ที่ นร 0206/ว 107 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กท 10300
8 กรกฎาคม 2542
เรื่อง การปรับปรุง แก้ไขหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ
เรียน กระทรวง ทบวง กรม
อ้างถึง หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0205/ว 58 ลงวันที่ 19 เมบายน 2536
สิ่งที่ส่งมาด้วย หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์
ตามที่ได้ยืนยันมติคณะรัฐมนตรี (15 เมษายน 2536) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอยู่เวรรักษาการณ์ มาเพื่อถือปฏิบัติ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เมบายน 2536 บางส่วนยังไม่ชัดเจนและมีปัญหาในทางปฏิบัติ จึงเสนอขอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มิฤนายน 2536 ที่อ้างถึง และให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์ ความละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วยนี้
คณะรัฐมนตรี ได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 ลงมติว่า
1. อนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 เมยายน 2536 เรื่อง การจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0205/ว 58 ลงวันที่ 19 เมษายน 2536
2.เห็นชอบพลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอและให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนห้องถิ่นหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ ถือปฏิบัติต่อไป
จึงเรียนยืนยันมา/จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอได้ไปรดแจ้งให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
(นายวิษณุ เครืองาม)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
7 ก.ค, 2542
หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์
1. กำหนดนิยามของคำต่อไปนี้
"เวรรักษาการณ์" หมายถึง เวรเฝ้าดูแลเหตุการณ์ประจำสถานที่นั้น ๆ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
"ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร" หมายถึง ผู้อยู่เวรรักษาการณ์นอกเวลาทำการ
"หัวหน้าเวร" หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรที่เป็นผู้ควบคุมพิจารณาตัดสินใจกรณีต่าง ๆในการปฏิบัติหน้าที่เวร
"ผู้ตรวจเวร" หมายถึง ผู้ตรวจตราดูแลการปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ของผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร
2. ให้กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการหรือหน่วยงานนอกเวลาราชการ และในวันหยุดราชการตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อดูแลป้องกันความเสียหายอันจะบังเกิดแก่สถานที่ราชการหรือหน่วยงานจากกรณีต่าง ๆ
3. การจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรในแต่ละผลัดให้มีหัวหน้าเวร 1 คน และผู้อยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่เวรอีก 1 คน หากส่วนราชการหรือหน่วยงานแห่งใดมีจำนวมผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรน้อยไม่สะดวกแก่การปฏิบัติให้ลดจำนวนผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร ได้ตามความจำเป็น โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น
4. ในแต่ละผลัดของการ จัดเวรรักษาการณ์ให้มีผู้ตรวจเวร 1 คน โดยให้ผู้ตรวจเวรต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร
5. การกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ หรือผู้ตรวจเวรให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นจะกำหนดตามความเหมาะสม
6. ให้จัดทำหลักฐานการจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรและผู้ตรวจเวรโดยกำหนดวัน เวลา และตัวบุคคลไว้ให้แน่นอน
7. การจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรและผู้ตรวจเวรของสตรีให้จัดให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในเวลากลางวันของวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่ โดยเฉพาะที่จะต้องปฏิบัติในเวลากลางคืนโดยจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรและผู้ตรวจเวรสตรีในกรณีนี้ด้วย
8. ถ้าปรากฏว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร หรือผู้ตรวจเวรจงใจละทิ้งหน้าที่ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดหรือความร้ายแรงแก่กรณี
9. ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีหน่วยรักษาความปลอดภัยประจำสถานที่ราชการหรือมีการจ้างเอกขนให้บริการดูแลรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย หรือหน่วยงานนั้นรับผิดชอบในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอยู่แล้วจะไม่จัดให้มีเวรรักษาการณ์เละผู้ตรวจเวรก็ได้
10. กรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีความจำเป็นไม่อาจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ให้ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจในการที่จะสั่งการการอยู่เวรรักษาการณ์ตามความเหมาะสมได้ โดยไม่ให้เกิดผลเสียหายกับงานและทรัพย์สินของราชการหรือหน่วยงาน