วิธีการสืบแสวงหาความรู้ของมนุษย์
สรุปโดย นายทองใบ ปัดทำ ครู คศ. ๓ โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
ความคิดของมนุษย์อยู่ไม่เป็นสุข สืบแสวงหาความรู้ตลอดเวลาเป็นกระบวนการต่อเนื่อง แวน ดาเลน(Van Dalen, ๑๙๖๒:๑๕-๒๗) รวบรวมการสืบแสวงหาความรู้ ตามลำดับมา ๕ ประการ คือ
๑. แหล่งความรู้(Authority) เช่น เจ็บไข้ก็ไปหาหมอ การสืบแสวงหาความรู้จากที่สังคมสร้างสมมาตามจารีตประเพณีที่ถือปฏิบัติมา เช่น การแต่งการ การเคารพ มารยาท ความเชื่อ ฯลฯ ความเห็นของนักปราชญ์หรือนักบวช หรือคำสอนทางศาสนา
๒. ประสบการณ์ส่วนบุคคล(Personal Experience) เพราะประสบการณ์เป็นแนวทางช่วยให้เกิดความคิด เช่น การพูดดังๆ คนมักสนใจฟัง หรือการพูดจาอ่อนหวาน
๓. เหตุผลจากการอนุมาน(Deductive Reasoning) อาศัยการใช้เหตุผลของตนเอง โดยแยกปัญหาเป็นวงกว้างและวงแคบแล้วสรุป คือเป็นวิธีการเริ่มจากเหตุหรือข้อเท็จจริงใหญ่ก่อน แล้วมีเหตุหรือข้อเท็จจริงย่อย อริสโตเติล เรียกว่า Syllogism
๔. เหตุผลจากการอุปมาน(Inductive Reasoning) เป็นวิธีย้อนกลับกับวิธีอนุมาน ซึ่งโต้แย้งวิธีการในข้อ ๓ โดย ฟรานซิส เบคอน ที่ได้เสนอวิธีการสรุปโดยอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลย่อยๆ มาโดยการสอบวัด สังเกต และอื่น ๆ หาความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับข้อมูล แล้วจึงขยายความหรือสรุปอิง
๕. วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific Method) เป็นวิธีการสืบแสวงหาความรู้ของมนุษย์
สมัยใหม่ คิดค้นโดย ชาร์ลส์ ดาร์วิน คิดค้นโดยอาศัยวิธีอนุมาน-อุปมาน เพราะวิธีการนี้คิดกลับไปกลับมา ผู้ที่คิดขึ้นมาคือ จอห์น ดุย(John Dewey) เมื่อปี ๑๙๑๐ ได้แบ่งขั้นตอนการแก้ปัญหา ๕ ประการ คือ
๕.๑ ขั้นปรากฏความยุ่งยากเกิดเป็นปัญหาขึ้น หรือขั้นปัญหา
๕.๒ ขั้นจำกัดขอบเขตและนิยามความยุ่งยาก
๕.๓ ขั้นเสนอแนะการแก้ปัญหา คือสมมติฐาน
๕.๔ ขั้นอนุมานเหตุผลของสมมิฐานที่ตั้งขึ้น
๕.๕ ขั้นทดสอบสมมติฐาน
หรือสรุปต่อมาเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มี ๕ ขั้นตอน คือ
๑. ขั้นปัญหา
๒. ขั้นตั้งสมมติฐาน
๓. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
๔. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
๕. ขั้นลงสรุป