ถ้าพูดถึงเรื่องการบริหารงานบุคคล ตามหลักการและทฤษฏีการบริหาร มีนักการบริหารการศึกษาท่านหนึ่ง และเป็นผู้ใหญ่ทางการศึกษา ซึ่งอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษามายาวนาน มักใช้คำพูดว่า "นักบริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดี มองการไกล หยั่งรู้ดิน รู้ฟ้า รู้กาล รู้เวลา ไม่จับเจ่าอยู่แค่ใต้ถุนบ้านหรือข้างบ้าน ควรมองไปไกล ๆ มองให้เห็นว่าในทะเลอันกว้างใหญ่นั้นมีสรรพสิ่ง นานาวัตถุ นานามวลสาร นานาพลัง" ท่านพูดมาในครั้งนี้น่าคิดมาก เราบรรดานักบริหารทั้งหลายต้องสยบ กับคำพูดที่ท่านพูดออกมา ดูแล้วเหมือนกับว่าบรรดานักบริหารมืออาชีพทั้งหลาย ที่อยู่ในที่แห่งนั้นเสมือนหนึ่งไร้ศักยภาพไปชั่วขณะ เวลาเนิ่นนาน ผ่านไปพอประมาณเราก็คอยดูท่าทีและแนวทางการปฏิบัติงานที่ท่านบริหารอยู่ ว่าเป็นเช่นไรบ้าง เราจะได้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง จากวันนั้นมาวันนี้ คำพูดที่ท่านพูดยังก้องอยู่ในหูของพวกเรา แต่แล้วก็คว้าน้ำเหลว เรายังไม่เห็นสถานการณ์ใดเลยที่เป็นกรณีตัวอย่างให้เห็นว่า
"นักบริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดี มองการไกล หยั่งรู้ดิน รู้ฟ้า รู้กาล รู้เวลา ไม่จับเจ่าอยู่แค่ใต้ถุนบ้านหรือข้างบ้าน ควรมองไปไกล ๆ มองให้เห็นว่าในทะเลอันกว้างใหญ่นั้นมีสรรพสิ่ง นานาวัตถุ นานามวลสาร นานาพลัง" เราผิดหวังมาก นี่แหละการศึกษาเมืองไทยจึงล้มเหลว เพราะนายดีแต่พูด พูดแล้วไม่ทำ ซึ่งมีกรณีตัวอย่างมากมายที่สามารถหยิบยกมาให้ห็นได้
1. การโยกย้ายผู้บริหารล่าช้า ทำให้หน่วยงาน(โรงเรียน)เสียประโยชน์ ราชการเสียประโยชน์
2. การโยกย้ายครูสายผู้สอน ล่าช้าเปิดภาคเรียนไปนานแล้ว เด็กยังรออีกมาก รอครู ป่านนี้ เกือบสิ้นเดือนแรกของภาคเรียนที่ 2 แล้ว การดำเนินการโยกย้ายยังไม่เกิดขึ้น เด็กขาดโอกาส การศึกษาต้องหยุดชะงัก นี่หรือมองการไกล
3. การจัดสรรงบประมาณล่าช้า ไม่สัมพันธ์กับปีการศึกษา หน่วยงานนโยบายกับหน่วยงานปฏิบัติไม่สัมพันธ์กัน
4. การใช้งบประมาณโดยเฉพาะเกี่ยวกับการอบรม ส่วนใหญ่จะนิยมเดือนกันยายน แล้วช่วงที่โรงเรียนเขาหยุดให้เด็กหยุดพักผ่อน ทำไม่ไม่เอาครูไปพัฒนา ช่วงเดือนกันยายนเด็กก็จะสอบกลางปี ครูก๋ยุ่งกับการอบรม ยุ่งอยู่กับช่วงผลาญงบประมาณให้ทันกับปีงบ ฯ
เศร้าใจจริง ๆ