้หญิงเท่านั้น, เเต่ใช้เปรอะไปทั่วในบรรดาสิ่งของเเละสัตว์. มีดโต้นั้นบางท้องถิ่นเรียก "อีโต้" หรือ "มีดอีโต้". ดาบ เรียก "อีดาบ", จอบ เรียก "อีจอบ", เสียม เรียก "อีเสียม".
กา (นก) นั้น เรียกรวมกันทั้งหมดไม่ว่าตัวผู้ตัวเมียว่า "อีกา".
คนสุโขทัยนั้นเรียกหยากไย่ว่า "อีเยื่ออีใย".
โรคอย่างหนึ่ง ที่เป็นเม็ดพองตามตัวก็เรียก "อีสุกอีใส".
ชื่อของโรคนี้ ใครที่เป็นผู้ดีจัดทนคำ "อี" ไม่ได้ จะเปลี่ยนเป็นโรค "นางสุกนางใส" ก็ไม่ว่ากันนะครับ.
วันที่ 12 ธ.ค. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,260 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,196 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,254 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 27,027 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,995 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,848 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,020 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,665 ครั้ง |
|
|