ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเครื่องมือและเทคนิคการถ่ายภาพ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การถ่ายภาพมาโคร MACRO PHOTOGRAPHY


เครื่องมือและเทคนิคการถ่ายภาพ เปิดอ่าน : 29,392 ครั้ง
Advertisement

การถ่ายภาพมาโคร MACRO PHOTOGRAPHY

Advertisement

การถ่ายภาพมาโคร MACRO PHOTOGRAPHY (FOTOINFO)

การถ่ายภาพมาโคร เป็นการถ่ายภาพเพียงไม่กี่แบบที่ใช้หลักการพื้นฐานการถ่ายภาพที่แตกต่างออกไปจากการถ่ายภาพปกติ เลนส์ต้องออกแบบมาพิเศษ ความเข้าใจเรื่องระยะชัดแตกต่างออกไป และยังมีอัตราการเสียแสงอีก แต่มันไม่ได้ยากและน่าเบื่อขนาดนั้น กลับกันคุณอาจหลงรักมันเหมือนกับนักถ่ายภาพอีกหลายคนที่ติดใจกับเสน่ห์ของโลกการถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก ๆ ด้วยเลนส์ หรืออุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีกำลังขยายมากกว่าหรือเท่ากับ 1:1 เป็นการแบ่งแยกด้วยกำลังในการถ่ายภาพ กำลังขยาย 1:1 หมายความว่า ขนาดภาพบนเซ็นเซอร์รับภาพหรือฟิล์ม มีขนาดเท่ากับขนาดวัตถุจริง หากถ่ายภาพด้วยกำลังขยายต่ำกว่านี้เรียกว่า การถ่ายภาพ โคลสอัพ แต่เราก็มักจะเรียกรวม ๆ กันว่า การถ่ายภาพมาโคร

ดังนั้น อุปกรณ์หรือเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพมาโครจึงต้องถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีความสามารถในการโฟกัสในระยะใกล้มาก ๆ ได้ เลนส์มาโคร คืออุปกรณ์ชิ้นสำคัญสำหรับการถ่ายภาพมาโคร เลนส์จะถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ และมีกำลังขยายสูงสุดที่ 1:1 มีเพียงเลนส์บางตัวเท่านั้นที่มีกำลังขยายมากกว่านี้ ถ้าหากต้องการกำลังขยายที่สูงกว่านี้จะต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริม

สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้ถ่ายภาพมาโคร คือ กล้องและเลนส์ ในที่นี้จะพูดถึงกล้อง SLR เป็นหลัก การเลือกใช้เลนส์ให้เหมาะสมกับการใช้งานเป็นเทคนิคขั้นแรกที่สำคัญในการถ่ายภาพ หากขนาดของวัตถุมีขนาดค่อนข้างใหญ่ก็จะง่ายต่อการเลือกใช้เลนส์ ซับเจกต์บางอย่างแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าถ่ายมาเดี่ยว ๆ ด้วยกำลังขยายสูงก็อาจดูไม่น่าสนใจ อย่าเช่น ดอกไม้ดอกเล็ก ๆ ถ่ายภาพมาเป็นกลุ่มอาจดูน่าสนใจมากกว่า ดังนั้น เลนส์เทเลก็อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเลนส์มาโครในการถ่ายภาพลักษณะนี้

แน่นอนว่าถ้าคุณต้องการความคมชัดสูง กำลังขยายสูง เลนส์มาโครคืออุปกรณ์ที่จะขาดไปเสียไม่ได้ แต่การจะได้กำลังขยายสูง ๆ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเลนส์มาโครเท่านั้น เพราะมีอุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นทางเลือกให้ใช้งานร่วมกับเลนส์ทั่วไปแล้วได้กำลังขยายที่สูงขึ้น

ระบบการถ่ายภาพมาโครในกล้องดิจิตอลคอมแพคถือเป็ของแถมอันล้ำค่า หากเป็นกล้องฟิลม์คอมแพค การถ่ายภาพมาโครนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยความสามารถในการโฟกัสใกล้ ๆ เมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง มันจึงเป็นระบบการถ่ายภาพแบบไวด์มาโคร ที่ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจมาก มีความคมชัดที่น่าพอใจและแสดงถึงฉากหลังได้ดี

การวัดแสง

เมื่อคุณใช้ระบบวัดแสงจากตัวกล้องซึ่งเป็นระบบวัดแสงแบบสะท้อนที่ผ่านเลนส์เข้ามา อาจจะไมดูซับซ้อนนัก เพราะเพียงแค่กดปุ่มชัดเตอร์ลงครึ่งหนึ่งกล้องก็วัดแสง ค่าแสงที่ปรากฎเป็นค่าแสงทีค่สแดงถึงค่าแสงที่หายไปจากการถ่ายภาพในระยะใกล้ จากนั้นก็ชดเชยแสงตามค่าการสะท้อนของสี หรือชดเชยแสงไปในทิศทางที่คุณต้องการ

แต่ถ้าหากคุณใช้ระบบวัดแสงแบบตกกระทบ ซึ่งใช้ในเครื่องวัดแสงแบบมือถือ แยกออกนอนกตัวกล้อง หรือใช้การคำนวณแฟลชแบบแมนนวลจะต้องชดเชยแสงให้กับการเสียแสงด้วย เป็นทฤษฎีเรื่องแสง เนื่องจากการถ่ายภาพระยะใกล้กำลังขยายสูง แสงจะเดินทางและสะท้อนภายในกระบอกเลนส์ ค่าแสงจะลดลงราว 2 สตอป เมื่อถ่ายภาพที่กำลังขยาย 1:1 และประมาณราว 1 สตอป เมื่อถ่ายภาพที่กำลังขาย 1:2

เมื่อถ่ายภาพด้วยกำลังขยายมากขึ้น ก็จะเสียแสงมากขึ้นตามไปด้วย กล้องบางรุ่นบางยี่ห้องแสดงระดับค่าแสงโดยแสดงค่าขนาดรูรับแสงที่ปรับลดลงไปให้โดยอัตโนมัติ

การจัดองค์ประกอบภาพ

งานถ่ายภาพมาโครจัเป็นการถ่ายภาพเฉพาะทาง มีหลักคิดที่ใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพและการนำเสนอไม่มากนัก ประการแรกคือ ต้องการถ่ายภาพเพื่อแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่มีขนาดเล็ก คมชัดและขยายใหญ่ขึ้น ด้วยมุมมองแบบ Magnification Eye ด้วยความแตกต่างของการมองที่ผิดแผกไปจากปกติ ความแปลกตาที่เราไม่ได้เห็นวัตถุ หรือภาพเหล่านี้ในระยะใกล้กำลังขยายมาก ภาพจึงดูน่าสนใจ

ประการที่สองคือ เราต้องการถ่ายภาพวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เพื่อการใช้งานในด้านใดด้านหนึ่ง งานที่ต้องการใช้การถ่ายภาพมาโครเป็นประจำคือ การถ่ายภาพวัตถุที่มีความสำคัญ เช่น การถ่ายภาพเครื่องประดับ เพชร พลอย ต่าง ๆ หรือแม้แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ขนาดเล็ก ๆ งานเหล่านี้เป็นงานถ่ายภาพเชิงธุรกิจที่ใช้การถ่ายภาพมาโคร การถ่ายภาพพระเครื่อง ปลาสวยงาม เป็นตัวอย่างงานถ่ายภาพมาโครที่ใกล้ตัว นักถ่ายภาพหลายท่านมีรายได้จำนวนไม่น้อยกับการถ่ายภาพงานเหล่านี้

อีกงานหนึ่งที่เป็นตัวอย่างในการใช้การถ่ายภาพมาโคร คือการถ่ายภาพในงานเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีทั้งการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพแบบปกติ อย่างเช่น การถ่ายภาพดอกไม้ แมลง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และการถ่ายภาพผ่านกล้องกำลังขยายสูงมาก ๆ อย่างกล้องจุลทรรศน์ กล้องสเตอริโอแบบสองตา หรือแม้แต่การถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนที่ใช้ถ่ายภาพจุลชีพ

ในทางการแพทย์ก็มีการถ่ายภาพผิวหนัง ถ่ายภาพฟันในช่องปาก ซึ่งอาจจะไกลตัวสำหรับนักถ่ายภาพทั่วไป การจัดองค์ประกอบภาพสำหรับงานถ่ายภาพแบบนี้มักเน้นที่ความคมชัดของวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ เน้นความสำคัญที่รายละเอียดของรูปร่าง สัดส่วน ลักาณะพื้นผิว และมองเห็นในมุมที่ต้องการเป็นสำคัญ การจัดองค์ประกอบภาพจึงมักวางตำแนห่งไว้กลางภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดและนำไปใช้งานอื่นต่อไปได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การเลือกมุมมอง การควบคุมระยะชัด การเลือกฉากหลัง จะไม่เป็นกฎตายตัว ขึ้นอยู่กับนักถ่ายภาพและจุดประสงค์ในการนำภาพนั้นไปใช้งาน

สำหรับ การวางตำแหน่งจุดเด่นในภาพ ลวดลาย สีสันของซับเจกต์ ฉากหลัง และการควบคุมระยะชัดที่พอเหมาะคือ หลักง่าย ๆ ในการถ่ายภาพมาโคร และความสำคัญของสิ่งที่เราถ่ายภาพจะเป็นตัวส่งเสริมให้ภาพมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

การควบคุมระยะชัด

การถ่ายภาพมาโครนั้นมีผลของระยะชัดที่แตกต่างไปจากการถ่ายภาพทั่วไป ด้วยเลนส์ตัวเดียวกันซึ่งอาจจะเป็นมาโครหรือไม่ก็ได้ หากคุณทดลองถ่ายภาพในระยะห่างปกติโดยใช้ขนาดรูรับแสง f/11-16 ระยะชัดของภาพอาจครอบคลุมได้ไกลจนถึงระยะอนันต์ แต่เมื่อคุณนำเลนส์ตัวเดียวกันนี้มาถ่ายภาพในระยะใกล้ ถ่ายภาพมาโครที่กำลังขยาย 1:1 ระยะชัดของภาพเมื่อใช้ขนาดรูรับแสง f/11-16 ระยะชัดของภาพอาจครอบคลุมเพียงระยะ 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น

เพราะฉะนั้น การควบคุมระยะชัดของการถ่ายภาพมาโครจึงมีความสำคัญมาก การเลือกใช้ขนาดรูรับแสงให้เหมาะสม ครอบคลุมระยะชัดที่ต้องการ และต้องไม่ลืมว่าขนาดของรูรับแสงนอกจากจะมีผลต่อระยะชัดของซับเจกต์แล้วยังมีผลต่อการควบคุมฉากหลังด้วย โดยปกตินักถ่ายภาพส่วนใหญ่มักเลือกใช้ขนาดรูรับแสงแคบ ๆ f/8 ขึ้นไป เพื่อให้ได้ระยะชัดลึก แต่หากเลือกใช้ค่าขนาดรุรับแสงที่f/4-8 กับการถ่ายภาพในสภาพแสงธรรมชาติก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีไม่น้อย

สำหรับการใช้งานกับกล้องแบบ APS-C ซึ่งมีระยะชัดที่สุงกว่ากล้องแบบฟูลเฟรม ถ้าหากใช้แฟลชในการถ่ายจะแตกต่างไปจากนี้ ต้องปรับปให้รูรับแสงแคบลงกว่านี้ เพราะถ้าโฟกัสไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ถูกต้องเข้าโฟกัสแล้ว ภาพจะคมชัดและมีระยะตามขนาดรูรับแสงที่เลือกใช้ ส่วนการโฟกัสผิดตำแหน่ง แม้จะเพียงเล็กน้อย แล้วคิดจะใช้รูรับแสงแคบคุมระยะชัดให้ได้ภาพที่คมชัดนั้น อย่างไรเสีย ภาพก็ยังจะดูไม่คมชัดอยู่ดี

ทั้งนี้ การโฟกัสให้เข้าตำแหน่งที่ต้องการสำคัญมาก ระยะชัดนี้เป็นช่วงค่าขนาดรูรับแสงที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับกำลังขยาย ขนาดของซับเจกต์และระยะห่างของฉากหลังกับซับเจกต์ หากไม่แน่ใจก็ต้องกดปุ่มชัดลึกเพื่อดูผลของระยะชัดที่แท้จริงก่อนกดชัดเตอร์เพื่อถ่ายภาพ

การควบคุมฉากหลัง

การถ่ายภาพมาโครที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงบรรยากาศสิ่งแวดล้อม ก็ต้องเลือกเก็บรายละเอียดของฉากหลังมาด้วย เลนส์ไวด์ที่มีระยะโฟกัสใกล้สุดนั้น จะมีกำลังขยายสูง ถ่ายภาพได้กำลังขยาย 1:3-4 ก็เหมาะกับการถ่ายภาพแบบโคลสอัพเพื่อเก็บฉากหลัง

เทคนิคในการถ่ายภาพมาโครให้ฉากหลังเข้มดำนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่ที่จะแนะนำคือการเลือกฉากหลังที่มีค่าแสงแตกต่างจากซับเจกต์มาก ๆ ปรับมุมถ่ายภาพดูสักครู่ก็จะเห็นว่ามีฉากหลังบางส่วนที่ไม่ได้รับแสง ความเหรียบต่างแสงที่สูงเกินกว่ากันราว 2 สตอป เมื่อถ่ายภาพด้วยค่าแสงที่ตกลงบนซับเจกต์ก็จะทำให้ฉากหลังเข้มดำได้เอง

นอกจากนี้ การถ่ายภาพในทิสทางแบบย้อนแสง แสงเฉียงหลังหรือข้าง ก็จะได้ภาพฉากหลังเข้ม ๆ ถ้าหากสภาพแสงไม่เอื้ออำนวย แล้วอยากได้ฉากหลังที่เข้มดำ การใช้ฉากหลังสีดำอย่างกระดาษดำด้าน ผ้ากำมะหยี่แล้วนำไปวางไว้ให้ห่างจากซับเจกต์สักหน่อยก็เป็นวิธีที่ใช้กันมาแต่ไหนแต่ไร

อีกวิธีหนึ่งของการควบคุมฉากหลังให้เข้มดำคือ การใช้แสงแฟลชเป็นแสงหลักในการถ่ายภาพ ซับเจกต์ได้รับแสงแฟลช ส่วนฉากหลังที่ห่างออกไปก็จะเข้มดำลงไปเอง

การใช้แฟลชในการถ่ายภาพมาโคร

การใช้แฟลชกับการถ่ายภาพมาโครมีข้อควรระวังหลายประการ ซึ่งแตกต่างไปกับการใช้แฟลชถ่ายภาพในระยะปกติ เนื่องจากการถ่ายภาพมาโครเป็นการถ่ายภาพในระยะใกล้มาก แฟลชที่ติดตั้งอยู่บน Hot Shoe ของกล้องอาจทำให้องศาในการยิงแสงแฟลชไม่ครอบคลุมพื้นที่ถ่ายภาพ เพราะเลนส์อาจบังแสงแฟลช ต้องปรับกดมุมของแฟลช แต่ถ้าถ่ายภาพใกล้มาก ๆ ก็จะยังไม่สามารถยิงแสงได้ครอบคลุมอยู่ดี

การแก้ไขคือ การใช้สายซิงค์แยกแฟลชออกนอกตัวกล้อง เพื่อเปิดมุมในการยิงแสงแฟลชได้กว้างมากขึ้น โดยที่แฟลชยังมีการทำงานในระบบ TTL เลนส์มาโครทางยาวโฟกัส 50-60 mm มีระยะห่างระหว่างซับเจกต์กับหน้าเลนส์ที่สั้นมาก เมื่อถ่ายภาพที่กำลังขยาย 1:1 หน้าเลนส์เกือบชิดติดกับซับเจกต์เป็นอุปสรรคในการใช้แสงแฟลชอย่างมาก

ส่วนเลนส์มาโครทางยาวโฟกัส 90-105mm มีระยะห่างใกล้สุดโดยเฉลี่ยที่ 10-14 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะห่างที่เพียงพอกับที่เปิดมุมให้ยิงแสงแฟลชได้ง่ายกว่า เป็นอีกหนึ่งเหตุผลของความนิยมในการเลือกใช้เลนส์มาโครทางยาวโฟกัส 90-105mm

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการใช้แฟลชในการถ่ายภาพก็คือ แฟลชยิงแสงโอเวอร์ เนื่องจากระยะการทำงานที่ใกล้มาก ทำให้แฟลชที่มีระบบการทำงานแบบ TTL มักยิงแฟลชผิดพลาดโอเวอร์กว่าพอดี ถ้าใช้ขนาดรูรับแสงกว้าง กำลังไฟที่ถูกยิงออกไป ระบบการคำนวณจะปิดการรับแสงแฟลชไม่ทัน การแก้ไขคือ ต้องใช้ขนาดรูรับแสงแคบ ๆ f/11 ขึ้นไป

นอกจากนี้ การใช้การแบ่งกำลังไฟแฟลชแบบแมนนวลก็ได้ผลดีเช่นกัน ปรับกำลังไฟให้เหมาะสมกับขนาดรูรับแสง และต้องไม่ลืมว่าจะเสียแสงไปกับการถ่ายภาพด้วยกำลังขยายสูงด้วย

เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพมาโคร

ภาพมาโครเป็นการถ่ายภาพที่เปิดโอกาสให้นักถ่ายภาพได้คิดทดลองเทคนิคการถ่ายภาพต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะกับแสงแฟลช เพราะพื้นที่แคบควบคุมแสงได้ง่าย การใช้แฟลชแยกออกนอกตัวกล้อง และเพิ่มแฟลชมากกว่า 1 ตัว ก็จะยิ่งได้ภาพที่ใสเคลียร์ ไม่มีเงาได้

นอกจากแฟลชที่ใช้จัดแสงากกว่า 1 ตัวแล้ว การจัดแสงด้วยไฟต่อเนื่องอย่างไฟฉายขนาดเล็กที่มีกำลังไฟใฟ้ความสว่างสูงและมีสีขาวก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้งานได้ดี หรือใช้กระจกเงาสะท้อนแสงเข้าไปในเบริเวณที่ต้องการ หรือจะลงทุนกับแฟลชแบบ Ring Flash หรือแฟลชที่ออกแบบสำหรับการถ่ายภาพมาโครโดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาไม่ถูกเลย เพิ่มเงินอีกนิดซื้อแฟลชสองตัวใช้ดีกว่า

ในการถ่ายภาพดอกไม้ให้บรรยากาศดูชุ่มฉ่ำ ก็อาจใช้สเปรย์ขนาดเล็กที่ฉีดละอองน้ำได้ละเอียด เพิ่มความชุ่มฉ่ำ หรือเพิ่มขนาด Texture ของเส้นใยแมงมุมขนอ่อนบนดอกไม้ได้ดี

เทคนิคในการถ่ายภาพวัตถุ สินค้าขนาดเล็ก หรือพระเครื่อง ก็เป็นหนึ่งในการถ่ายภาพมาโครเช่นกัน ใช้แผ่นกระจกใส หรืออะคริลิคก็ได้ วางพาดให้สูงจากพื้นราว 0.5-1 เมตร เอาฉากหลังสีที่ต้องการอย่างผ้ากำมะหยี่หรือกระดาษวางไว้ด้านล่าง ระยะห่างข้างต้นจะทำให้ฉากหลังไม่มีรายละเอียด มีแต่สี วางวัตถุที่ต้องการถ่ายบงบนกระจก อาจใช้แสงธรรมชาติ แฟลชหรือหลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสงก็ได้ ระวังการสะท้อนของแสงกระจก และปรับค่าสมดุลแสงสีขาวให้ถูกต้อง ตั้งกล้องในมุมที่ตั้งฉากกับกระจก จัดองค์ประกอบภาพอยู่บนฉากหลังแล้วถ่ายภาพ เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่ได้ผลดีกับการถ่ายภาพพระเครื่อง

อุปกรณ์ที่ควรมี

อุปกรณ์อื่น ๆ นอกเหนือไปจากเลนส์มาโคร กล้องหรืออุปกรณ์เสริมที่ใช้เพิ่มกำลังขยายในการถ่ายภาพมาโครที่ควรมีใช้คือ ฟิลเตอร์ C-PL คุณสมบัติของฟิลเตอร์ C-PL คือการตัดแสงสะท้อน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงสีจริงของวัตถุนั้น

การถ่ายภาพมาโครในธรรมชาติ ฟิลเตอร์ C-PL จะช่วยลดแสงสะท้อนของใบไม้ เพิ่มความอิ่มสีของซับเจกต์ได้ดีมาก ข้อเสียเพียงอย่างเดียวคือ การเสียแสงไปราว 2 สตอป

สายลั่นชัตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การกดชัตเตอร์สะดวกขึ้น กล้องนิ่งไม่ขยับ เพราะการขยับแม้เพียงนิดเดียวก็อาจทำให้ได้ภาพที่ไม่คมชัด บางท่านอาจซีเรียสกับการลั่นชัตเตอร์มากจนต้องใช้การล็อกกระจกสะท้อนภาพร่วมด้วย ซึ่งถ้าหากทำได้ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะทำให้ภาพสั่นไหวได้มาก

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการถ่ายภาพมาโครเบื้องต้น เพราะเมื่อคุณถ่ายภาพมาโครในธรรมชาติ สิ่งที่คุณจะต้องเรียนรู้ก็จะตามมา การค้นซับเจกต์ เทคนิคในการเข้าใกล้ ประกอบกับความอดทน ความพยายามในการถ่ายภาพ และที่สำคัญคือ คุณต้องรู้จักที่จะรอ

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.fotoinfomag.com/


การถ่ายภาพมาโคร MACRO PHOTOGRAPHY การถ่ายภาพมาโครMACROPHOTOGRAPHY

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กฎสามส่วน (Rule of Third)

กฎสามส่วน (Rule of Third)


เปิดอ่าน 45,068 ครั้ง
เรื่องของเลนส์

เรื่องของเลนส์


เปิดอ่าน 49,041 ครั้ง
การถ่ายภาพมาโคร MACRO PHOTOGRAPHY

การถ่ายภาพมาโคร MACRO PHOTOGRAPHY


เปิดอ่าน 29,392 ครั้ง
ISO นั้นสำคัญไฉน

ISO นั้นสำคัญไฉน


เปิดอ่าน 26,644 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความรู้พื้นฐานที่นักถ่ายรูปทุกคนควรทราบ

ความรู้พื้นฐานที่นักถ่ายรูปทุกคนควรทราบ

เปิดอ่าน 39,104 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ISO นั้นสำคัญไฉน
ISO นั้นสำคัญไฉน
เปิดอ่าน 26,644 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีถ่ายภาพแบบมโน เสมือนตัวเองไปเที่ยวมา
วิธีถ่ายภาพแบบมโน เสมือนตัวเองไปเที่ยวมา
เปิดอ่าน 12,821 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องของเลนส์
เรื่องของเลนส์
เปิดอ่าน 49,041 ☕ คลิกอ่านเลย

แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช
แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช
เปิดอ่าน 30,378 ☕ คลิกอ่านเลย

ตัวอย่างภาพถ่าย จากกล้องของ iPhone 5
ตัวอย่างภาพถ่าย จากกล้องของ iPhone 5
เปิดอ่าน 14,090 ☕ คลิกอ่านเลย

สุดยอดภาพสัตว์ Photography จากการประกวด ภาพภ่ายสัตว์ป่า ปี2012
สุดยอดภาพสัตว์ Photography จากการประกวด ภาพภ่ายสัตว์ป่า ปี2012
เปิดอ่าน 17,880 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คลิปน่ารัก 2ขวบดีดกีต้าร์ร้องเพลง "เดอะบีทเทิ้ลส์"
คลิปน่ารัก 2ขวบดีดกีต้าร์ร้องเพลง "เดอะบีทเทิ้ลส์"
เปิดอ่าน 13,297 ครั้ง

คู่มือถนอมผิวสวยใต้แสงแดด
คู่มือถนอมผิวสวยใต้แสงแดด
เปิดอ่าน 12,967 ครั้ง

มอบอำนาจให้ รอง กพฐ.ทำสัญญาการผ่อนชำระหนี้ รับสภาพหนี้ การดำเนินคดีฯ
มอบอำนาจให้ รอง กพฐ.ทำสัญญาการผ่อนชำระหนี้ รับสภาพหนี้ การดำเนินคดีฯ
เปิดอ่าน 22,940 ครั้ง

"ผักกูด" ผักที่อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็ก
"ผักกูด" ผักที่อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็ก
เปิดอ่าน 22,968 ครั้ง

สำหรับท่านที่พลาด คลิปเต็ม "บัวขาว บัญชาเมฆ" พลาดท่าพ่ายนักชกรัสเซีย โดนศอกเลือดอาบ
สำหรับท่านที่พลาด คลิปเต็ม "บัวขาว บัญชาเมฆ" พลาดท่าพ่ายนักชกรัสเซีย โดนศอกเลือดอาบ
เปิดอ่าน 12,865 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ