Advertisement
ต้องยอมรับว่าคนไทยเรานอนกรนกันไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก
ศ.น.พ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ หัวหน้าศูนย์เพื่อคุณภาพการนอนหลับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บอกว่า นอนกรนเกิดจากการที่ช่องคอแคบลงมากกว่าปกติในขณะหลับ ทำให้ลมหายใจเข้า-ออกแรงขึ้น โดยเนื้อเยื่อของผนังคอ เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และโคนลิ้นมีการสั่นสะเทือนจนเกิดเสียงดังขึ้น
โดยคนที่มีอาการมากจะพบว่าผนังคอยุบตัวลงจนอากาศไม่สามารถผ่านไปได้ชั่วขณะ หรือเรียกว่า การหยุดกายใจ ขณะหลับ ทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบตามไปด้วย
เพราะมันอาจจะเกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมอง ขาดเลือด เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต สมรรถภาพทางเพศเสื่อม ความจำถดถอย ง่วงนอนกลางวัน หลับใน
ซึ่งมีสถิติที่น่ารู้เกี่ยวกับการนอนกรน...
ผู้ชายสูงอายุนอนกรนมากถึงร้อยละ 28-30
ผู้หญิงสูงอายุและอยู่ในวัยหมดประจำเดือนนอนกรน ร้อยละ 20-54
ผู้ที่นอนกรนเป็นประจำจะมีการหยุดหายใจร่วมด้วยร้อยละ 20
มักพบอาการหยุดหายใจขณะหลับในคนอ้วน และมากกว่า ร้อยละ 60 ในกลุ่มผู้มีอาการหยุดหายใจขณะหลับจะมีความผิดปกติบริเวณจมูกหรือเพดานอ่อน ลิ้นไก่ยาว ต่อมอะดีนอยด์โต ทอนซิลโต ลิ้นโต คอสั้น คางเลื่อนไปด้านหลัง หรือคางเล็ก
ผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ ร้อยละ 33 จะง่วงนอนมาก ผิดปกติในตอนกลางวัน
ผู้ที่มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน ร้อยละ 40 มักมีการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย
ผู้ที่มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน มักเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานเทียบกับผู้ที่ไม่มีอาการเท่ากับร้อยละ 52 : 36
ผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับมักขับรถประสบอุบัติเหตุมากกว่าคนทั่วไปถึง 7 เท่า
ผู้ที่มีการหยุดหายใจขณะหลับในระดับรุนแรงน้อย คือ น้อยกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมง จะมีอัตราการเสียชีวิตจากการ หยุดหายใจขณะหลับเฉลี่ยร้อยละ 8 หากหยุดหายใจมากกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมงจะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10-16 และเมื่อเทียบกับคนปกติแล้วจะมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงกว่า 2-3 เท่า เสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่า 2 เท่า และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 3 เท่า
กลุ่มผู้ที่มีการหยุดหายใจขณะหลับซึ่งได้รับการรักษาอย่างเต็มรูปแบบ ไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิตในช่วงการติดตามผลในระยะ 8 ปี ขณะที่กลุ่มผู้ซึ่งไม่ได้รับการรักษาจะพบอัตราการเสียชีวิตจากการหยุดหายใจขณะหลับร้อยละ 11 ภายในระยะเวลา 5 ปี หลังจากที่ตรวจพบว่ามีอาการ ซึ่งสถิติของทั้งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
แต่ในปัจจุบันอาการนอนกรนรักษาให้หายได้ ท่านสามารถหาความรู้เรื่องนอนกรนเพิ่มเติมได้จากหนังสือ "นอนกรน" เขียนโดย ศ.น.พ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์
ขอบคุณที่มาจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1292817663&grpid=07&catid=00
HY300 โปรเจคเตอร์ 1080P 4K มินิโปรเจคเตอร์ Project Android 12.0 5G WIFI บลูทูธ รองรับการมิเรอร์หน้าจอ เชื่อมต่อกับมือถือ
฿940 - ฿2,699https://s.shopee.co.th/3LCRC5o6j5?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 9,477 ครั้ง  เปิดอ่าน 80,881 ครั้ง  เปิดอ่าน 17,940 ครั้ง  เปิดอ่าน 15,657 ครั้ง  เปิดอ่าน 11,299 ครั้ง  เปิดอ่าน 23,716 ครั้ง  เปิดอ่าน 22,443 ครั้ง  เปิดอ่าน 14,517 ครั้ง  เปิดอ่าน 21,434 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,015 ครั้ง  เปิดอ่าน 31,467 ครั้ง  เปิดอ่าน 14,916 ครั้ง  เปิดอ่าน 11,093 ครั้ง  เปิดอ่าน 4,072 ครั้ง  เปิดอ่าน 11,209 ครั้ง  เปิดอ่าน 11,480 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 14,168 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 19,812 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 51,346 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 14,387 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 43,255 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 2,316 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 112,816 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 19,470 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 33,987 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 17,191 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,394 ครั้ง |
|
|