วิธีการฝึกร้องเพลงให้ถูกต้อง
โดย นายพงศ์ หาญไชยพิบูลย์กุล
ปัจจุบันการร้องเพลงให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีเป็นสิ่งจำเป็นในการออกงานสังคมมาก เช่น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มักถูกเชิญขึ้นไปร้องเพลงในงานเลี้ยงที่เป็นทางการของหน่วยงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ในงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูง ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ การร้องเพลงเป็นจะช่วยให้ไม่อายผู้อื่น นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมากในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียดจากการงาน และยังเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งด้วย และหากร้องเพลงได้ไพเราะยังสามารถนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ดังนั้นการฝึกร้องเพลงจำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีดังนี้
1. ท่าทาง การปฏิบัติที่ถูกต้องควรจะให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ คือยืนตรง เท้าวางห่างกันประมาณ 1 ฟุต เท้าขวาอยู่หน้าเล็กน้อย ให้รู้สึกว่ากระดูกสันหลังรับน้ำหนักทั้งหมด ฝึกหัดยกหัว เชิดหน้า ไหล่ตรง แขม่วท้อง หดสะโพก หลังตรง ไม่เกร็งตัว วางตัวตามสบายแต่ให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ควรยืนห่างจากไมโครโฟนประมาณ 12 - 15 นิ้ว ออกเสียงแต่พอควรไม่เบาหรือดังจนเกินไป สำหรับผู้ใช้เสียงจากลำคอต้องยืนใกล้ไมโครโฟนมากเพราะเสียงจะออกกังวานต่ำและเบาแผ่ว จึงจำเป็นต้องยืนใกล้ไมโครโฟนเหมือน
ผู้ใช้เสียงจากนาสิก สำหรับผู้ใช้เสียงจากท้องเสียงจะดังมากไม่ต้องอยู่ใกล้ไมโครโฟนเกินไป
การฝึกหัดกับกระจกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะได้เห็นและแก้ไขสิ่งบกพร่องต่างๆ ให้ดีขึ้น และช่วยให้ไม่อายได้
2. การหายใจ การร้องเพลงให้เสียงดีนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการหายใจที่ถูกต้อง ขณะหายใจลมจะผ่านหลอดเสียงเกิดเป็นเสียงต่าง ๆ ขึ้น ถ้าการหายใจสม่ำเสมอเสียงร้องเพลงก็น่าจะสม่ำเสมอด้วย
- 2 -
ส่วนของร่างกายที่ช่วยบังคับลมหรือการหายใจเรียกว่ากระบังลม กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่อยู่ใต้ปอด และอยู่เหนือกระเพาะอาหารทางด้านหน้า ถ้าปอดแฟบแสดงว่าไม่มีอากาศ กระบังลมจะมีลักษณะเหมือนชามคว่ำ ขณะที่หายใจออกกระบังลมจะดึงขึ้นไปดันปอดทำให้อากาศกลับออกมาผ่านไปตามลำคอกระทบกับหลอดเสียงทำให้เกิดเสียงขึ้น นอกจากการขยายกระบังลมแล้ว ผู้ร้องยังใช้อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยขยายโพรงอกคือการพองตัวทำให้ซี่โครงกางออก
การฝึกหายใจ เริ่มด้วยการยืดอกและยืนตัวตรงให้แขนแนบลำตัว ไม่ควรยกไหล่ หายใจเข้าทางปากครึ่งหนึ่ง จมูกครึ่งหนึ่งพร้อม ๆ กันจะทำให้ไม่เกิดเสียงดัง โดยกระบังลมจะทำหน้าที่ชะลอลมหายใจให้ออกช้าๆ คล้ายกับคาบูเรเตอร์ของเครื่องยนต์ ผู้ร้องจะต้องฝึกหัดหายใจเข้าออกอย่างรวดเร็วแล้วปล่อยออกช้าๆ ให้ได้นานที่สุด
ข้อสำคัญก็คือ การหายใจเข้า ท้องจะป่องเพื่อเก็บลมและ การหายใจเข้าจะต้องหายใจก่อนเริ่มร้องพอดี พยายามรักษาสุขภาพอย่าให้เป็นหวัด เจ็บคอหรือต่อมทอมซินอักเสบ อย่าขากเสมหะแรงๆ หรือสั่งน้ำมูกแรงๆ อย่าดื่มสุราหรือสูบบุหรี่จัดจะทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบ
3. การจับเสียงและเข้าจังหวะ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
3.1 นึกเสียงที่จะร้องในใจ หมายถึงระดับเสียง เสียงสระ
ความดังเบา
3.2 หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ เตรียมพร้อมที่จะเปล่งเสียงออกมา
3.3 ริมฝีปาก แก้ม และขากรรไกรปล่อยตามสบาย
3.4 ลิ้นไม่กระดกหรือเกร็ง ปล่อยตามสบาย ให้ปลายลิ้น
แตะกับฐานฟันล่างเล็กน้อย
- 3 -
3.5 การส่งลม การปรับหลอดเสียง การบังคับปากและ
การร้องจะเกิดขึ้นวินาทีเดียวกัน
4. คุณภาพของเสียง ขึ้นอยู่กับหลอดเสียง กล่องเสียง ลำคอ กระพุ้งปาก ลิ้นและศรีษะ เมื่อสูดอากาศออก อากาศจะผ่านหลอดเสียงทำให้หลอดเสียงสั่นเกิดเป็นเสียงขึ้นมา และเสียงก็จะผ่านลำคอและปาก ดังนั้นทั้งในปากและในศรีษะจะทำหน้าที่เป็นช่องขยายเสียง
ในขณะที่ร้องเพลงจะรู้สึกเสียงพุ่งไปข้างหน้า และมี “จุด” ที่เสียงรวมกันอยู่ที่หนึ่งที่ใดบนใบหน้า พยายามให้ “จุด” นี้ อยู่ที่แถวฟันเหนือปลายลิ้น ไม่ควรให้ “จุด” นี้อยู่ในลำคอหรือโคนลิ้น เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแถวนั้นเกร็งและเสียงที่ออกมาจะไม่น่าฟัง การร้องเพลงควรคิดถึงบรรยากาศที่สวยงามเบิกบานใจ อย่าเกร็งคอหรือหน้า อย่าเกร็งลิ้นหรือกระดกลิ้นขึ้นเพราะจะไปบังลำคอ ทำให้เสียงที่ออกมาเกร็ง ฟังไม่ชัดและ
ไม่ไพเราะ คือเสียงไม่มีคุณภาพนั่นเอง
5. การออกเสียงของสระและพยัญชนะ ในการร้องเพลง
ผู้ร้องต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งสอง คือการออกเสียงสระและพยัญชนะ ถ้าปราศจากอันหนึ่งอันใดจะร้องเพลงไม่ได้ดีถึงแม้จะมีเสียงไพเราะก็ตาม
หลักการร้องสระ แบ่งออกเป็น 4 ข้อคือ
(1) ออกเสียงสระให้ตรงตัว อย่าทำเสียงอื่นปนหรืออย่า
ออกเสียงผิดๆ
(2) ในการขับร้องหมู่ ผู้ร้องทุกคนควรออกเสียงสระให้เหมือนกัน
- 4 -
(3) สำหรับคำที่มีสระผสม (เช่น คำว่า “เดียว” มีสระ
2 ตัว คือ สระอี และสระอู) ควรร้องสระเอา (ตัวหน้า) ตามค่าของตัวโน้ตไม่เน้นสระโอ (ตัวหลัง) จนเกินไป (ในกรณีนี้ไม่เน้นสระอู จะร้องสระอีจนกว่าหมดค่าของโน้ตและสรุปคำด้วยสระอู)
(4) ร้องต่อสระคำหนึ่งไปยังอีกคำหนึ่งให้ต่อเนื่องกัน อย่าร้องขาดเป็นห้วงๆ
สำหรับการออกเสียงพยัญชนะ ผู้ร้องอาจจะปฏิบัติดังนี้คือ พยายามร้องสระให้ยาวที่สุดและร้องพยัญชนะให้สั้นที่สุดแต่ชัดเจน
หลักการร้องพยัญชนะ แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ
(1) ถ้าคำใดขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ควรร้องพยัญชนะตรงจังหวะ อย่าร้องช้ากว่าจังหวะ
(2) ควรจะเปล่งเสียงพยัญชนะ เช่น เชอะ ฟัก ก่อนจังหวะของมันเล็กน้อย เมื่อจังหวะของมันมาถึงเสียงที่ร้องจะได้ตรงจังหวะพอดี แล้วร้องสระของคำนั้นทีหลัง (พยัญชนะจะออกเสียงจากไรฟันและช่องข้างลิ้น)
(3) เนื่องจากสระเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการร้องเพลง ควรร้องพยัญชนะแต่ละตัวให้สั้น
(4) เปล่งเสียงพยัญชนะทางส่วนหน้าของปาก เพราะสะดวกในการเปล่งเสียงมากกว่าที่อื่น และเพื่อให้ชัดเจนอย่าออกเสียงพยัญชนะจากโคนลิ้น
(5) ออกเสียงพยัญชนะทุกตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พยัญชนะเป็นตัวเดียวกันสองตัว เช่น หนักแน่น
- 5 -
หลักการร้องเพลงเสียงต่ำ แบ่งออกเป็น 6 ข้อคือ
(1) ใช้เลียนแบบเช่นเดียวกับการพูด เสียงจะอยู่ที่ริมฝีปาก พยัญชนะและสระอยู่ที่ริมฝีปากไม่ใช่อยู่ในคอ
(2) เมื่อจะเริ่มร้องเสียงต่ำจะต้องเริ่มคิดเสียงสูงไว้
(3) ยิ่งเสียงลงต่ำช่องในปากจะเล็กลง ถ้าปากกว้างไปเสียงจะไม่มีกำลัง
(4) เวลาร้องเสียงต่ำไม่ควรร้องเสียงดัง
(5) บังคับลมและกำลังไว้ไม่ให้พลังออกมามากพร้อมกับเสียง เพราะจะทำให้เสียงหนักเกินไป
(6) ให้เสียงต่ำมีลักษณะก้องหรือสะท้อนกังวานออกมาคล้าย
เสียงฮัม
หลักการร้องเพลงเสียงสูง แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ
(1) ใช้สมองหรือใช้ความคิดช่วยในการร้องเสียงสูง เช่น จะร้องเสียงซอลสูง ให้สมมุติว่าจะร้องเสียงสูงเท่ากับที่เคยร้องมาก่อน
(2) การร้องเสียงสูงต้องใช้พยัญชนะเร็วและชัด โดยใช้พลังของลมจากพยัญชนะถึงสระ
(3) การร้องเสียงสูงให้ปล่อยเสียงออกมาตามสบายโดยไม่ต้องบังคับ
(4) เมื่อร้องเสียงสูงให้ปล่อยขากรรไกร ปล่อยลิ้นตามสบาย อ้าปากกว้างไม่ต้องเงยหน้าและไม่เกร็ง
(5) ใช้พลังของลมจากกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง เอวและสะโพก แต่ใช้กล้ามเนื้อที่คอเปล่งหรือบังคับเสียง
- 6 -
6. อักขระ เป็นสิ่งสำคัญในการร้องเพลง โดยเฉพาะ
คำควบกล้ำ คำสั้นยาว แต่ละคำล้วนมีความหมาย เพราะบทเพลงแต่ละเพลงที่ถ่ายทอดจากจินตนาการของ นักแต่งเพลง ล้วนมีความหมายและอารมณ์อยู่ในตัวของมันเอง ผู้ร้องคือผู้ถ่ายทอดจินตนาการของบทเพลงนั้นๆ ถ้าไม่พิถีพิถันด้านอักขระจะทำให้เพลงนั้นหมดความหมายและอารมณ์ทันที เช่น ฉันรักเธอ เป็น ฉันลักเธอ ขี่ควายชมจันทร์ เป็น ขี่ฟายชมจันทร์ หนัก เป็น หนาก หรือ เพลง เป็น เพง
ความรู้เรื่องการร้องเพลงที่กล่าวมานี้เป็นเพียงหลักที่
ต้องนำไปฝึกหัดและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
ยังมีความรู้ในด้านอื่นๆ อีกเป็นส่วนประกอบ เช่น สัดส่วนของคำควรจะร้องอย่างไรสำหรับจังหวะนั้น ๆ การฝึกเอื้อน ฝึกลูกคอ การโหนเสียง ความรู้ในการรักษาเสียง ความรู้ในการใช้ไมโครโฟน วิธีการถือไมโครโฟนเป็นอย่างไร การเลือกเพลงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ สถานที่ และบุคลิกของตัวเอง รวมทั้งควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
สิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องศึกษาไว้ด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ร้องควรคำนึงก็คือการวางอิริยาบทในเวลาร้องเพลงบนเวที สำหรับผู้ร้องที่ไม่ประกอบแอ็คชั่นหรือออกท่าทาง
ในเวลาร้องเพลง ต้องอยู่ในลักษณะสงบ ไม่เอียงหน้าไปมาในขณะร้อง ไม่เอามือไขว้หลังหรือประสานมือไว้ข้างหน้า
ผู้ที่ยังออกท่าทางไม่ได้ก็ควรออกความรู้สึกของบทเพลงบางตอนทางใบหน้าและสายตาเท่านั้นก็พอ หากบางเพลงจำเป็นต้องมีแอ็คชั่นก็ควรฝึกจากผู้สอนที่มีหลักวิธีจะทำให้ความหมายในบทเพลงดีขึ้น
- 7 -
เรื่องมารยาทของผู้ร้องก็เช่นกัน ขณะอยู่บนเวทีสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ยิ้มและร่าเริงทันทีเมื่ออยู่บนเวที (นอกเหนือจากการแสดงที่มีการกำกับไว้ตายตัว)
ต้องเคารพต่อผู้ฟังผู้ชมทุกครั้ง อย่าปล่อยอารมณ์ที่ไม่พอใจเมื่อได้รับสิ่งที่ไม่พอใจ
ตรงต่อเวลาโดยเคร่งครัด
-------------------------------------
นายพงศ์ หาญไชยพิบูลย์กุล
งานดนตรีสากล กองนันทนาการ
สำนักสวัสดิการสังคม
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2
ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10320
โทร.2460287, 6406425,6436121,มือถือ 01-9125797
ขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับความร้ขออนุญาตเผยแพร่ ................nsupaporn@yahoo.com..