ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปรากฏการณ์ Earth Shine คืออะไร


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 37,191 ครั้ง
Advertisement

ปรากฏการณ์ Earth Shine คืออะไร

Advertisement

ผู้คนบนโลกได้สังเกตเห็น และรู้ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง กับเหตุการณ์ข้างขึ้นข้างแรม ของดวงจันทร์มานานหลายพันปีก่อนที่นิวตัน จะอธิบายได้ว่า อุบัติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เป็นเพราะดวงจันทร์ส่งแรงดึงดูดแบบโน้มถ่วงกระทำต่อน้ำบนโลก นอกจากดวงจันทร์จะมีอิทธิพลต่อโลกในเรื่องนี้แล้ว เมื่อไม่นานมานี้เองนักวิทยาศาสตร์ก็ยังได้พบอีกว่าแรงดึงดูดแบบโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ ยังสามารถทำให้ชั้นหินบนโลกอยู่ในสภาพเครียดได้ และทำให้กระแสลมบนโลกแปรปรวนอีกด้วย ดังที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอริโซนา ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้พบเมื่อต้นปี 2532 ว่าในคืนวันเพ็ญอุณหภูมิของอากาศที่ระยะความสูง 6 กิโลเมตร จะสูงขึ้นประมาณ 0.2 องศาเซลเซียส เพราะแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากผิวดวงจันทร์ กลับมาสู่โลกได้นำพลังงานความร้อน มาสู่ชั้นบรรยากาศเหนือโลก

นักวิทยาศาสตร์ได้รู้มานานแล้วว่า ผิวดวงจันทร์สะท้อนแสงได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ดังนั้นมันจึงสะท้อนแสงดีพอๆ กับยางแอสฟัลท์ที่ใช้ราดถนน เมื่อเป็นเช่นนี้ดวงจันทร์วันเพ็ญ จึงมีความสว่างน้อยกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 5 แสนเท่า และในยามข้างแรมเมื่อดวงจันทร์ปรากฏบนฟ้าเป็นเสี้ยว เราก็รู้ว่าเสี้ยวจันทร์ส่วนที่สว่างจ้านั้น เป็นส่วนที่สะท้อนแสงอาทิตย์ ส่วนเสี้ยวจันทร์ที่สลัวๆ นั้นก็เป็นส่วนที่ได้รับแสงสะท้อนจากโลก ซึ่งเราเรียกว่าแสงโลก แสงโลกเกิดจากแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบก้อนเมฆ หิมะ ภูเขาน้ำแข็ง ฯลฯ บนโลกแล้วสะท้อนกลับสู่ดวงจันทร์

D.Huffman แห่งมหาวิทยาลัย Arizona และ S. Koonin แห่ง California Institute of Technology ในสหรัฐอเมริกากำลังใช้แสงโลกนี้ ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะดินฟ้าอากาศบนโลก โดยเขาทั้งสองได้พบว่า หากความสว่างไสวของแสงโลกที่ปรากฏบนดวงจันทร์ลดลง 1 เปอร์เซ็นต์นั่นก็หมายความว่าอุณหภูมิของอากาศบนโลกได้ลดลง 1 องศาเซลเซียส ดังนั้นหากเขาทั้งสอง สามารถวัดความเข้มของแสงโลกได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่องเป็นเวลานาน เขาก็สามารถสรุปสถานภาพของปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่กำลังคุกคามโลกได้ทันที

โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ บนโลกตามปกติเป็นโครงการวิจัยที่ต้องการเงินมาก และต้องการเวลาศึกษานาน ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ นิยมใช้ดาวเทียมในการศึกษาเรื่องนี้ แต่วิธีนี้ก็มีปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาเงินงบประมาณที่ต้องใช้ในการสร้างดาวเทียม และจรวดสำหรับส่งดาวเทียมขึ้นไป ซึ่งต้องเผชิญกับการเสี่ยงเรื่องการทำงานบกพร่องของจรวด และการมีชีวิตทำงานที่ค่อนข้างสั้นของดาวเทียม แต่ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดคือ ดาวเทียมนั้นสามารถศึกษาลม และอากาศของโลกได้เฉพาะเหนือพื้นที่แคบๆ หาได้ครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างไม่

A. Danjon คือนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสคนแรก ที่ได้พบในปี พ.ศ. 2468 ว่าเงาจันทร์นั้นคือ แสงโลกนั่นเอง เขาจึงสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่มีปริซึมภายใน และปริซึมได้แยกภาพของดวงจันทร์ข้างแรม ออกเป็นสองภาพที่เหมือนกันทุกประการ เขาได้หรี่แสงของเสี้ยวจันทร์ส่วนที่สว่าง จนกระทั่งมีความเข้มเท่ากับส่วนที่ไม่สว่าง ความเข้มแสงที่ถูกหรี่ลง ชี้บอกปริมาณแสงที่สะท้อนจากโลก

นักวิทยาศาสตร์หลายคน ยังไม่ค่อยมีความมั่นใจในความถูกต้องของการศึกษาสภาพของลมฟ้าอากาศบนโลกโดยใช้แสงโลกนัก เพราะมีความเห็นว่า มีแสงอาทิตย์หลายส่วนที่เวลาตกกระทบโลกแล้วไม่สะท้อนสู่ดวงจันทร์ ดังนั้นแสงโลกส่วนนี้จะหายไป แต่ผลการคำนวณของ Huffman และ Koonin ที่ใช้คอมพิวเตอร์ศึกษาแสงสะท้อนจากโลก ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า โดยเฉลี่ยแล้ว 30 เปอร์เซ็นต์ของแสงสะท้อนจากโลกจะตกลงบนดวงจันทร์ และถ้าเราสามารถวัดความเข้มแสงชนิดนี้ได้อย่างละเอียด และถูกต้องโดยผิดพลาดไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ เราจะสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศได้อย่างผิดพลาดไม่เกิน 0.2 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้เทคนิคการศึกษาแสงโลกยังมีราคาถูกกว่าเทคนิคการใช้ดาวเทียม ซึ่งแพง และให้ภาพรวมของลมฟ้าอากาศในระยะยาวได้ดีกว่าดาวเทียมมาก

จึงนับว่าความคิดของ Danjon เมื่อ 70 ปีก่อนโน้นนั้นแยบยลและหลักแหลม ทั้งๆ ที่เขาไม่มีอุปกรณ์ดีๆ ที่จะศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เขาใคร่รู้ แต่การมีสติปัญญาที่เฉียบคมทำให้เขาสามารถเอาชนะข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีของเขาได้ ทุกวันนี้นักวิจัยสภาวะเรือนกระจกบางคนกำลังใช้วิธีการของ Danjon เป็นกระจกศึกษาสภาวะอากาศของโลก

 

ที่มา : ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)


อธิบายเพิ่มเติมการเกิดปรากฏการณ์แสงโลก
แสงโลก (earthlight หรือ Earth Shine) คือ แสงสะท้อนของแสงอาทิตย์จากโลกคล้าย ๆ กับแสงจันทร์ที่เป็นแสงอาทิตย์สะท้อนจากดวงจันทร์ ต่อไปในอนาคตเมื่อมนุษย์ไปอาศัยอยู่อย่างถาวรบนดวงจันทร์ ก็จะเห็นโลกสว่างนวลด้วยแสงสะท้อนของแสงอาทิตย์ แต่จะสว่างกว่าแสงจันทร์มากหลายเท่า เพราะโลกมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ (มนุษย์กับจักรวาล ตอนที่ 3 (18))

ปรากฏการณ์แสงโลก Earth Shine เกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนกับผิวโลกไปยังดวงจันทร์ และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่ง ทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นแสงจางๆจากด้านกล่างคืนของดวงจันทร์ (วิภู รุโจปการ , เอกภพเพื่อความเข้าใจในจักรวาล , 2547 , หน้า 187)

* เป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ ผู้สังเกตบนโลก โดยมีแสงจากดวงอาทิตย์ส่องมาที่พื้นโลก(กลางวัน)แสงนี้ก็สะท้อนไปถึงดวงจันทร์ ดังนั้นในวันขึ้น 1 - 3 ค่ำ หรือ แรม 12 - 14 ค่ำ เราจะเห็นแสงเรื่อๆ จากด้านมืดของดวงจันทร์ แสงนี้ไม่ใช่แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง(กลางคืนด้านมืดของดวงจันทร์) แต่เป็นแสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนแสงจากผิวโลกไปยังดวงจันทร์และแสงนี้จะสะท้อนมายังผู้สังเกตบนโลกอีกครั้งหนึ่ง*
*ถ้าเราสังเกตจากบนโลกโดยมองไปที่ดวงจันทร์ในข้างขึ้นและข้างแรมในคืนวันดังกล่าว เราจะเห็นดวงจันทร์เป็นทรงกลมมีแสงอยู่ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงมองเห็นดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบางๆแบบขึ้น 1 - 3 ค่ำ หรือ แรม 12 - 14 ค่ำ เป็นเฟสบางๆนั้นเอง(แสงจากดวงอาทิตย์) ส่วนที่ 2 ที่ด้านมืดของดวงจันทร์ (ไม่ได้รับแสงของดวงอาทิตย์โดยตรงแต่จะได้รับแสงสะท้อนจากผิวโลกซึ่งที่ผิวโลกจะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง)ดังนั้นเมื่อมนุษย์มองดวงจันทร์ด้านที่เป็นกลางคืนมนุษย์บนโลกจะสังเกตเห็นแสงเรื่อๆ จากด้านมืดของดวงจันทร์แสงนี้ก็คือ แสงโลก ครับ*

หมายเหตุ แสงโลก ถ้ามองดวงจันทร์จากโลกก็คือส่วนที่ 2 ครับ


สำหรับประโยชน์ของแสงโลก ถ้าจะหมายถึงการใช้ประโยชน์ดังเช่นที่มนุษย์ใช้ประโยชน์ของแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหรือเป็นตัวพลังงานในลักษณะเป็นเชื้อเพลิง นำไปใช้งานโดยตรงในรูปของความร้อน หรือนำไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า ดังเช่น เซลล์สุริยะ หรือ solar cell แล้ว แสงโลกก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะไม่แรงหรือเข้มพอ ประโยชน์ที่เห็นชัดเจนของแสงโลก ก็จะเป็นประโยชน์คล้าย ๆ กับที่มนุษย์โลกใช้แสงจันทร์นั่นเอง คือ ขับไล่ความมืดบนดวงจันทร์ได้ และอย่างค่อนข้างดี อีกทั้งยังมีผลทางอารมณ์สำหรับมนุษย์บนดวงจันทร์ในอนาคต ดังเช่นมนุษย์โลกตั้งแต่อดีตกาลนานมาได้รับอิทธิพลของแสงจันทร์ด้านความรู้สึกนั่นแหละครับ


ดวงจันทร์ขึ้นช้าวันละประมาณ 50 นาที ครับ
ลองศึกษาจากลิงค์ การขึ้นและตกของดวงจันทร์ ดูก่อนนะครับ
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=101&Pid=24387

31441
ภาพการเกิดปรากฏการณ์แสงโลก
ภาพคัดลอกจาก (วิภู รุโจปการ , เอกภพเพื่อความเข้าใจในจักรวาล , 2547 , หน้า 187)


ปรากฎการณ์แสงโลกเกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนกับผิวโลกไปยังดวงจันทร์ และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่ง ทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นแสงจางๆจากด้านกลางคืนของดวงจันทร์ (วิภู รุโจปการ , เอกภพเพื่อความเข้าใจในจักรวาล , 2547 , หน้า 187)

ที่มา เว็บบอร์ดวิชาการดอทอคอม


ปรากฏการณ์ Earth Shine คืออะไร ปรากฏการณ์EarthShineคืออะไร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ฮอร์โมน : ชีววิทยา

ฮอร์โมน : ชีววิทยา


เปิดอ่าน 19,082 ครั้ง
แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว


เปิดอ่าน 14,802 ครั้ง
น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร

น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร


เปิดอ่าน 135,917 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

นักวิจัย สกสว.เจ๋ง ผลิต ‘มือเทียมกล’ ควบคุมผ่านสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ เพื่อคนพิการ

นักวิจัย สกสว.เจ๋ง ผลิต ‘มือเทียมกล’ ควบคุมผ่านสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ เพื่อคนพิการ

เปิดอ่าน 9,610 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
เปิดอ่าน 14,144 ☕ คลิกอ่านเลย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทองคำ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทองคำ
เปิดอ่าน 40,588 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะจักรวาล
เปิดอ่าน 48,629 ☕ คลิกอ่านเลย

ส่งเครื่องมือไปพิสูจน์หลักฐานว่ามนุษย์โลกเป็น ลูกหลานดาวอังคาร
ส่งเครื่องมือไปพิสูจน์หลักฐานว่ามนุษย์โลกเป็น ลูกหลานดาวอังคาร
เปิดอ่าน 25,412 ☕ คลิกอ่านเลย

เกิดทฤษฎีอันใหม่ดาวพุธกับดาวศุกร์ เป็นเศษเดน ของโลก
เกิดทฤษฎีอันใหม่ดาวพุธกับดาวศุกร์ เป็นเศษเดน ของโลก
เปิดอ่าน 15,998 ☕ คลิกอ่านเลย

พืชอเนกประสงค์
พืชอเนกประสงค์
เปิดอ่าน 28,269 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"มะละกอ" มีถิ่นกำเนิดจากที่ใด?
"มะละกอ" มีถิ่นกำเนิดจากที่ใด?
เปิดอ่าน 46,623 ครั้ง

กว่าจะมาเป็น นพวรรณ เลิศชีวกานต์
กว่าจะมาเป็น นพวรรณ เลิศชีวกานต์
เปิดอ่าน 15,643 ครั้ง

 ศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้สำหรับการกรอกใบสมัครงาน
ศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้สำหรับการกรอกใบสมัครงาน
เปิดอ่าน 36,660 ครั้ง

รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
เปิดอ่าน 18,163 ครั้ง

ปิแอร์ เดอ แฟร์มาต์ นัก คณิตศาสตร์
ปิแอร์ เดอ แฟร์มาต์ นัก คณิตศาสตร์
เปิดอ่าน 32,708 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ