ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 8,484 ครั้ง
Advertisement

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

Advertisement

หลักสูตรท้องถิ่นและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่นพอสรุปได้ ดังนี้
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539, หน้า 107) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง มวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่ผู้เรียนตามสภาพและความต้องการของ ท้องถิ่นนั้นๆ
วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ (2542, หน้า 124) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น คือ การนำหลักสูตร แกนกลางทั้งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนามาจากส่วนกลาง มาปรับขยายหรือเพิ่ม หรือสร้างหลักสูตรย่อยขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
อุดม เชยกีวงศ์ (2545,หน้า 6) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่สถานศึกษาหรือครูหรือผู้เรียนร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตจริงเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้อย่างมีคุณภาพ และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข
สำลี ทองธิว (2543, หน้า 18 อ้างถึงใน ณัฐกานต์ เรือนคำ, 2546, หน้า 13) ได้กล่าวไว้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง ดังนี้
1. เนื้อหาสาระ โครงสร้าง การจัดเวลา การบริหารหลักสูตร ซึ่งมาจากความต้องการของคนในท้องถิ่นเป็นสาระ แนวคิด หลักการที่คนในท้องถิ่นให้ความสำคัญ และมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นนั้นๆ
2. เป็นหลักสูตรที่คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างอย่างเท่าเทียมกันครูและผู้บริหาร โรงเรียน
3. เป็นหลักสูตรที่คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการประเมินนักเรียน หรือค้นหาความรู้ทัศนะในการเป็นคนในชุมชน
4. เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานวัฒนธรรมของท้องถิ่น ความเป็นท้องถิ่นกับความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เป็นการพัฒนาท้องถิ่นลักษณะเพื่อความยั่งยืนของท้องถิ่นนั้นๆ

             จากความหมายที่ศึกษา สรุปตามกรอบความคิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของผู้วิจัยได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยการขยายสาระที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามสาระและมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้วในสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณสมบัติอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

              เหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 311) ได้กล่าวถึงเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นว่า หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับหลักการของการพัฒนาหลักสูตรได้มากที่สุดด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. ตามหลักการของหลักสูตรนั้น หลักสูตรที่สร้างขึ้นจำเป็นจะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสนองความต้องการของสังคมชุมชนที่ใช้หลักสูตรนั้นๆ โดยเหตุนี้หากหลักสูตรที่สร้างขึ้นมีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้ในชุมชนแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะก็ย่อมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนนั้นได้มากที่สุด
2. ในการพัฒนาหลักสูตรได้มีการยอมรับความสำคัญของผู้ใช้และให้ผู้ใช้หลักสูตรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร ในทางปฏิบัติหากหลักสูตรได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในระดับชุมชนที่ไม่กว้างขวางมากนักก็ย่อมสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใช้หลักสูตรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรได้
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539, หน้า 109-110) กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรแม่บท ได้กำหนดจุดหมาย เนื้อหาสาระ และกิจกรรมอย่างกว้างๆ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้คล้ายคลึงกัน ทำให้กระบวนการเรียนการสอนมุ่ง เนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่เป็นหลักการทั่วไป ไม่สาสามารถประมวลรายละเอียดเกี่ยวกับสาระความรู้ตามสภาพของท้องถิ่นได้ จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิต เพื่อให้นำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นของตนอย่างเป็นสุข
3. การเรียนรู้ที่ดีควรจะเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปยังสิ่งที่ไกลตัว เพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถดูดซับได้เร็วกว่า จึงควรมีหลักสูตรระดับท้องถิ่นเพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ชีวิตจริงตามสภาพของท้องถิ่น ช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกผันต่อท้องถิ่น
4. ทรัพยากรท้องถิ่น โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยหลักสูตรท้องถิ่นสามารถเอาทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหลายมาใช้ในการเรียนการสอนได้

             นอกจากนี้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ยังกำหนดให้สถานศึกษาสร้างหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกิดจากการที่สถานศึกษานำสภาพต่างๆ ที่เป็นปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ มากำหนดเป็นสาระและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลาง และเพิ่มเติมสาระและมาตรฐานการเรียนรู้หรือรายวิชาได้ตามความถนัด ความสนใจของผู้เรียน โดยความร่วมมือของ ทุกคนในโรงเรียนและชุมชน หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพต้องเป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากข้อมูลสารสนเทศด้านต่างๆของ สถานศึกษาและชุมชน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการระดมทรัพยากรทั้งของ สถานศึกษาและชุมชนมาอย่างคุ้มค่า เต็มตามศักยภาพ (กรมวิชาการ, 2545 ค. หน้า 5-6)

              สรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างมากเพราะนอกจากภาระที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแล้ว การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำเพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในชุมชนท้องถิ่นของตน

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 312-314) ได้เสนอวิธีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 2 ลักษณะ คือ
1. การประเมินหลักสูตรแกนกลางให้เข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้ในประเทศไทยเป็นหลักสูตรในส่วนกลางและได้ใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีมาตรฐานขั้นต่ำทางด้านการศึกษาในระดับเดียวกัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้กว้างขวางในระดับประเทศเช่นนี้จึงมีเนื้อหาสาระซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นอยู่บ้าง ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการปรับเนื้อหาของหลักสูตรบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่นได้
2. การสร้างหลักสูตรย่อยในระดับท้องถิ่นขึ้นมาเสริมหลักสูตรแกนกลาง สำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน


กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
อุดม เชยกีวงศ์ (2545, หน้า 33-37) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้
1. การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน เป็นการศึกษาความเป็นอยู่ของชุมชนและผู้เรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างแท้จริง
2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดความต้องการ
3. การจัดทำผังหลักสูตร
4. การเขียนแผนการสอน
4.1 การกำหนดหัวข้อเรื่อง
4.2 การเขียนสาระสำคัญ
4.3 การกำหนดขอบเขตเนื้อหา
4.4 การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง
4.5 การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง
4.6 การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.7 การกำหนดสื่อการเรียนการสอน
5. การจัดการเรียนการสอน
6. การประเมินผล
สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 314-315) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับท้องถิ่น ให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 จัดตั้งคณะทำงาน
ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นที่ 3 กำหนดจุดมุ่งหมายสำหรับหลักสูตรท้องถิ่น
ขั้นที่ 4 พิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรกลางกับสภาพของท้องถิ่น
ขั้นที่ 5 ดำเนินการเลือกเนื้อหาสาระของหลักสูตร และ/หรือจัดสร้างรายวิชาขึ้นมาใหม่
ขั้นที่ 6 ดำเนินการใช้หลักสูตร
ขั้นที่ 7 ประเมินผลการใช้หลักสูตร
ขั้นที่ 8 ทำการปรับปรุงแก้ไข
นอกจากนี้ นิรมล ศตวุฒิ (2543, หน้า 119-120) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามขั้นตอน ดังนี้
1. จัดตั้งคณะทำงาน
2. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
3. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
4. เลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
5. กำหนดเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
6. ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้
7. เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร
8. นำหลักสูตรไปใช้
9. ประเมินหลักสูตร

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 2300 วันที่ 21 พ.ย. 2551

หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244

https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6


การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การดูแลรักษาตู้เย็น

การดูแลรักษาตู้เย็น


เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง
ข้อคิดจากสวนโมกข์

ข้อคิดจากสวนโมกข์


เปิดอ่าน 7,456 ครั้ง
วิจัยในชั้นเรียน

วิจัยในชั้นเรียน


เปิดอ่าน 7,202 ครั้ง
มีกลิ่นปาก

มีกลิ่นปาก


เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
ภาพประกอบ

ภาพประกอบ


เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ทรงผม(ผู้หญิง)มาแรงปี 2009!!!!!

ทรงผม(ผู้หญิง)มาแรงปี 2009!!!!!

เปิดอ่าน 7,183 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หน้าตา..บัวหิมะ...
หน้าตา..บัวหิมะ...
เปิดอ่าน 7,213 ☕ คลิกอ่านเลย

โรคตาขี้เกียจ
โรคตาขี้เกียจ' ตัวร้ายที่ต้องกำจัด
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย

10 สัตว์ฮา - แปลกแห่งปี
10 สัตว์ฮา - แปลกแห่งปี
เปิดอ่าน 7,172 ☕ คลิกอ่านเลย

การเก็บเงินของคุณบอกนิสัยอะไรได้บ้าง
การเก็บเงินของคุณบอกนิสัยอะไรได้บ้าง
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

สวนสวย..ช่วยประหยัดพลังงาน...ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่....
สวนสวย..ช่วยประหยัดพลังงาน...ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่....
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย

คำพูดดีดี!!!
คำพูดดีดี!!!
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เหตุใดคนญี่ปุ่นจึงมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสูง นี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบนี้..
เหตุใดคนญี่ปุ่นจึงมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสูง นี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบนี้..
เปิดอ่าน 15,629 ครั้ง

มหัศจรรย์ เลข 11
มหัศจรรย์ เลข 11
เปิดอ่าน 72,526 ครั้ง

น้ำประปาที่ใช้ในบ้าน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7
น้ำประปาที่ใช้ในบ้าน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7
เปิดอ่าน 13,519 ครั้ง

วงปีของต้นไม้ บอกอะไรกับเรา
วงปีของต้นไม้ บอกอะไรกับเรา
เปิดอ่าน 4,416 ครั้ง

6 วิตามินและแร่ธาตุที่ดีต่อสุขภาพช่องปาก
6 วิตามินและแร่ธาตุที่ดีต่อสุขภาพช่องปาก
เปิดอ่าน 10,772 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ