Advertisement
วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ (คลังปัญญาไทย)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสถาปนากิจการลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงได้ยึดถือวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งได้จัดให้มีการเดินสวนสนามของลูกเสือ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ในแต่ละปีจะมีลูกเสือทั้งในส่วนกลางและปริมณฑลมาร่วมเดินสวนสนาม ประมาณ 10,000 คน เพื่อแสดงความเคารพและกล่าวทบทวนคำปฏิญาณ ต่อองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อประกาศความเป็นลูกเสืออย่างแท้จริง
ความเป็นมาของลูกเสือ
ลูกเสือได้กำเนิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 โดยท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ กิจการลูกเสือในยุคแรกมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร หลายประเทศที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร จึงได้จัดให้มีลูกเสืออย่างประเทศอังกฤษบ้าง หลังจากนั้นไม่นานกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ. 2451 ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ ได้แต่งหนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า Scouting For Boys และคำว่า "Scout" จึงใช้เป็นคำเรียกผู้ที่เป็นลูกเสือซึ่งมีความหมายมาจาก
S ย่อมาจาก Sincerity แปลว่า ความจริงใจ
C ย่อมาจาก Courtesy แปลว่า ความสุภาพอ่อนโยน
O ย่อมาจาก Obedience แปลว่า การเชื่อฟัง
U ย่อมาจาก Unity แปลว่า ความเป็นใจเดียวกัน
T ย่อมาจาก Thrifty แปลว่า ความประหยัด
และในปีนี้เอง ได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นกองแรกในประเทศอังกฤษ ซึ่งกิจการลูกเสือได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนต่อมาในปี พ.ศ. 2452 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 1 ทรงรับอุปภัมภก เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญและประโยชน์ของลูกเสือ จึงได้ก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ 2
การจัดตั้งลูกตัวในประเทศไทย
ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนได้เข้ารับการอบรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งอบรมจิตใจให้คนไทยรู้จักรักชาติมีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคี และมีความกตัญญู
เมื่อกิจการของเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้วพระองค์จึงทรงพระราชดำริว่า ควรจะได้มีการอบรมของเสือป่าด้วย ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งลูกเสือขึ้นในประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก เป็นสื่อผูกมิตรไมตรีกันโดยใช้กฎของลูกเสือ 10 ประการ ผูกสัมพันธ์กันไม่เว้นเชื้อชาติใด ศาสนาใดทั้งสิ้น ถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด
ลูกเสือกองแรกของไทย
ลูกเสือกองแรกของไทยตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเรียก "ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1" ต่อมาขยายตัวออกไปจัดตั้งที่โรงเรียนหรือสถานที่ใดสุดแต่สภากรรมการคณะลูกเสือแห่งงชาติจะเห็นสมควร เด็กที่จะเป็นลูกเสือจะต้องทำพิธีเข้าประจำกอง กล่าวคำปฏิญาณตนตามคำมั่นสัญญานั้น พระองค์ผู้ทรงให้กำเนิดลูกเสือได้พระราชทานคำขวัญไว้ว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์" ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเลื่องลือไปยังนานาชาติว่า "พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใฝ่พระทัยในกิจการลูกเสือเป็นอย่างยิ่ง" ถึงกับกองลูกเสือที่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามนามลูกเสือกองนี้ว่า "กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามความประสงค์ ลูกเสือกองนี้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสื้อทั้งสองข้างและยังปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟื้นฟูอีก โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นครั้งแรกในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์เมื่อ พ.ศ. 2470 จากนั้นได้จัดให้มีการอบรมลูกเสืออีกหลายรุ่นกระทั่งถึงปี พ.ศ.2475 เป็นปีสุดท้ายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว กิจการลูกเสือได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วย สมัยนั้นได้ช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าราชการ ทหาร ในการปราบจราจล รัฐบาลจึงจัดตั้งหน่วยยุวชนทหารฝึกวิชาทหารขึ้นโดยรับเด็กที่ได้เป็นลูกเสือมาแล้ว ส่วนกิจการลูกเสือก็ขยายให้กว้างขวางขึ้น มีการจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าเสนาและลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาขึ้นโดยฝึกร่วมกับยุวชนทหารการลูกเสือจึงซบเซาลงบ้างในยุคนี้
ปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ฟื้นฟูกิจการลูกเสืออีกครั้ง มีการจัดชุมนุมของลูกเสือแห่งชาติ ส่งเจ้าหน้าที่ในกองการลูกเสือไปเข้ารับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือตามมาตรฐานสากล และตามแบบนานาประเทศตามลำดับ มีพระราชบัญญัติลูกเสือใช้บังคับโดยคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้บริหาร วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือได้รับการปรับปรุงและเน้นให้เห็นชัดเจนรัดกุมยิ่งขึ้น มีความว่า "คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ"
การกำหนดวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสวรรคตแล้วก็ตาม พระราชอนุสรณ์กิจการลูกเสือของพระองค์ท่านได้พัฒนารุ่งเรืองมาตามลำดับจนเป็นกิจการที่สร้างคุณประโยชน์สร้างชื่อเสียงของประเทศให้ขจรขจายเป็นที่รู้จักของนานาประเทศทั่วโลก และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน ทางราชการจึงได้กำหนดวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ" หรือ "วันลูกเสือ"
กิจกรรมในวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
1. ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านผู้ให้กำเนิดลูกเสือแห่งประเทศไทย
2. จัดนิทรรศการ เผยแผ่ ประวัติความเป็นมาของลูกเสือและผลงานต่างๆ
3. ร่วมกิจกรรมต่างๆในวันลูกเสือ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูปฯ สถานพระบรมราชานุสรณ์ หรือที่ที่ทางราชการกำหนด
4. เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ
ขอบคุณที่มาจาก
- คลังปัญญาไทย
- วิกิพีเดีย
- สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Advertisement
เปิดอ่าน 8,767 ครั้ง เปิดอ่าน 11,143 ครั้ง เปิดอ่าน 13,703 ครั้ง เปิดอ่าน 12,493 ครั้ง เปิดอ่าน 11,007 ครั้ง เปิดอ่าน 12,428 ครั้ง เปิดอ่าน 20,428 ครั้ง เปิดอ่าน 17,553 ครั้ง เปิดอ่าน 12,475 ครั้ง เปิดอ่าน 16,400 ครั้ง เปิดอ่าน 14,463 ครั้ง เปิดอ่าน 63,320 ครั้ง เปิดอ่าน 19,082 ครั้ง เปิดอ่าน 12,109 ครั้ง เปิดอ่าน 9,545 ครั้ง เปิดอ่าน 30,698 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 22,074 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 26,993 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 61,524 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,861 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,281 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,038 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 2,949 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 31,253 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,385 ครั้ง |
เปิดอ่าน 53,589 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,967 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,592 ครั้ง |
|
|