ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เปรียบเทียบความเห็นและเหตุผลของนักกฎหมายฝ่ายที่เสนอให้แก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกรณีการตั้งเขตพื้


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,411 ครั้ง
เปรียบเทียบความเห็นและเหตุผลของนักกฎหมายฝ่ายที่เสนอให้แก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกรณีการตั้งเขตพื้

Advertisement

เปรียบเทียบความเห็นและเหตุผลของนักกฎหมายฝ่ายที่เสนอให้แก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกรณีการตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากับข้อโต้แย้งและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนปากท่อพิทยาคมที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
 
1. กฎหมายที่ได้รับการเสนอให้แก้ไข
พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 
          ม.37 บัญญัติว่า การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากรวัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
          ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
(1)        การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ
 สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
(2)        การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษา
ตามอัธยาศัย
(3)        การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(4)        การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่
การศึกษา
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมายฉบับนี้
1.            แก้ไขมาตรา 37 ในวรรค 1 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขต
พื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.            เพิ่มเติมวรรคท้ายในมาตรา 37 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษามี
อำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
1.            ความสำคัญของข้อเสนอแนะให้แก้ไขมาตรานี้คือให้เพิ่มเติมสาระว่า “...โดย
คำนึงถึงระดับการศึกษา...” กรณีนี้เห็นว่าผู้เสนอแนะให้ความสำคัญกับการเพิ่มสาระว่า “ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรณีนี้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมความดังกล่าวเนื่องจาก พ.ร.บ.นี้
ได้กำหนดและให้ความสำคัญกับการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยคำนึงถึง “ระดับการศึกษา” ไว้แล้วในหมวดที่ 4 เรื่อง แนวการจัดการศึกษา โดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 26 และมาตรา 28
       2. ที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมในวรรคท้ายของมาตรา 37 มีสาระสำคัญว่า “...ให้รัฐมนตรี
โดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาประกาศเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประถมศึกษาและมัธยมศึกษา”
      เรื่องนี้เห็นว่าสาระของการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเพียงการเพิ่มเติม
ข้อความให้มีความชัดเจนขึ้นเท่านั้นหากไม่เพิ่มเติมข้อความดังกล่าวก็สามารถดำเนินการให้มีการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาได้เนื่องจาก
-                   ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามไว้
-                   แนวการจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.นี้ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารและจัด
การศึกษาให้คำนึงถึงระดับการศึกษาและยังได้มีกฎกระทรวงศึกษาธิการได้
บัญญัติไว้มีสาระสำคัญว่าระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐานแยกเป็นการศึกษาระดับประถมศึกษาและการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ข้อค้นพบจากงานวิจัยต่างๆพบว่า “ผลการจัดการศึกษาโดยการรวมการจัดการศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาและระดับระดับประถมศึกษาไว้ในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกันส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำและยังส่งผลให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการศึกษาอีกมากมาย” ข้อค้นพบดังกล่าวนี้จึงสามารถหยิบยกไปเป็นเหตุผลที่สำคัญในองค์ประกอบของการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาเรื่อง “ความเหมาะสมด้านอื่น”
 
 
กฎหมายที่ได้รับการเสนอให้แก้ไข
พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 
ม.38 “ ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 
จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ให้เพิ่มเติมข้อความเป็นวรรคท้ายว่า “ในการดำเนินการกับสถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใดให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
ที่ให้เพิ่มเติมข้อความเป็นวรรคท้ายตามข้อเสนอแนะดังกล่าวนั้นเห็นว่าไม่จำเป็นเนื่องจาก
-                   กรณีนี้สามารถกำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546  โดยกระทรวงศึกษาธิการสามารถออกเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการกำหนดภาระหน้าที่ให้เป็นของเขตการศึกษาใดเขตการศึกษาหนึ่งก็ได้
 
กฎหมายที่เสนอให้แก้ไข
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ให้แก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนกรรมการเขตพื้นที่
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายนี้
กรณีนี้เห็นว่าผู้เสนอแนะมิได้ให้ความชัดเจนว่าจะต้องแก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนกรรมการเขตพื้นที่ไว้ว่าเป็นอย่างไร
            เมื่อพิเคราะห์จากข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง กำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 ที่บัญญัติไว้มีสาระสำคัญว่า “ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 15 คน” แล้วเห็นว่าบทบัญญัติในเรื่องจำนวน ประเภทตลอดจนคุณสมบัติของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา นั้นไม่เป็นอุปสรรคใดๆในเรื่องของการประกาศตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาแต่อย่างใด
 
2. กฎหมายที่เสนอให้แกไข
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 
          ม.33 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากรวัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
มาตรา 33 แก้ไขเหมือนมาตรา 37 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
ไม่จำเป็นต้องแก้ไขมาตรานี้โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับที่ได้ให้ไว้แล้วใน 1
 
3. กฎหมายที่ได้รับการเสนอให้แก้ไข
ม.36 ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคลครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษาและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
           คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชนผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคม ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 
            จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
            ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา 
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
เพิ่มเติมข้อความเป็นวรรคท้ายว่า “ในการดำเนินการกับสถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใดให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมข้อความในวรรคท้ายของมาตรานี้โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับที่ให้ไว้แล้วคือ
-                   กรณีนี้สามารถกำหนดไว้ในกฎกระทรวงตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
กระทรวงศึกษาธิการสามารถออกเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการกำหนดภาระหน้าที่ให้เป็นของเขตการศึกษาใดเขตการศึกษาหนึ่งก็ได้
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
เพิ่มบทเฉพาะกาล รมว. มีอำนาจเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เหมือนกับ ม.76 วรรค 2 เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
            กรณีนี้เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมความดังกล่าวไว้ใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 แต่อย่างใดเพราะในการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมาแม้ไม่มีความดังกล่าวบัญญัติไว้ในพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ก็สามารถบังคับใช้กฎหมายได้
4. กฎหมายที่ได้รับการเสนอให้แก้ไข
พรบ. ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ม.7 เพิ่มผู้แทนใน (5)
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
            กรณีนี้เห็นว่าในชั้นนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม เพราะความในมาตรา 7 ที่มีอยู่เดิม มิได้เป็นข้อจำกัดในการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหากจะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมก็สามารถดำเนินการได้ในภายหลังที่มีการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาแล้ว
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ม.21(4) แห่ง พ.ร.บ.ครูและบุคคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ให้แก้ไขตัวแทนประถมมัธยมในองค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายนี้
            กรณีนี้หากพิเคราะห์จากเจตนารมณ์ ของพ.ร.บ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 21(4)แล้วเห็นว่ามีเจตนารมณ์เพื่อต้องการให้เกิดความเป็นธรรมในเรื่องการบริหารงานบุคคลในกรณีที่มีการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน
            อย่างไรก็ตามหากมีการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา องค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ที่มีผู้แทนครูประถมศึกษา และผู้แทนผู้บริหารประถมศึกษาก็มิได้เป็นข้อจำกัดในการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาแต่อย่างใดเพราะการไม่มีผู้แทนครูประถมศึกษาและผู้แทนผู้บริหารประถมศึกษาในการประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาก็มิได้ทำให้เสียความเป็นธรรมหรือขัดกับกฎหมายแต่อย่างใด
            สำหรับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเดิมนั้นเห็นว่าเมื่อเขตพื้นที่การศึกษาเดิมไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนสถานศึกษาฝ่ายมัธยมศึกษาที่ทำหน้าที่เป็น ผู้แทน อ.ก.ค.ศ.ในเขตพื้นที่การศึกษาเดิมก็ต้องพ้นสภาพไปทันทีเมื่อมีการประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเนื่องจากเขตพื้นที่การศึกษาเดิมไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
สาระที่เสนอให้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าต้องแก้กฎหมาย
ให้เพิ่มบทเฉพาะกาลให้ อ.ค.ก.ศ.เดิมดำรงตำแหน่งให้ครบวาระ 
เหตุผลและความเห็นของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ ที่เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
            กรณีไม่จำเป็นต้องเพิ่มบทเฉพาะกาลด้วยเหตผลดังกล่าวข้างต้น
หมายเหตุ เหตุผลข้อโต้แย้งดังกล่าวข้างต้นเป็นความเห็นส่วนตัวของนายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ เท่านั้น ไม่ผูกพันหน่วยงานใด และเป็นความเห็นที่เสนอด้วยความเคารพต่อผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง
 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 2234 วันที่ 28 พ.ย. 2551


เปรียบเทียบความเห็นและเหตุผลของนักกฎหมายฝ่ายที่เสนอให้แก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกรณีการตั้งเขตพื้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ยืดอายุการใช้งาน Handy Drive

ยืดอายุการใช้งาน Handy Drive


เปิดอ่าน 6,409 ครั้ง
ความสุขที่มองไม่เห็น.........

ความสุขที่มองไม่เห็น.........


เปิดอ่าน 6,407 ครั้ง
ถ้าคุณอ่านบทความนี้ได้...

ถ้าคุณอ่านบทความนี้ได้...


เปิดอ่าน 6,423 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เจ้าหญิงวุ่นวาย เจ้าชายเย็นชา 35

เจ้าหญิงวุ่นวาย เจ้าชายเย็นชา 35

เปิดอ่าน 6,409 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทดสอบเห็ดพิษ ....ใครคิดว่ายาก
ทดสอบเห็ดพิษ ....ใครคิดว่ายาก
เปิดอ่าน 6,403 ☕ คลิกอ่านเลย

....คำถามกวนๆ<>เฉลยแบบขำๆ....
....คำถามกวนๆ<>เฉลยแบบขำๆ....
เปิดอ่าน 6,868 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องเล่าอิงธรรมะ...คุณรักใครได้ขนาดนี้หรือเปล่า........??????????
เรื่องเล่าอิงธรรมะ...คุณรักใครได้ขนาดนี้หรือเปล่า........??????????
เปิดอ่าน 6,403 ☕ คลิกอ่านเลย

นำเสนอเพลงประกอบบทเรียน
นำเสนอเพลงประกอบบทเรียน
เปิดอ่าน 6,424 ☕ คลิกอ่านเลย

art photographs
art photographs
เปิดอ่าน 6,417 ☕ คลิกอ่านเลย

ให้แฟนคุณอ่านน่ะ
ให้แฟนคุณอ่านน่ะ
เปิดอ่าน 6,413 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ลดความอ้วน ก็ไม่ยากซะหน่อย
ลดความอ้วน ก็ไม่ยากซะหน่อย
เปิดอ่าน 11,238 ครั้ง

กำเนิด 4 อาชีพใหม่ไอที
กำเนิด 4 อาชีพใหม่ไอที
เปิดอ่าน 26,861 ครั้ง

"ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
"ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
เปิดอ่าน 12,058 ครั้ง

8 สิ่งต่อไปนี้ดีต่อผิวจริง ๆ
8 สิ่งต่อไปนี้ดีต่อผิวจริง ๆ
เปิดอ่าน 10,561 ครั้ง

แนะนำ 7 รถยนต์ปอร์เช่ Porsche ระดับพรีเมียมที่ทรงพลังมากที่สุด
แนะนำ 7 รถยนต์ปอร์เช่ Porsche ระดับพรีเมียมที่ทรงพลังมากที่สุด
เปิดอ่าน 14,071 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ