Advertisement
❝ สังคมไทยคงความเป็นเอกลักษณ์และผูกพันกับวิถีชีวิตผู้คนในหลายมิติมาแต่ช้านาน อาชีพต่างๆที่คนเราฝันใฝ่ต้องการจะเป็นมีมากมาย แต่อาชีพหนึ่งซึ่งสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในชีวิตและอยู่คู่สังคมไทยนับแต่อดีต คือ ข้าราชการ
ครูเป็นข้าราชการกลุ่มหนึ่งที่มีภาพลักษณ์ว่าเป็นแบบอย่างคือเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ ครูจึงเป็นผู้มีความรู้สมสมัย แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาชัดถ้อยคำแต่ไพเราะอ่อนหวาน (ไม่พูดศัพท์แอ๊บแบ๊วเช่นเด็กวัยรุ่นทั่วไป) วันหนึ่งๆจะง่วนอยู่กับการสอนอ่านเขียนและคิดให้ติดตัวนักเรียนก่อนจบการศึกษาออกไป ในโรงเรียนต่างๆจึงมีครู 2 ประเภท คือ ครูน้อยและครูใหญ่ (สมัยก่อน) ณ ปัจจุบัน ครูน้อยคือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนครูใหญ่ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน
สังคมชนบทไทยวันนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า ครูใหญ่เรียนจบสูงกว่าใครเพื่อน ในโรงเรียน หรือการจะเป็นครูใหญ่ต้องเริ่มจากเป็นครูน้อยและเรียนรู้งานไปก่อน ภายหลังไม่กี่ปี ก็สามารถสอบและปรับเป็นครูใหญ่ได้เอง ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ความเป็นจริงคือครูในโรงเรียน 2 ประเภทนี้ ทำงานคนละสายงานกัน ไม่เกี่ยวกับการเรียนจบหรือประสบการณ์งาน เพราะต้นทุนเดิมของการเรียนระดับอุดมศึกษา (ปริญญา) แตกต่างกัน และเรื่องราวในชีวิตของ แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน รวมทั้งประสบการณ์การเรียนรู้งานก็ยิ่งต่างประเภทกัน เหตุผลเหล่านี้ จึงน่าสนใจว่า คนเป็นครูใหญ่ไม่จำเป็นต้องเรียนจบสูงกว่าใครในโรงเรียนและการเรียนจบสูง ชั้นปริญญาต่างๆบางครั้งก็ไม่สามารถทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นเสมอไปจริงหรือไม่?หรือไม่จริง?
ถามว่าอายุเฉลี่ยของครูใหญ่อยู่ที่กี่ปี คำตอบคงเป็นบุคคลวัยทองหรือใกล้เกษียร ลองนึกคิดย้อนไปว่า แล้วประสบการณ์ของการทำงานหล่ะ ต้องตอบว่า โชกโชน เพราะผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านงานมานักต่อนักแล้ว จึงทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั่วไปในสังคม สำหรับความอาวุโสและการรู้ระบบงานอย่างแจ่มแจ้งไม่ต้องพูดถึง เพราะชัดเจนอยู่แล้ว ครูน้อยรุ่นใหม่อย่างเราๆจึงได้แต่ก้มหน้า ไม่กล้าสบตาและคอยทำทุกสิ่งทุกอย่างตามคำบัญชาทุกครั้งไป (ระบบการเคารพรุ่นเป็นสายเลือดทางความคิดที่ถูกสอนให้ติดแน่นมาตั้งแต่เรียนมหาลัยฯ) และอีกเหตุผลคือ ความก้าวหน้าทางวิชาชีพของตนเอง??
ผู้ประกอบอาชีพครูที่ไม่ใช่ครูมืออาชีพอย่างเราๆ (ครูน้อย) หลายต่อหลายคนเมื่อทำงานผ่านช่วงเวลาหนึ่งๆไป ก็จะเข้าใจเหตุผลและสภาพในการปฏิบัติงาน จึงเกิดความคิดมุมกลับว่า หากมีโอกาสจะเรียนต่อ และเปลี่ยนสายโดยการเรียนสายบริหารนี่หล่ะ จบมาจะได้สอบและทำงานสายบริหารเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีชีวิตที่ท้าทายและพบกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่า ที่เป็นอยู่ แต่?หยุด?สปีดความคิดสักนิด แล้วพิจารณาว่า เราพร้อมที่จะเป็นอย่างนั้น รักและพร้อมเผชิญเรื่องราวปัญหาเหล่านั้นหรือไม่??.
ข้าพเจ้าเคยฝันใฝ่ว่าอยากทำงานสายบริหารและไต่เต้าสู่งานที่ท้าทายตามลำดับขั้น สุดท้ายเมื่อใกล้เกษียรอายุราชการตำแหน่งที่ต้องการจะเป็นคือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ (เรื่องจริง ไม่อายและกล้าเปิดเผยครับ) แต่คำตอบขณะนี้และคงตลอดไป ต้องตอบว่า คิดดีแล้วไม่ดีกว่า? เพราะหลายๆเหตุผลที่ยังสงสัยแม้จะใคร่ครวญแล้วก็ยังงุนงงกับคำตอบว่า สายงานผู้บริหารดีกว่าสายงานผู้สอนตรงไหน หากไม่ยึดติดกับเกียรติยศชื่อเสียง..
ข้าพเจ้าจะเปรียบให้ผู้อ่านพิจารณาเพียง 3 ประการ คือ ประการแรกเรื่องค่าตอบแทนและความมั่นคงในวิชาชีพ เนื่องจากกฎหมายระเบียบใหม่ที่ออกมา หากเราเป็นครูที่ดี เก่ง มีความสุขและกระตือรือร้นในการทำงาน เรื่องเหล่านี้จะติดตามไป โดยอัตโนมัติ ซึ่งสายบริหารจะมีความยากมากกว่าเพราะจะต้องนำผลงานของการบริหารทุกส่วนไปจัดการแล้วจึงจะประเมินอีกขั้นตอนหนึ่ง (ผู้บริหารในโรงเรียนวิทยฐานะเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญพิเศษจึงมีน้อย)
ประการที่สอง เรื่องความเครียด บอกได้เลยว่าสายบริหารต้องพบปัญหานานาสารพัน จึงสะสมความเครียดไว้โดยไม่รู้ตัว ผู้บริหารทั่วไปจึงเครียดมากกว่าครูผู้สอนแน่นอน ยกตัวอย่างเหตุการณ์เช่น หน้าต่าง 3 บาน ถูกลมพัดให้เปิดออกมากระแทกผนังเสียงดัง ครูและผู้บริหารนั่งมองดูอยู่ทั้งสองคน จึงสนทนากัน ครูรู้สึกเฉยๆ เพราะคิดว่าไม่ใช่ห้องประจำชั้นของตนเอง ในขณะที่ผู้บริหารจะบ่นพึมพำและไม่พอใจในเหตุการณ์ที่พบเห็น (บางคนอาจถึงขนาดคิดต่อเนื่องไปอีกว่า จะหาแนวปฏิบัติอย่างไร จึงจะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก) ตัวอย่างดังกล่าวนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยมากที่แสดงให้เห็นถึงการสะสมความเครียด ในขณะที่การปฏิบัติงานจริงยังมีสิ่งที่ยากเย็นแสนเข็ญชวนเครียดทั้งนั้น เรียกว่ามากมายและไม่สิ้นสุดอีกต่างหาก (บางคนอาจมีความคิดผิดเพี้ยนไปหรือใช้วิธีคลายเครียดด้วยการดื่มเหล้าแทน?แต่คนละสโลแกนกับ จน เครียด กินเหล้า นะครับ)
ประการที่สาม เรื่องผู้คนและภาษีสังคม เป็นธรรมดาที่จะต้องเจอในชีวิตจริง ครู ไม่จำเป็นต้องรู้จักทุกคนดี แต่ผู้บริหารจำเป็นจะต้องรู้จักทุกคนดีเท่ากับที่รู้จักตัวเอง ครูมีหัวหน้า ไม่กี่คนและเลือกที่จะเอาใจใส่เพียงบางคนได้ แต่ผู้บริหารมีหัวหน้าเยอะแยะมากมายและต้อง เอาใจต่อทุกคน ครูเมื่อไปงานเลี้ยงหรืองานกิจกรรมต่างๆสามารถใส่ซองด้วยเงินจำนวนน้อยหรือพอประมาณได้ แต่ผู้บริหารจะต้องใส่ซองด้วยเงินจำนวนมากเพื่อให้สมเกียรติ ชื่อเสียงและตำแหน่งที่เป็นอยู่ในสังคม (แล้วจะไปเหลืออะไร)
ดังที่ได้กล่าวมา สรุปเพียงว่าบทความต่างๆที่ข้าพเจ้าพรรณนาไว้นี้ เป็นความคิดส่วนตัวเฉพาะกิจ ซึ่งอาจจะผิดแต่ได้สะท้อนมุมกลับออกไป ส่วนคำตอบที่แท้จริงและถูกต้อง คือ ข้าพเจ้า ไม่รู้?ไม่รู้เพราะไม่ได้และไม่เคยเป็นผู้บริหาร แต่ที่เขียนเพราะอยากฝากถึงครูผู้สอนรุ่นใหม่ว่า ถามตนเองดูนะครับ ว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการแท้จริงคืออะไร ตั้งคำถามและฝันไปว่า เราต้องการมีครอบครัวเล็กๆน่ารักๆ มีลูกน้อยสามีภรรยาครบหน้ากัน มีเวลาหยอกเย้าเล่นสนุก มีเงินทองออมเหลือใช้จ่ายอย่างไม่ขัดสน หรือฝันอะไรๆประมาณนี้หรือไม่ คำตอบคือ ฝันจะเป็นจริงได้หากในชีวิตจริง เรามีสิ่งต้องรับผิดชอบไม่ใหญ่โตเกินไป ผมล่ะชอบจริงๆกับประโยคหนึ่งจากหนังเรื่องไอ้แมงมุมที่ว่า ?ภาระอันยิ่งใหญ่ต้องมากับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง? คุณหล่ะ? อยากเป็นไอ้แมงมุมหรือเปล่า ?
❞
วันที่ 18 พ.ย. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,195 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,380 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,735 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,936 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,610 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,459 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,761 ครั้ง |
|
|