ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

หลักฟื้นสภาพจิตใจหลังน้ำลด


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 8,713 ครั้ง
หลักฟื้นสภาพจิตใจหลังน้ำลด

Advertisement

แพทย์แนะหลักฟื้นสภาพจิตหลังน้ำลด (สสส.)
โดย สุนันทา สุขสุมิตร

เครียดต่อเนื่อง 2 สัปดาห์เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

หลังผ่านวิกฤติน้ำเหนือไหล่บ่า น้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลกระทบต่อน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางก็ไม่เว้น เห็นทีจะเป็นเหมือนอีกหนึ่งวิกฤติที่คนไทยจะต้องพบเจอร่วมกันอีกครั้ง

เมื่อน้ำมาที ข้าวของเครื่องใช้ ยานพาหนะที่ต้องหามาด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน ต้องสูญหายไปกับสายน้ำในทันควันไม่ทันตั้งตัว เป็นการสูญเสียที่ไม่มีใครคาดคิดหรือเตรียมตัวได้ทัน เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาครั้งหนึ่ง ก็สร้างความเศร้าโศกให้กับผู้ประสบภัยไม่น้อย ไหนจะเสียบ้าน บางคนก็ต้องเสียของรัก ของสะสมที่หายาก อุปกรณ์เครื่องมือ ที่ซื้อหามาด้วยเงินทองที่บางคนอาจต้องหาเงินเป็นปีกว่าจะซื้อมาได้ เรื่องแบบนี้บางทีอาจรับได้ยากเกินในทันที เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เตรียมใจไว้ตั้งรับ

นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต และผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บอก ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมอย่างรุนแรงและเป็นบริเวณกว้างนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิต เสียทรัพย์สิน ไร่นาเสียหาย สูญเสียแหล่งรายได้ ขาดแหล่งอาหาร เจ็บป่วยและเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ถนนหนทางการเดินทางและการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ขัดข้อง ซึ่งความเสียหายเหล่านี้จะยังคงอยู่ และอาจปรากฎผลชัดเจนขึ้น แม้เมื่อน้ำลดลงแล้ว

สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่กระทบต่อจิตใจก่อให้เกิดความเครียดได้มาก โดยแต่ละคนจะมีวิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน และปัญหาจิตใจของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกัน ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาจิตใจได้มาก ได้แก่

ผู้ที่สูญเสียมาก เช่น ญาติเสียชีวิต สูญเสียไร่นา แหล่งรายได้

มีแหล่งช่วยเหลือน้อย เช่น เครือญาติและชุมชนรอบข้างที่พร้อมให้ความช่วยเหลือมีจำกัด

มีปัญหาอื่น ๆ อยู่เดิม เช่น มีโรคประจำตัว พิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เจ็บป่วยทางจิตอยู่เดิม

อยู่ในชุมชนที่ขาดระบบการจัดการ เพื่อช่วยเหลือกันเอง

ปัญหาทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นได้ จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกสูญเสีย และปัญหาที่เกิดจากสภาพวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม ก่อให้เกิดความกังวลใจ เศร้าโศกเสียใจ ท้อแท้ เบื่อหน่าย สับสน และมีอาการทางกายของความเครียด เช่น ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ บางรายอาจพบกับเหตุการณ์ตื่นตกใจ และเกิดอาการผวา หากความเครียดเป็นอยู่นาน ก็จะกระทบต่อสภาพร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย ผู้ที่มีโรคประจำตัว ก็อาจมีการกำเริบของโรคขึ้นได้

"ผู้ที่เครียดมาก ๆ แล้วขาดแหล่งช่วยเหลือ อาจเก็บตัว ไม่พูดคุย ท่าทางเคร่งเครียด ท้อแท้ เศร้าหมอง และในบางราย อาจรู้สึกสิ้นหวัง จนถึงกับคิดฆ่าตัวตาย ภาวะซึมเศร้าที่เป็นมากจนความสามารถในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติเสียไป เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่มีพลังในการทำกิจวัตรประจำวัน และเป็นนานต่อเนื่องเกินกว่าสองสัปดาห์ขึ้นไป อาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายได้ หากพบว่า ตนมีความเครียดหรืออารมณ์เศร้าต่อเนื่อง และรบกวนการดำเนินชีวิต ก็ควรได้รับการดูแลทางสุขภาพจิตจากสถานบริการใกล้บ้าน" นายแพทย์ประเวชกล่าว

คุณหมอประเวช ยังได้แนะนำเรื่องของการฟื้นฟูสภาพจิตใจที่สำคัญ คือ การใช้พลังชุมชน ช่วยเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบไม่รู้สึกว่า ตนเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ แต่ให้เขาได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในชุมชน ซึ่งจะช่วยให้เขารู้สึกว่า ชีวิตเขา เขาจัดการแก้ไขได้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกับคนในละแวกบ้านเดียวกัน ในชุมชนเดียวกัน , ช่วยให้กลับสู่การดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติอย่างเร็วที่สุด ให้ได้มากที่สุด หรือจะเป็นการช่วยค้นหาผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา เช่น ผู้มีเหตุสูญเสียรุนแรง ผู้มีแหล่งช่วยเหลือจำกัด ผู้มีปัญหาอื่น ๆ อยู่เดิม และในพื้นที่ที่ชุมชนยังอ่อนแอ และเร่งให้ความช่วยเหลือ เพื่อนำวิถีการดำเนินชีวิตกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด หากพบปัญหาเจ็บป่วยทางกายหรือใจ ก็ให้การดูแลช่วยเหลือ






ส่วนการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจตนเองและคนใกล้ตัว ก็สามารถใช้หลักพื้นฐานของการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลี่ยงสารเสพติด นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายด้วยวิธีง่าย ๆ เท่าที่สภาพสิ่งแวดล้อมจะเอื้อ พูดคุยกับคนใกล้ตัว ไม่เก็บปัญหาไว้กับตนเอง ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนาของตน เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ มองโลกแง่ดี มีความหวัง และที่สำคัญกลไกของราชการที่เข้าช่วยเหลือ ต้องเน้นที่การช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชน ให้ชุมชนได้เป็นเจ้าของการแก้ปัญหา แทนการช่วยเหลือแบบสงเคราะห์แต่เพียงอย่างเดียว

ส่วนคนที่ไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาทางไหนดี คุณหมอประเวชแนะนำว่า ให้ปรึกษาได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกแห่ง เพราะมีขีดความสามารถในการดูแลปัญหาสุขภาพจิตอยู่แล้ว และหากบุคลากรสาธารณสุขพบว่า ปัญหามีความซับซ้อนเกินความสามารถ ก็จะส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป หรือหากต้องการใช้ระบบโทรศัพท์ในการปรึกษาปัญหา ก็สามารถใช้โทรสายด่วนสุขภาพจิต หมายเลข 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็มีการเปิดสายด่วนเพิ่มอีก 10 คู่สาย ที่หมายเลข 0-2590-1994 เพื่อรับประสานความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสายด่วน 1300 ศูนย์ประชาบดี นอกเหนือจากสายด่วน 1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน

สำหรับพื้นที่ประสบภัยที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ปรึกษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ อำเภอ ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนที่จังหวัดลพบุรี ขณะนี้โรงพยาบาลศรีธัญญา ลงพื้นที่ไปให้ความช่วยเหลือแล้ว ซึ่งหากมีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แต่ละหน่วยจะแจ้งรายละเอียดมายังศูนย์ปฏิบัติการ หรือวอร์รูมที่กรมสุขภาพจิต เพื่อปรับแผนให้ความช่วยเหลือโดยด่วน


ขอบคุณข้อมูลจาก สสส. http://www.thaihealth.or.th/node/17752


หลักฟื้นสภาพจิตใจหลังน้ำลด

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ออกกำลังกาย สู้หวัด 2009

ออกกำลังกาย สู้หวัด 2009


เปิดอ่าน 10,409 ครั้ง
ดอกไม้ 5 ชนิด พิชิตโรค

ดอกไม้ 5 ชนิด พิชิตโรค


เปิดอ่าน 18,430 ครั้ง
รวยด้วยมรรค 8

รวยด้วยมรรค 8


เปิดอ่าน 10,757 ครั้ง
ตำนานคิวปิด

ตำนานคิวปิด


เปิดอ่าน 21,976 ครั้ง
ขจัดกลิ่นเท้าด้วยมะนาว

ขจัดกลิ่นเท้าด้วยมะนาว


เปิดอ่าน 10,865 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เปิดเลคเชอร์ของ น้องปราง ศิรดา เด็กเก่งคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุด ปี 2558

เปิดเลคเชอร์ของ น้องปราง ศิรดา เด็กเก่งคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุด ปี 2558

เปิดอ่าน 13,674 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
10 ขั้นตอนบริหารใบหน้าชะลอแก่
10 ขั้นตอนบริหารใบหน้าชะลอแก่
เปิดอ่าน 17,496 ☕ คลิกอ่านเลย

กรมอนามัย แนะมีนมจืดติดบ้าน กระตุ้นวัยเรียน วัยรุ่น ดื่มนมเพิ่มความสูง
กรมอนามัย แนะมีนมจืดติดบ้าน กระตุ้นวัยเรียน วัยรุ่น ดื่มนมเพิ่มความสูง
เปิดอ่าน 3,744 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับ13ประการในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับ13ประการในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 71,232 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้
วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้
เปิดอ่าน 10,240 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีฉีดน้ำหอมที่ถูกวิธี
วิธีฉีดน้ำหอมที่ถูกวิธี
เปิดอ่าน 12,348 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก
ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก
เปิดอ่าน 22,698 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เลี่ยงได้เลี่ยง เครื่องดื่มที่ไม่แนะนำให้ใส่กระบอกน้ำอะลูมิเนียม
เลี่ยงได้เลี่ยง เครื่องดื่มที่ไม่แนะนำให้ใส่กระบอกน้ำอะลูมิเนียม
เปิดอ่าน 430 ครั้ง

ความหมายของวัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม
เปิดอ่าน 122,525 ครั้ง

พระพุทธรูปในศิลปะไทยสมัยต่าง ๆ
พระพุทธรูปในศิลปะไทยสมัยต่าง ๆ
เปิดอ่าน 59,340 ครั้ง

10 มายากล เทคนิควิทยาศาสตร์ จำไว้ไปโชว์เพื่อนๆ
10 มายากล เทคนิควิทยาศาสตร์ จำไว้ไปโชว์เพื่อนๆ
เปิดอ่าน 64,467 ครั้ง

ผลการสอบไม่สามารถบอกได้ทุกอย่าง
ผลการสอบไม่สามารถบอกได้ทุกอย่าง
เปิดอ่าน 6,108 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ