Advertisement
ระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง
จุดประสงค์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง
เรื่อง ระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง
1. รังไข่ (ovary) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ทีสำคัญที่สุดของเพศหญิง รังไข่มีอยู่ 2 ข้าง ของมดลูกข้างละหนึ่งอัน อยู่ลึกเข้าไปในอุ้งเชิงกรานมีเยื่อยึดรังไข่ไว้ รังไข่มีนำหนักประมาณ 2 – 3 กรัมมีขนาดเท่าหัวแม่มือ ภายในรังไข่ทั้งสองข้างของเด็กแรกเกิดจะมีไข่ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ (primary oocyte) อยู่จำนวนมาก รอบ ๆ โอโอไซต์ระยะแรกจะมีกลุ่มเซลล์ฟอลลิเคิล (follicular cell) หุ้มอยู่ เรียกโครงสร้างนี้ว่า ไพรมอร์เดียล ฟอลลิเคิล (primordial follicle)
- สร้างไข่ เมื่อถึงวัยสาว โดยโอโอไซต์จะสุกทุก ๆ เดือนโดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง คือ ฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเคิลหรือ FSH จะกระตุ้นไพรมอร์เดียล ฟอลลิเคิล ให้เจริญเติบโตระยะแรก (primary follicle)
2. ฟอลลิเคิลระยะแรกจะเจริญต่อไปเป็นฟอลลิเคิลระยะที่สอง ( secondary follicle) และมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก ไข่จะถูกดันให้ไปอยู่ตามริมของฟอลลิเคิล
ฟอลลิเคิลระยะที่สองในขั้นนี้จะเจริญเติบโตเต็มที่ กลายเป็นกราเฟียน ฟอลลิเคิล (graafian follicle) และเคลื่อนมาอยู่ขอบของรังไข่พร้อมที่จะแตกและปล่อยไข่ (โอโอไซต์ระยะที่สอง) หลุดออกมาขบวนการกราเฟียน ฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่และแตกออกจะอยู่ภายใต้อิทธิของฮอร์โมนลูติไนซิง หรือLH ที่หลั่งมากจากต่อมใต้สมองเรียกขบานการนี้ว่า การตกไข่ (ovulation) ระยะที่ตกไข่นี้อาจสังเกตได้จากการลดอุณหภูมิของร่างกายแล้วเพิ่มขึ้น
3. ไข่ที่หลุดออกมาจะผ่านไปตามท่อนำไข่หรือปีกมดลูก โดยการโบกพัดของซีเลียที่บุเซลล์ภายในท่อและการหด – คลายตัวของท่อนำไข่ ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่แล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ถ้าไข่ไม่ได้ปฏิสนธิในระยะเวลาดังกล่าวก็จะสลายตัวไป ในคนโดยปกติจะเกิดการตกไข่ครั้งละฟอง โดยตกจากรังไข่ข้างซ้ายและขาวสลับกันประมาณเดือนละครั้ง แต่ถ้าตัดรังไข่ออก 1 ข้าง รังไข่ข้างที่เหลืออยู่ข้างเดียวนั้นจะทำหน้าที่ตกไข่ทุกเดือน
- สร้างฮอร์โมน รังไข่ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนสำคัญ เช่น
1. ฮอร์โมนเอสโทรเจน (estrogen) สร้างมาจกกลุ่มเซลล์ที่อยู่รอบ ๆ ฟอลลิเคิลระยะแรก คือกลุ่มเซลล์ที่มีชื่อว่า ทีคา อินเทอร์นา (theca interna) ทำหน้าที่ควบคุมลักษระเพศหญิงและการเจริญเปลี่ยนแปลงของผนังชั้นในของมดลูก
2. ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (progesterrone) หลังจากเกิดการตกไข่ การกระตุ้นของ LH จะทำให้กราเฟียน ฟอลลิเคิล กลายเป็นเนื้อเยื่อสีเหลือง เรียก คอร์ปัส ลูเทียม (cortus luteum) ทำหน้าที่สร้างโพรเจอสเตอโรน เพื่อควบคุมการตั้งครรภ์และยับยั้งการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิล
2. มดลูก (uterus) เป็นอวัยวะที่อยู่ข้างหลังกระเพาะปัสสาวะมีขนาดยาวประมาณ 7 – 8 เซนติเมตร มีท่อนำไข่หรือปีกมดลูกเป็นส่วนยื่นออกมาจากตัวมดลูก มีเอ็นยึดให้อยู่กับที่ส่วนล่างของมดลูกติดตอกับช่องคลอด มดลูกทำหน้าที่สำคัญ คือ
- เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้วและการเจริญของตัวอ่อนจนถึงกำหนดคลอด
- เป็นแหล่งที่ทำให้เกิดการมีประจำเดือน
- เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ที่ตอนต้นของท่อนำไข่
โครงสร้างของมดลูก ประกอบด้วยพนัง 3 ชั้น คือ
1. ชั้นนอกสุด เรียก ซีโรซา (serosa) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบาง ๆ
2. ชั้นกลาง เรียก ไมโอมีเทรียม (myometrium) เป็นกล้ามเนื้อเรียบผนังชั้นนี้หนาให้ความแข็งแรงมีความยืดหยุ่นสูง ขยายตัวได้หลายเท่าในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดจะสามารถหดตัวได้เล็กเท่าเดิมที่เรียกว่า มดลูกเข้าอู่ เมื่อทารกคลอดชั้นนี้จะบีบตัวทำให้ทารกคลอดได้
3. ชั้นในสุด เรียก เอนโดมีเทรียม (endometrium) เป็นเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำชั้นนี้มีการเปลี่ยนแปลงทุกในในรอบเดือน เมื่อเกิดการตั้งครรภ์เยื่อชั้นนี้เป็นชั้นที่มีการสร้างรกเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนก๊าซและส่งอาหารให้แก่เอ็มบริโอ
วันที่ 21 พ.ย. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,412 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,221 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 34,315 ครั้ง |
เปิดอ่าน 58,574 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,839 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,786 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,110 ครั้ง |
|
|