Advertisement
❝ กระทรวงวัฒนธรรมเผยผลสำรวจ พบนักการเมืองตัวอย่างห่วยสุดด้านใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง นิพิฏฐ์ ระบุเด็กรุ่นใหม่แห่ใช้ facebook - twitter ทำให้ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยน แนะหันมาเขียนจดหมายใช้ภาษาให้ถูกหลัก ❞
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 ก.ค. นี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ทำผลการสำรวจความคิดเห็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2553 จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 6,592 คน อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.35 ทราบมาก่อนว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 ก.ค. รองลงมาคือ ไม่ทราบ คิดเป็นร้อยละ 28.08 และไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 16.57
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.25 ทราบว่าวัตถุประสงค์หนึ่งที่กำหนดวันที่ 29 ก.ค. เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย และ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงห่วงใยและพระราชทานแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2505 รองลงมาร้อยละ 35.63 ไม่ทราบ และ ร้อยละ 23.12 ไม่แน่ใจ
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77.70 คิดว่าผู้ที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง คือ ครู อาจารย์ รองลงมาคือ พ่อแม่ผู้ปกครองร้อยละ 60.89 ผู้ประกาศข่าวร้อยละ 52.99 พิธีกรรายการโทรทัศน์ร้อยละ 37.23 ดารานักแสดงร้อยละ 31.37 ผู้ดำเนินรายการวิทยุร้อยละ 27.64 นักร้องร้อยละ 25.02 และนักการเมืองร้อยละ 22.12 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.30 ไม่เห็นด้วยกับประเด็นการพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ หรือพูดมีสำเนียงฝรั่ง เป็นการแสดงถึงการมีความรู้หรือความทันสมัย
ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.50 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น ไม่จำเป็นต้องเขียนภาษาไทยในการสื่อสารผ่านมือถือและอินเทอร์เน็ตให้ถูกต้อง เพราะทำให้เสียเวลา แค่สื่อสารกันรู้เรื่องก็พอแล้ว กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.70 ไม่เห็นด้วยกับประเด็นการพูดภาษาไทยไม่ชัด เช่น คำควบกล้ำ เสียงวรรณยุกต์ ถือเป็นเรื่องปกติ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.20 ไม่เห็นด้วยกับประเด็นการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ควรใช้ในเรื่องที่เป็นทางการเท่านั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.60 มีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยที่มีภาษาเป็นของตนเองอยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37 คิดว่าปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับค่อนข้างมาก
ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างที่เสนอให้ กระทรวงวัฒนธรรมควรรณรงค์ หรือจัดกิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามลำดับดังนี้ ร้อยละ 43.92 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย ร้อยละ 28.37 ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง และองค์กรที่ส่งเสริมสนับสนุนอนุรักษ์ภาษาไทย ร้อยละ 27.96 จัดกิจกรรมที่เพิ่มพูนประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทย และร้อยละ 0.74 อื่นๆ เช่น จัดอบรมหรือประชุมสัมมนาครูผู้สอนวิชาภาษาไทย อนุรักษ์ภาษาพื้นเมือง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างยังได้เสนอแนะ กระทรวงวัฒนธรรมดังนี้ รณรงค์ให้เด็กและเยาวชนใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ส่งเสริมกิจกรรมการใช้ภาษาถิ่นควบคู่กับภาษาไทย ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รณรงค์ให้สื่อทุกแขนง รวมทั้งพิธีกร ดารา นักแสดง นักร้อง ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการในการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมเกี่ยวกับภาษาไทย และจัดกิจกรรมผ่านสื่อต่างๆ จัดอบรม จัดแข่งขันเกี่ยวกับภาษาไทย เช่น การพูด การเขียน รวมทั้งยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่เป็นแบบอย่างในการใช้และอนุรักษ์ภาษาไทย
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนอยากจะรณรงค์ให้คนไทยใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เพราะวันนี้มีสิ่งเดียวที่แสดงความเป็นไทยคือ ภาษาไทย อย่างอื่นไม่บ่งบอกความเป็นไทยแล้ว ซึ่งตนคิดว่าบุคคลที่เป็นระดับบุคคลสำคัญใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรีทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนายสมัคร สุนทรเวช, นายชวน หลีกภัย ก็ใช้ภาษาไทยได้ดี ส่วนนายอภิสิทธิ์ก็ไม่เคยใช้ภาษาไทยปนอังกฤษ
แต่นายนิพิฏฐ์ ก็ยอมรับว่าปัจจุบันตนฟังเด็กไทยพูดภาษาไทยบางคำไม่รู้เรื่อง การใช้สำนวนก็แปลกๆ ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม มาถึงยุคหนึ่งภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หากผู้บริหารประเทศระดับสูงยังใช้ภาษาไทยได้ดีก็สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็ก และยังมีโอกาสอนุรักษ์ภาษาไทยที่ดีงามเอาไว้ได้
ส่วนสุภาษิตต่างๆ ทางกระทรวงศึกษาธิการยังทำการเรียนการสอนอยู่แล้ว เพียงแต่เด็กไม่ค่อยจำ เด็กเรียนเอาคะแนนอย่างเดียว เพราะว่าในชีวิตจริงเด็กไม่ได้ใช้ ที่สำคัญปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสารมีความทันสมัย เด็กเขียนภาษาไทยผ่านแต่ใน facebook - twitter - โทรศัพท์ ทำให้บางคำผิดเพี้ยน เด็กไม่เขียนจดหมายถึงกันแล้ว จึงอยากรณรงค์ให้เด็กหันมาเขียนจดหมายเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องกันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายนิพิฏฐ์กล่าวว่า ภาษาไทยไม่ว่าจะเป็นภาษาภาคกลางและภาษาท้องถิ่น เป็นภาษาของเราต้องช่วยกันรักษาไว้ ถ้าทุกคนไม่เห็นความสำคัญมันก็จบ ผมเป็นนักการเมือง สอนลูกผมพูดภาษาใต้ชัด เข้าใจภาษาดีกว่าลูกชาวบ้านอีก มีความภูมิใจในภาษาถิ่นของเรา
ขอบคุณแหล่งความรู้จาก : หนังสือพิมพ์ไทยโพสท์
Advertisement
เปิดอ่าน 12,608 ครั้ง เปิดอ่าน 11,558 ครั้ง เปิดอ่าน 7,839 ครั้ง เปิดอ่าน 9,182 ครั้ง เปิดอ่าน 12,829 ครั้ง เปิดอ่าน 3,839 ครั้ง เปิดอ่าน 25,377 ครั้ง เปิดอ่าน 10,029 ครั้ง เปิดอ่าน 15,928 ครั้ง เปิดอ่าน 18,794 ครั้ง เปิดอ่าน 14,212 ครั้ง เปิดอ่าน 24,146 ครั้ง เปิดอ่าน 1,311 ครั้ง เปิดอ่าน 13,318 ครั้ง เปิดอ่าน 32,929 ครั้ง เปิดอ่าน 17,216 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,072 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,241 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 996 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,781 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 38,042 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,437 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,301 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,793 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,104 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,930 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,966 ครั้ง |
|
|