Advertisement
โรคฮิตที่มากับหน้าหนาว !!
เมื่อย่างเข้าสู่หน้าหนาว แม้ว่าอากาศบ้านเราจะไม่หนาวเย็นมากนัก แต่คุณก็ควรใส่ใจในสุขภาพของตัวเองและสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวให้มากขึ้น โดยเฉพาะเจ้าตัวน้อยที่ร่างกายยังบอบบางและมีภูมิต้านทานโรคไม่มากเท่าผู้ใหญ่เพราะในช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาทองของบรรดาเชื้อไวรัสทั้งหลายที่เจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็น เป็นเหตุให้สมาชิกในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยได้บ่อยๆ ส่วนจะเจ็บป่วยด้วยโรคอะไรบ้างนั้น เราไปติดตามพร้อมๆ กันเลยค่ะ
นายแพทย์เสน่ห์ เจียสกุล ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ผู้เชี่ยวชาญโรคฮิตติดเชื้อในเด็ก ได้ให้ความรู้ว่า ในช่วงหน้าหนาวความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างเด่นชัดก็คือ อุณหภูมิที่ลดต่ำลงและความชื้นลดลงทำให้อากาศรอบตัวแห้งกว่าปกติ ซึ่ง 2 ประเด็นนี้มีความเกี่ยวข้องกับโรคบางชนิดในเด็กเล็ก คือ
ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสศูนย์กลางของโรคอยู่บริเวณเยื่อบุจมูก ฉะนั้นช่องทางการแพร่กระจายของเชื้อจึงมาจากการจามและการสั่งน้ำมูกส่วนเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเชื่อไข้หวัดใหญ่นั้น เชื้อจะอยู่บริเวณเยื่อบุของระบบทางเดินหายใจ การแพร่กระจายของเชื้อจึงมาจากการไอเป็นหลัก สำหรับเด็กเล็กๆ โอกาสที่จะเป็นหวัดบ่อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับการได้รับเชื้อไวรัสจากบุคคลอื่น มีปัจจัยสำคัญ เช่น จำนวนสมาชิกในบ้าน จำนวนพี่ๆ ที่โรงเรียน และความสะอาดภายในบ้าน เพราะเด็กเล็กจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน การติดเชื้อจึงมาจากสมาชิกในบ้านเป็นหลัก ซึ่งนำเชื้อมาให้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็ คือ การสั่งน้ำมูก การจามรดเด็กคลุกคลีอยู่กับเด็กในช่วงที่ตัวเองเป็นหวัด ส่วนทางอ้อมก็คือ เมื่อคนที่เป็นหวัดใช้มือหรือกระดาษปิดปากขณะไอหรือจามแล้วไม่ล้างมือ จากนั้นก็ใช้มือหยิบจับ สัมผัสสิ่งต่างๆ ทำให้เชื้อไวรัสที่ติดอยู่ที่มือแพร่กระจาย เมื่อเจ้าตัวเล็กไปหยิบหรือสัมผัสสิ่งนั้นๆ แล้วใช้มือถูหน้าถูตาหรือหยิบอาหารเข้าปากก็ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเด็กมักไม่มีภูมิต้านทานจึงทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดในที่สุด หรืออีกกรณีหนึ่งคือ บ้านที่พี่ๆ เข้าโรงเรียนกันหมดแล้วเมื่อพี่ได้รับเชื้อมาจากโรงเรียน ก็สามารถนำมาแพร่ให้กับน้องเล็กที่อยู่บ้านได้เช่นกัน นอกจากนี้ผลพวงจากการที่เด็กเป็นไข้หวัด หากเด็กมีอาการเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืดอยู่แล้ว ก็จะทำให้อาการกำเริบได้บ่อยขึ้นในช่วงนี้ด้วย
อาการและการดูแลรักษา
สำหรับอาการโดยทั่วไปของไข้หวัดก็คือ มีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม ซึ่งเวลาที่มีไข้ ร่างกายจะสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ จึงควรให้เด็กได้ดื่มน้ำมากกว่าปกติ จึงควรให้เด็กได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เด็กที่มีไขมันต่ำไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ไม่ควรให้ยาลดไข้ นอกจากคุณหมอแนะนำ แต่คุณแม่ควรเช็ดตัวเพื่อช่วยลดไข้ให้ลูกโดยใช้น้ำอุ่น อาจใช้ฟองน้ำหรือผ้าเนื้อนุ่มๆ เช็ดตัวให้ลูก โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และวัดอุณหภูมิเป็นระยะจนกว่าไข้จะลดและควรเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายระบายอากาศได้ดีให้กับลูก ถ้ามีลูกไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปก่อนให้ยาลดไข้กับลูกควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัยและหากให้ยาแล้วไข้ยังไม่ลด ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
การป้องกัน
สำหรับเด็กเล็ก วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ สมาชิกในบ้านก็หมั่นดูแลรักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ โดยเฉพาะมือ ซึ่งเป็นอวัยวะหลักที่สัมผัสเชื้อนอกจากนี้ควรทำความสะอาดของเล่นและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งบริเวณภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ เวลาเป็นหวัดก็ไม่ควรเข้าใกล้ คลุกคลีกับลูกมากนักเวลาไอ หรือ จาม ก็ควรปิดปากและล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และไม่ควรพาลูกออกไปนอกบ้าน ในที่ๆ มีคนอยู่จำนวนมากบ่อยๆ ในช่วงหน้าหนาว เพราะเป็นช่วงที่เชื้อไวรัสมีการแพร่กระจายและเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อให้ลูกได้ นอกจากนี้ควรดูแลสุขภาพร่างกายของลูกให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วย เมื่อเข้าสู่หน้าหนาวคุณควรพาลูกไปพบคุณหมอแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้เตรียมยารักษาเอาไว้ให้พร้อม หากลูกมีอาการจะได้ใช้ยารักษาบรรเทาอาการไว้ก่อนได้ทันที ก่อนพาไปพบคุณหมอ
ท้องร่วง
ในช่วงหน้าหนาวจะมีเชื้อโรคไวรัสบางชนิดที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงในเด็กเล็กได้บ่อย ที่พบมาก ได้แก่โรตาไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง พบในอุจจาระของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปได้เชื้อชนิดนี้มีความทนทานเป็นพิเศษ ยาฆ่าเชื้อที่ใช้กันโดยทั่วไปไม่สามารถกำจัดเชื้อชนิดนี้ได้ ยิ่งในช่วงหน้าหนาวที่เชื้อมีมากขึ้น และแม้ว่าจะได้รับเชื้อในปริมาณไม่มากก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้ โรคท้องร่วมจากเชื้อโรตาไวรัสมักจะพบในเด็กเล็กเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะในช่วงอายุตั้งแต่ 3 เดือน-2 ปี ซึ่งการสูญเสียน้ำจากท้องร่วงที่มีสาเหตุจากเชื้อโรตาไวรัสจะมีความรุนแรงค่อนข้างมาก และอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางปกป้องลูกให้ห่างไกลจากโรตาไวรัส
อาการและการดูแลรักษา
เด็กที่ได้รับเชื้อจะมีไข้ อาเจียน ถ่ายเหลว ซึ่งความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและเชื้อที่ได้รับเข้าไป สำหรับเด็กที่มีอาการรุนแรงจะถ่ายมาก ทำให้เสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายไปเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น นอนจากให้ลูกดื่มน้ำให้มากเพื่อชดเชยน้ำที่เสียไปแล้ว ต้องให้น้ำตาลเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่เสียไปด้วย หากอาการของลูกไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์ทันที
การป้องกัน
การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงในเด็กนั้น ช่องทางการติดเชื้อคือทางปาก ฉะนั้นถ้าคุณหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของอาหารและสิ่งแวดล้อม ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งคอยดูแลไม่ให้ลูกหยิบขิงเข้าปากไม่เลือก ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อลงได้ วิธีดังกล่าวสามารถใช้ได้กับเด็กเล็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน แต่สำหรับเด็กที่ต้องไปอยู่เนอร์สเซอรี่ตั้งแต่อายุยังน้อย ความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อก็มีสูง เนื่องจากการอยู่รวมกันหมู่มากและไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง โอกาสที่จะได้รับเชื้อก็มีมากตามไปด้วย วิธีป้องกันที่ได้ผลดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันจะใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน โดยฉีด 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังคลอด 6 สัปดาห์ครั้งที่ 2 ฉีดภายใน 6 เดือน
ผิวแห้ง
เมื่ออุณหภูมิและความชุ่มชื้นลดลงทำให้อากาศแห้ง ซึ่งทำให้ผิวหนังแห้งตามไปด้วย ส่วนจะแห้งมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และสภาพร่างกายของเด็กแต่ละคน เด็กที่มีผิวแห้งอยู่แล้ว เมื่อถึงหน้าหนาวแน่นอนว่าผิว จะยิ่งแห้งมากกว่าเด็กคนอื่น หรือเด็กบางคนที่เป็นภูมิแพ้ที่ผิวหนังอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้นได้ในช่วงนี้
การป้องกัน
ในช่วงอากาศที่หนาวเย็น คุณไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้ลูกบ่อย เพราะการอาบน้ำบ่อยจะทำให้ความชุ่มชื้นของผิวลดลง และไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดอาบให้ลูก เพราะยิ่งมีอุณหภูมิสูงก็ยิ่งทำให้ผิวแห้งมากขึ้น สบู่ที่ใช้ก็ควรเลือกสบู่สูตรอ่อนโยนสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หลังอาบน้ำควรทาโลชั่นช่วยเพิ่มและกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิว โลชั่นที่ใช้ควรมีการทดสอบอาการแพ้ก่อนโดยทดลองทาที่ท้องแขนของลูกสัก 1-2 วัน หากไม่มีอาการใดๆ จึงสามารถใช้ได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าใยสังเคราะห์หรือผ้าขนสัตว์ เพราะจะทำให้ระคายผิวหนัง สำหรับเด็กที่เป็นภูมิแพ้ที่ผิวหนัง ในช่วงนี้อาการจะกำเริบได้ง่าย นอกจากต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ควรเตรียมยารักษาเอาไว้ให้พร้อมด้วย
นอกจากการดูแลผิวภายนอกแล้ว ควรดูแลให้ลูกดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวได้อีกทางหนึ่งและยังเป็นการชดเชยน้ำที่เสียไปเนื่องจากปัสสาวะบ่อยด้วยค่ะ
การเจ็บไข้ได้ป่วย สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าฤดูไหน ซึ่งแต่ละฤดูก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างชนิดกันไป ฉะนั้นคุณควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ รวมทั้งโรคระบาดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวด้วย เพื่อจะได้หาทางป้องกัน และดูแลรักษาได้อย่างถูกวิธีค่ะ
ที่มา..นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.160
วันที่ 8 พ.ย. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,201 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,409 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 74,553 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,339 ครั้ง |
เปิดอ่าน 65,785 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,190 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,999 ครั้ง |
|
|